มอลลัสกา
มอลลัสกา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian Stage 2–Recent | |
---|---|
หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana) จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลโปดา | |
หอยแครง (Anadara granosa) จัดอยู่ในชั้นไบวาลเวีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
อาณาจักรย่อย: | ยูเมทาซัว Eumetazoa |
เคลด: | พาราฮอกโซซัว ParaHoxozoa |
เคลด: | ไบลาทีเรีย Bilateria |
เคลด: | เนโฟรซัว Nephrozoa |
ไม่ได้จัดลำดับ: | โพรโทสโทเมีย Protostomia |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Spiralia |
ไฟลัมใหญ่: | Lophotrochozoa |
ไฟลัม: | มอลลัสกา Mollusca Linnaeus, 1758 |
Classes | |
| |
ความหลากหลาย[1] | |
85,000 recognized living species. |
มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน: /mɒˈlʌskə/) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้านบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk)
ลักษณะรูปร่าง
สัตว์ในกลุ่มนี้มีเนื้อเยื่อสามชั้น triploblastic ในระยะ embryo เป็นแบบ protostomes มีช่องว่างของร่างกาย (body cavity) เป็นโพรงลำตัว (hemocoel) ที่ถูกเติมด้วยเลือด และมีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง สัตว์ในกลุ่มนี้จะมีชั้นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า แมนเทิล ซึ่งในบางชนิดชั้นเนื้อเยื่อนี้จะสามารถสร้างเปลือก ที่เป็นองค์ประกอบของ calcium carbonate มีเท้าใช้ในการเคลื่อนที่ซึ่งมีความแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สูง และสามารถใช้ลักษณะของฟัน (radula) ในการแบ่งแยกชนิดได้ด้วย สัตว์ในกลุ่มนี้ไม่มีลักษณะลำตัวที่เป็นข้อปล้อง (segment) การเจริญเติบโตนั้นจะมีการผ่านระยะที่เรียกว่า trochophore larva 1 - 2 ครั้ง, ซึ่งจะเรียกช่วงหนึ่งว่า veliger larva ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ในกลุ่มไส้เดือน (Annelida) ซากฟอสซิลของสัตว์ในกลุ่มนี้พบมาในยุคแคมเบรียน Cambrian โดยฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดมีชื่อว่า Odontogriphus พบที่ Burgess Shale โดยเชื่อว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 500 ล้านปี
การจัดจำแนก
- ชั้นแกสโทรโปดา หอยฝาเดียว ส่วนที่ห่อหุ้มเป็นชิ้นเดียวขดเป็นเกลียว เช่น หอยเป๋าฮื้อ เต้าปูน ทากเปลือย ทากทะเล หอยทาก
- ชั้นมอโนพลาโคฟอรา มีเปลือกแข็งชิ้นเดียวรูปร่างคล้ายฝาชี เช่น Neopilina sp.
- ชั้นพอลิพลาโคฟอรา มีเปลือกแข็งซ้อนเป็นแผ่นตามลำตัว ช่วยให้มวนตัวเป็นลูกบอลได้ เช่น ลิ่นทะเล
- ชั้นอะพลาโคฟอรา ไม่มีเปลือกแข็ง แต่มีโครงสร้างที่เป็นหินปูนแทรกตามผนังลำตัว
- ชั้นไบวาลเวีย หอยสองฝา มีเปลือกแข็งสองฝายึดติดกันโดยมีบานพับเป็นเอ็น เช่น หอยแมลงภู่ หอยมือเสือ หอยเสียบ หอยนางรม
- ชั้นสแคโฟโปดา เช่น หอยงาช้าง เปลือกยาวเรียว โค้งเล็กน้อยคล้ายงาช้าง
- ชั้นเซฟาโลโปดา เช่น หมึกและหอยงวงช้าง มีเปลือกเป็นแผ่นแบนใส หรือเป็นเปลือกแข็งหุ้มตัว แบ่งเป็นช่องๆ
- Class † Rostroconchia พบเพียงแต่ฟอสซิลคาดว่าน่าจะมีมากกว่า และเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของพวกหอยสองฝา; 1,000 ชนิด (species) ;
- Class † Helcionelloida พบในรูปของฟอสซิลรูปร่างคล้ายหอยทากอาทิเช่น Latouchella
ลำดับวิวัฒนาการของสัตว์ในไฟลั่ม มอลัสกา
Caudofoveata (?) | |||||
Aplacophora | |||||
hypothetical | Polyplacophora | ||||
ancestral | Monoplacophora | ||||
mollusk | หอยฝาเดียว (Gastropoda) | ||||
หมึก (Cephalopoda) | |||||
หอยสองฝา (Bivalvia) | |||||
Scaphopoda |
ในการจัดจำแนกในระดับ ไฟลั่มนั้นสามารถแบ่งสัตว์นี้ออกได้ตามลักษณะของชั้นเนื้อ
- ระบบประสาท (Nervous System) มีสมอง
- ระบบขับถ่าย (Excretory System) ใช้ เนฟริเดียม (nephridium)
- ระบบไหลเวียนเลือดเป็นแบบเปิด (Open Circulatory System) ยกเว้นปลาหมึก จะเป็นระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด (Close Circulatory System)
- ระบบการหายใจ (Respiratory System) ใช้เหงือก หรือ ปอด (ในพวกที่อาศัยบนบก)
- ระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) เป็นแบบสมบูรณ์
อ้างอิง
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with nameChapman 2009
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
- Brusca & Brusca (1990). Invertebrates. Sunderland, Mass.: Sinauer Associates.
- Starr & Taggart (2002). Biology: The Unity and Diversity of Life. Pacific Grove, California: Thomson Learning.
แหล่งข้อมูลอื่น
- มอลลัสกา ภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์