ภาวะไข้สูง

ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง
(Hyperthermia)
เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้แสดงอุณหภูมิ 38.7 °C หรือ 101.7 °F
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-9780.6
DiseasesDB18924
MeSHD005334
ภาวะไข้สูง (ซ้าย) อุณหภูมิปกติของร่างกาย (อุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่) แสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวร้อนเกินแสดงด้วยสีแดง จากภาพในภาวะตัวร้อนเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย
ภาวะตัวเย็นเกิน (กลาง) อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวเย็นเกินแสดงด้วยสีน้ำเงิน จากภาพในภาวะตัวเย็นเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย
ไข้ (ขวา) อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียวซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติ "ใหม่" เพราะกลไกควบคุมอุณหภูมิได้ปรับอุณหภูมิเป้าหมายให้สูงขึ้น เป็นเหตุผลที่อุณหภูมิปกติเดิมของร่างกาย (น้ำเงิน) "เย็นเกิน" กว่าปกติ ผู้ป่วยจึงรู้สึกหนาวทั้งที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง[7] (อังกฤษ: Hyperthermia) เป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายเนื่องจากระบบการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสร้างหรือได้รับความร้อนมากเกินกว่าที่สูญเสียไป เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงมากเกินพอ ภาวะตัวร้อนเกินเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องการการรักษาทันทีเพื่อป้องกันความพิการและการเสียชีวิตที่อาจตามมา

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือเป็นลมเพราะความร้อนและผลข้างเคียงจากยา การเป็นลมเพราะความร้อนเป็นภาวะตัวร้อนเกินเฉียบพลันเกิดจากการได้รับความร้อนหรือทั้งความร้อนและความชื้นที่มากเกิน ทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานไม่ไหวและไม่สามารถรับมือกับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ภาวะตัวร้อนเกินยังเป็นผลข้างเคียงจากยาที่พบได้ไม่บ่อย โดยเฉพาะในยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ไข้สูงอย่างร้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยในยาสลบบางประเภท

อ้างอิง

  1. Karakitsos D, Karabinis A (September 2008). "Hypothermia therapy after traumatic brain injury in children". N. Engl. J. Med. 359 (11): 1179–80. PMID 18788094.
  2. Marx, John (2006). Rosen's emergency medicine: concepts and clinical practice. Mosby/Elsevier. p. 2239. ISBN 9780323028455.
  3. 3.0 3.1 Axelrod YK, Diringer MN (May 2008). "Temperature management in acute neurologic disorders". Neurol Clin. 26 (2): 585–603, xi. doi:10.1016/j.ncl.2008.02.005. PMID 18514828.
  4. 4.0 4.1 Laupland KB (July 2009). "Fever in the critically ill medical patient". Crit. Care Med. 37 (7 Suppl): S273–8. doi:10.1097/CCM.0b013e3181aa6117. PMID 19535958.
  5. Manson's Tropical Diseases: Expert Consult. Saunders Ltd. 2008. p. 1229. ISBN 1-4160-4470-1.
  6. Trautner BW, Caviness AC, Gerlacher GR, Demmler G, Macias CG (July 2006). "Prospective evaluation of the risk of serious bacterial infection in children who present to the emergency department with hyperpyrexia (temperature of 106 degrees F or higher)". Pediatrics. 118 (1): 34–40. doi:10.1542/peds.2005-2823. PMC 2077849. PMID 16818546.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปรับปรุงเมื่อ 6 ส.ค. 2544

แหล่งข้อมูลอื่น