ภาษาคำโดด

ภาษาคำโดด (อังกฤษ: isolating language) คือ ประเภทของภาษาที่มีอัตราส่วนของหน่วยคำหรือคำมูล (morpheme) ต่อคำน้อย และไม่มีการลงวิภัตติปัจจัย (การผันคำ) เลย คำส่วนใหญ่ในภาษาประเภทนี้อาจประกอบด้วยหน่วยคำเพียงหน่วยเดียว ภาษาคำโดดเป็นภาษาที่เมื่อนำคำตั้งหรือคำมูลมาเรียงลำดับกันเข้าเป็นประโยค จะคงรูปคำเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีรูปอย่างไรก็คงรูปอย่างนั้น แยกโดด ๆ เป็นคำ ๆ ออกไป เมื่อสลับตำแหน่งของคำในประโยคความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น "งูกินไก่" มีควาหมายอีกอย่างหนึ่ง ถ้าสลับคำในประโยคเป็น "ไก่กินงู" ก็ได้ ความหมายอีกอย่างหนึ่ง ภาษาคำโดดนี้บางภาษาเป็นคำพยางค์เดียว (monosyllabic language) บางภาษามี วิวัฒนาการทางภาษากลายเป็นคำหลายพยางค์ แต่ก็แตกต่างจากการสร้างคำแบบภาษามีวิภัตติปัจจัย คือ ไม่มีการลงอุปสรรค + อาคม และปัจจัย เป็นต้น ภาษายอรูบา (Yoruba) เป็นภาษาคำโดดที่มีผู้พูดมากที่สุดในปัจจุบัน

ภาษาคำโดดมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาษาแยกหน่วยคำ (analytic language) ซึ่งมีการผันคำเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์อยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลย ภาษาคำโดดจึงอาจเป็นภาษาแยกหน่วยคำด้วยก็ได้ และมีภาษาคำโดดหลายภาษาที่อาศัยเทคนิคของภาษาแยกหน่วยคำในการสร้างคำใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน อย่างไรก็ดีภาษาคำควบอย่างเช่นภาษาอังกฤษและภาษาจีนก็อาจจะมีคำที่มีหลายหน่วยคำอยู่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะการลดรูปของหน่วยคำบางคำ (derivational morphemes)

ภาษาคำโดดมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับภาษาคำควบ (synthetic language) ซึ่งคำแต่ละคำมักประกอบด้วย หน่วยคำหลายหน่วย[1] ในทางภาษาศาสตร์ยังสมารถแบ่งย่อยต่อไปอีกเป็นภาษารูปคำติดต่อ (agglutinative) และภาษาคำควบหลายพยางค์ (polysynthetic) ได้อีก

อ้างอิง

  1. Whaley, Lindsay J. (1997). "Chapter 7: Morphemes". Introduction to Typology: The Unity and Diversity of Language. SAGE Publications, Inc.