มอเนอรา

มอเนอรา
Scanning electron micrograph ใน Escherichia coli rods
Scanning electron micrograph ใน Escherichia coli rods
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์Edit this classification
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย

แบคทีเรียและอาร์เคีย

หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม

โดเมนยูแคริโอตา

มอเนอรา (อังกฤษ: Monera) เป็นชื่ออาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ประมาณว่ามีจำนวนถึง 4 ล้านสปีชีส์ จำแนกได้เป็น 2 อาณาจักรย่อย คือ อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย, อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย

อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย

อาร์เคียแบคทีเรียผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคนอาจจะไม่นับว่าเป็นแบคทีเรีย ดำรงชีวิตในแหล่งน้ำพุร้อน ทะเลที่มีน้ำเค็มจัด บริเวณที่มีความเป็นกรดสูง และบริเวณทะเลลึก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • ยูริอาร์เคียโอตา ซึ่งสร้างมีเทน และชอบความเค็มจัด
  • ครีนาร์เคียโอตา ซึ่งชอบอุณหภูมิสูง และกรดจัดมาก

อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย

นับว่าเป็นแบคทีเรียแท้ แบ่งตามลักษณะการย้อมติดสี(gram's stain)ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

แบคทีเรียแกรมลบ

  • โพรทีโอแบคทีเรีย(Proteobacteria) พวกสังเคราะห์แสงได้ เช่น เพอเพิลซัลเฟอร์แบคทีเรีย(purple-sulfur bacteria) พวกช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศ มาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไรโซเบียม(Rhizobium sp.)ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว
  • คลาไมเดีย(Chlamydia) เป็นปรสิตในเซลล์สัตว์ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคโกโนเรีย หรือหนองใน เป็นต้น
  • สไปโรคีท(Spirochaete) มีรูปทรงเกลียว ดำรงชีวิตแบบอิสระแต่บางสปีชีส์เป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส หรือโรคฉี่หนู
  • ไซยาโนแบคทีเรีย(Cyanobacteria) สังเคราะห์แสงได้ มี คลอโรฟิลล์เอ, แคโรทีนอยด์ และไฟโคบิลิน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเป็นพวกทำให้ออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หายใจโดยใช้ออกซิเจนในปัจจุบัน เช่น แอนาบีนา(Anabaena), นอสตอก(Nostoc) และออสิลลาทอเรีย (Oscillatoria) สามารถตรึงแก๊สไนโตเจนในอากาศ ให้เป็นสารประกอบไนเตรต

แบคทีเรียแกรมบวก

  • แลคโตบาซิลลัส(Lactobacillus sp.) เป็นพวกผลิตกรดแลกติกได้จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ การทำเนย ผักดองและโยเกิร์ต;

Steptomyces sp.ใช้ทำยาปฏิชีวนะ เช่น ยาสเตร็บโตมัยซิน ยาเตตราไซคลิน เป็นต้น; Bacillus sp.สามารถสร้างเอนโดสปอร์(endospore) ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี บางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

  • ไมโคพลาสมา(Mycoplasma) เป็นเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์ มีเพียงเยื่อหุ้มเซลล์ที่ประกอบด้วยชั้นของไขมัน ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่มีบางพวกทำให้เกิดโรคปอดบวมในคนและวัว

ลักษณะรูปร่าง

แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-5 ไมโครเมตร มีผนังเซลล์เป็นสารประกอบเปบทิโดไกลแคน ภายในเซลลฺไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรม และไม่มีโครงสร้างอื่น มีรูปร่าง 3 แบบ ได้แก่ รูปทรงกลม(coccus), รูปทรงท่อน(bacillus), รูปทรงเกลียว(spirillum)

การดำรงชีวิต

สามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้พลังงานจากแสง (photosynthesis) หรือใช้พลังจากปฏิกิริยาเคมี (chemosynthesis) เช่น ซัลเฟอร์แบคทีเรีย แต่ส่วนใหญ่สร้างอาหารเองไม่ได้ สามารถอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่หนาวจัด ร้อนจัด ทะเลมีความเค็มมาก หรือในสภาพที่มีความเป็นกรดสูง

แหล่งข้อมูลอื่น