ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2023
AFC U-20 Osiyo kubogi 2023/АФC У-20 Осиё кубоги 2023 | |
---|---|
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | ประเทศอุซเบกิสถาน |
วันที่ | 1–18 มีนาคม |
ทีม | 16 (จาก 1 สมาพันธ์) |
สถานที่ | 4 (ใน 2 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | อุซเบกิสถาน (สมัยที่ 1) |
รองชนะเลิศ | อิรัก |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 31 |
จำนวนประตู | 69 (2.23 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 203,176 (6,554 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | นาโอกิ คุมาดะ (5 ประตู) |
ผู้เล่นยอดเยี่ยม | อับบอสเบค ไฟซูลลาเยฟ |
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม | โอตาเบค บอยมูโรดอฟ |
การแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2023 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 41 ของฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เป็นการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนที่จัดขึ้นทุกสองปี จัดขึ้นโดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) สำหรับทีมชาติประเภทชายรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จากแต่ละชาติสมาชิก ทัวร์นาเมนต์จัดขึ้นที่ประเทศอุซเบกิสถาน โดยมีทั้งหมด 16 ทีมที่ได้ลงเล่นในทัวร์นาเมนต์[1] นอกจากนี้การแข่งขันยังได้เปลี่ยนชื่อจาก "เอเอฟซี ยู-19 แชมเปียนชิป" เป็น "เอเอฟซี ยู-20 เอเชียน คัพ"[2] เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2021, เอเอฟซีประกาศว่าอุซเบกิสถานจะรักษาสิทธิ์เป็นเจ้าภาพสำหรับการแข่งขันในปี 2023 ภายหลังการยกเลิกของ ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 19 ปี 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3]
รอบคัดเลือก
ทีมที่เข้ารอบ
ทั้งหมด 16 ทีมนับรวมเจ้าภาพ อุซเบกิสถาน จะได้ผ่านเข้ารอบสำหรับรอบสุดท้าย
ทีม | เข้ารอบในฐานะ | จำนวนครั้งที่ได้เข้าร่วม | ผลงานที่ดีที่สุดครั้งที่ผ่านมา |
---|---|---|---|
อุซเบกิสถาน | เจ้าภาพ | ครั้งที่ 7 | รองชนะเลิศ (2008) |
ซาอุดีอาระเบีย | กลุ่ม เอ ชนะเลิศ | ครั้งที่ 15 | ชนะเลิศ (1986, 1992, 2018) |
กาตาร์ | กลุ่ม บี ชนะเลิศ | ครั้งที่ 15 | ชนะเลิศ (2014) |
ญี่ปุ่น | กลุ่ม ซี ชนะเลิศ | ครั้งที่ 38 | ชนะเลิศ (2016) |
จอร์แดน | กลุ่ม ดี ชนะเลิศ | ครั้งที่ 8 | อันดับที่สี่ (2006) |
เกาหลีใต้ | กลุ่ม อี ชนะเลิศ | ครั้งที่ 39 | ชนะเลิศ (1959, 1960, 1963, 1978, 1980, 1982, 1990, 1996, 1998, 2002, 2004, 2012) |
อินโดนีเซีย | กลุ่ม เอฟ ชนะเลิศ | ครั้งที่ 18 | ชนะเลิศ (1961) |
โอมาน | กลุ่ม จี ชนะเลิศ | ครั้งที่ 3 | รอบแบ่งกลุ่ม (2000, 2014) |
ออสเตรเลีย | กลุ่ม เอช ชนะเลิศ | ครั้งที่ 7 | รองชนะเลิศ (2010) |
ทาจิกิสถาน | กลุ่ม ไอ ชนะเลิศ | ครั้งที่ 5 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2016, 2018) |
อิหร่าน | กลุ่ม เจ ชนะเลิศ | ครั้งที่ 21 | ชนะเลิศ (1973, 1974, 1975, 1976) |
เวียดนาม | อันดับที่ 1 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | ครั้งที่ 20[note 1] | รอบรองชนะเลิศ (2016) |
คีร์กีซสถาน | อันดับที่ 2 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | ครั้งที่ 2 | รอบแบ่งกลุ่ม (2006) |
จีน | อันดับที่ 3 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | ครั้งที่ 19 | ชนะเลิศ (1985) |
อิรัก | อันดับที่ 4 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | ครั้งที่ 17 | ชนะเลิศ (1975, 1977, 1978, 1988, 2000 |
ซีเรีย | อันดับที่ 5 รองชนะเลิศที่ดีที่สุด | ครั้งที่ 11 | ชนะเลิศ (1994) |
หมายเหตุ
- ↑ ระหว่างปี ค.ศ. 1959 และ ค.ศ. 1974 เวียดนามเข้าแข่งขันในนามประเทศเวียดนามใต้ ขณะที่ประเทศเวียดนามเหนือไม่ได้เข้าร่วมสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ โดยทีมเวียดนามใต้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 11 ครั้ง[4]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ "AFC Competitions Committee recommends changes to youth competitions". AFC. 26 November 2018.
- ↑ "AFC rebrands age group championships to AFC Asian Cups". AFC. 2 October 2020.
- ↑ "Latest update on AFC Competitions in 2021". AFC. 25 January 2021.
- ↑ S. W. Pope; John Nauright (17 December 2009). Routledge Companion to Sports History. Routledge. pp. 595–. ISBN 978-1-135-97813-6.