ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย
ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย | |
---|---|
ܐܬܘܪܝܐ Ātûrāyâ, ܣܘܪܬ Sûret | |
ประเทศที่มีการพูด | อาร์มีเนีย, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อาร์เซอร์ไบจาน, เบลเยียม, บราซิล, แคนาดา, ไซปรัส, ฝรั่งเศส, จอร์เจีย, เยอรมัน, กรีซ, อิหร่าน, อิรัก, อิตาลี, เลบานอน, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, รัสเซีย, สวีเดน, ซีเรีย, สหรัฐอเมริกา |
ภูมิภาค | ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, ยุโรป & ออสเตรเลีย |
จำนวนผู้พูด | 210,000 คน (fluent), มีชนกลุ่มน้อยชาวอัสซีเรีย 1-2 ล้านคนที่พูดสำเนียงอื่นๆ (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | syr |
ISO 639-3 | aii |
ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย เป็นรูปแบบใหม่ของภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีรีแอก แต่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาอัคคาเดียที่ใช้พูดในจักรวรรดิอัสซีเรีย หรือภาษาแอราเมอิกที่เป็นภาษากลางในจักรวรรดิอัสซีเรีย ในช่วง 257 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มแรกภาษานี้ ใช้พูดนบริเวณทะเลสาบอูร์เมีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่านและซิอิต ตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ปัจจุบันมีผู้พูดกระจายไปทั่วโลก ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอัสซีเรียแห่งตะวันออก มีผู้พูดราว 200,000 คน ในอิรัก ซีเรีย อิหร่าน อาร์มีเนีย จอร์เจีย และตุรกี เขียนด้วย อักษรซีรีแอก อักษรละติน และอักษรฮีบรู
จุดกำเนิด ประวติและการใช้ในปัจจุบัน
เป็นภาษาที่สืบเนื่องมาจากภาษาแอราเมอิกที่ใช้พูดโดยชาวยิวและชาวคริสต์ ซึ่งสำเนียงของสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน ได้รับอิทธิพลจากภาษาซีรีแอก ซึ่งเป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกยุคกลางทางตะวันออก ซึ่งกลายเป็นภาษาทางศาสนาของชาวคริสต์ในเขตอารยธรรมอิสลาม ชุมชนชาวคริสต์ที่พูดภาษาแอราเมอิกมักใช้สองภาษา คือภาษาซีรีแอกในทางศาสนาและภาษาแอราเมอิกในชีวิตประจำวัน สำเนียงของชาวคริสต์มักเรียก Sûret, Syriac, or Sûryāya Swādāya, ซึ่งหมายถึง Syriac. ชื่อ Assyrian (Ātûrāya หรือ Āsûrāya) มาจากนักภาษาศาสตร์ชาวรัสเซียที่ศึกษาภาษานี้ในผู้พูดที่อพยพเข้าไปในจอร์เจีย พวกเขาเรียกภาษานี้ว่า Айсорский, Aysorskiy, จากชื่อในภาษาอาร์มีเนีย Ասորի, Asori. ในช่วงพ.ศ. 2473 ชื่อของภาษานี้ในภาษารัสเซียคือ Ассирийский, Assiriyskiy, หรือAssyrian ในภาษาอังกฤษ
ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียมีหลายสำเนียง ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดียอาจจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษานี้ได้ ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ระหว่างสำเนียง Alqosh ทางภาคเหนือของอิรัก และสำเนียงบริเวณอูร์เมียซึ่งกลายเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย การเปรียบเทียบระหว่างสองสำเนียงนี้ยังทำได้จำกัด
สำเนียงอูร์เมียเป็นที่รู้จักเมื่อ พ.ศ. 2379 เมื่อสำเนียงนี้ถูกนำไปใช้ในการตีพิมพ์ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย โดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียน ใน พ.ศ. 2395 มีการแปลไบเบิลเป็นสำเนียงนี้และออกตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอัสซีเรียที่อยู่ในตุรกีถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่นฐาน ส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ในอิรัก ทำให้เกิดสำเนียงใหม่ เรียก Iraqi Koine สำเนียงนี้เป็นการผสมระหว่างหลายสำเนียงโดยมีสำเนียงอูร์เมียเป็นพื้นฐาน
อ้างอิง
- Heinrichs, Wolfhart (ed.) (1990). Studies in Neo-Aramaic. Scholars Press: Atlanta, Georgia. ISBN 1-55540-430-8.
- Maclean, Arthur John (1895). Grammar of the dialects of vernacular Syriac: as spoken by the Eastern Syrians of Kurdistan, north-west Persia, and the Plain of Mosul: with notices of the vernacular of the Jews of Azerbaijan and of Zakhu near Mosul. Cambridge University Press, London.