ฟีโรโมน

ผึ้งงานกำลังกระพือปีก (fanning) และชูต่อมนาโซนอฟ (Nasonov's gland, สีขาวที่ปลายส่วนท้อง) ขึ้นเพื่อปล่อยฟีโรโมนให้ฝูงผึ้งตามเข้ามา

ฟีโรโมน (อังกฤษ: pheromone) เป็นสารเคมีที่หลั่งหรือขับออกมาแล้วกระตุ้นการตอบสนองทางสังคมในสปีชีส์เดียวกัน ฟีโรโมนเป็นสารเคมีซึ่งสามารถออกฤทธิ์นอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่หลั่งออกมาแล้วมีผลต่อพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่รับเข้าไป[1] ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น ฟีโรโมนเตือนภัย ฟีโรโมนรอยอาหาร ฟีโรโมนเพศ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตตั้งแต่โปรแคริโอตเซลล์เดียวไปจนถึงยูแคริโอตหลายเซลล์ที่ซับซ้อนมีฟีโรโมน[2] มีบันทึกการใช้ฟีโรโมนในแมลงมากเป็นพิเศษ อนึ่ง สัตว์มีกระดูกสันหลังและพืชบางชนิดสื่อสารกันโดยฟีโรโมน

อ้างอิง

  1. "Definition of pheromone". MedicineNet Inc. 19 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.
  2. Kleerebezem, M (October 2001). "Peptide pheromone-dependent regulation of antimicrobial peptide production in Gram-positive bacteria: a case of multicellular behavior". Peptides. 22 (10): 1579–96. doi:10.1016/S0196-9781(01)00493-4. PMID 11587786. {cite journal}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)