มังกรหยก
ผู้ประพันธ์ | กิมย้ง |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 射鵰英雄傳 |
ผู้แปล | จำลอง พิศนาคะ, น.นพรัตน์, ฉบับอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด |
ประเทศ | ฮ่องกง, จีน |
ภาษา | จีน |
ชุด | Condor Trilogy |
ประเภท | กำลังภายใน |
สำนักพิมพ์ | Hong Kong Commercial Daily |
วันที่พิมพ์ | 1 มกราคม ค.ศ. 1957 ถึง 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 |
ชนิดสื่อ | พิมพ์ |
เรื่องก่อนหน้า | แปดเทพอสูรมังกรฟ้า |
เรื่องถัดไป | เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี |
มังกรหยก | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 射鵰英雄傳 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 射雕英雄传 | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Story of the Eagle Shooting Hero | ||||||||||||
|
มังกรหยก (จีน: 射鵰英雄傳) เป็นนิยายกำลังภายในชื่อดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเรื่องหนึ่ง แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) มีการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกเกือบร้อยปีข้างหน้าต่อจากภาคเอี๊ยก้วย
เนื้อเรื่องย่อ
เรื่องราวเกิดในยุคราชวงศ์ซ้องใต้ รัชสมัยพระเจ้าซ้องหลีจง (พ.ศ. 1767-1807) แผ่นดินจีนเสื่อมโทรมในทุกด้าน อาณาประชาราษฎร์ยากแค้นลำเค็ญ ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวจีนด้วยกัน เกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อ "เจ๋ง" ที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของ มองโกล และเดินทางกลับสู่ยุทธจักรในประเทศจีน ได้พบกับอึ้งย้ง ยังได้ฝึกวิชาต่าง ๆ มากมาย ขับไล่พวกมองโกลจากแผ่นดินจีน
ก๊วยเซาเทียน และ เอี้ยทิซิม พี่น้องร่วมสาบาน ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นกบฏ พวกเขาต่อต้านการจับกุม เข้าสู้พวกทหารที่กลุ้มรุม กระทั่งก๊วยเซาเทียนเสียชีวิต บ้านเรือนถูกเผาผลาญย่อยยับ เอี้ยทิซิม หลีเพ้ง ภรรยาก๊วยเซ่าเทียน และ เปาเซียะเยียก ภรรยาเอี้ยทิซิม หนีกระเซอะกระเซิงไปคนละทิศละทาง ผู้หญิงทั้งสองกำลังตั้งครรภ์ หลีเพ้งให้กำเนิด ก๊วยเจ๋ง ระเหเร่ร่อนไปเติบใหญ่ในแผ่นดินมองโกลใต้ร่มใบบุญเจงกิสข่านผู้ยิ่งใหญ่ ขณะที่เปาเซียะเยียกให้กำเนิด เอี้ยคัง ได้ดีมีสุขในวังไต้กิมก๊กของชาวนีเจิน
ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วน
ก๊วยเจ๋งและเอี้ยคังเติบโตขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมและการบ่มเพาะที่ต่างกัน จึงมีพฤตินิสัยไปคนละแบบ ก๊วยเจ๋งได้รับการสั่งสอนย้ำเตือนจาก หลีเพ้ง ผู้เป็นมารดา และ เจ็ดประหลาดกังหนำ ผู้เป็นอาจารย์ ให้แก้แค้นแทนบิดา และยึดมั่นในจิตวิญญาณจีน จึงยินยอมสะบั้นไมตรีกับพวกมองโกล ก็ไม่ยินยอมทำร้ายแผ่นดินตงง้วน อันเป็นมาตุภูมิ ขณะที่ เอี้ยคัง หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยินยอมรับศัตรูเป็นบิดา กระทั่งยังกล้าย่ำยีบีฑาชาวชนเชื่อชาติเดียวกัน
มังกรหยกถูกนักวิชาการด้านจีนศึกษาจำนวนมากวิเคราะห์ว่าแฝงด้วยเนื้อหาชาตินิยมและเชื้อชาตินิยมของพวกฮั่น
ตัวละครในเรื่อง
- ก๊วยเจ๋ง จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน (เป็นคนเรียนรู้ได้ช้า มีความคิดอ่านไม่ปราดเปรื่อง แต่เป็นคนสัตย์ซื่อและมีความขยัน จึงได้รับการเอ็นดูจากจอมยุทธมากมายจึงถ่ายทอดวิชาให้)
- ก๊วยเซาเทียน ผู้เป็นบิดาจอมยุทธก๊วยเจ๋ง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเอี๊ยทิซิม (ผู้เป็นบิดาของเอี๊ยคัง)
- หลีเพ้ง มารดาของก๊วยเจ๋ง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม ได้หนีไปชายแดนและได้ทัพมองโกลอุปการะเลี้ยงดูไว้ทั้งแม่และลูก
- อึ้งย้ง หรือยงยี้ ได้รับฉายาว่าขงเบ้งหญิง (เนื่องจากมีปัญญายอดเยี่ยม) และยังได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดสตรีศรีต้งง้วนอีกด้วย ธิดาของมารบูรพา (อึ้งเอี๊ยะซือ) ภรรยาของ (ก๊วยเจ๋ง)
- ก๊วยพู้ บุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง มีนิสัยชอบเอาแต่ใจไม่ชอบเอี้ยก้วย ภายหลังได้รับการช่วยชีวิตจาก เอี๊ยก้วย
- ก๊วยเซียง บุตรสาวคนเล็กของก๊วยเจ๋ง น้องสาวฝาแฝดของก๊วยพั่วลู่ มีนิสัยดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซุกซนขี้เล่น แอบชอบเอี๊ยก้วย (ผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ้ ในมังกรหยก ภาค3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร)
- ก๊วยพั่วลู่ หรือ ก๊วยพั่วโล้ น้องชายของก๊วยพู้ และเป็นน้องฝาแฝดของก๊วยเซียง
- เอี้ยก้วย บุตรชายของเอี๊ยคัง (หลังจากบิดาและมารดาเสียชีวิต มารดาได้ฝากไว้ให้กับก๊วยเจ๋งเลี้ยงดูแต่ได้มีเรื่องกับศิษย์ของ ก๊วยเจ๋งและบุตรสาวคนโตของก๊วยเจ๋ง (ก๊วยพู้) อยู่บ่อยๆ อึ้งยง ได้ให้ ก๊วยเจ๋ง นำไปฝากไว้กับนักพรตช้วนจินก่าเลี้ยงดูและสั่งสอน อึ้งยง เห็นว่ามีนิสัยคล้าย ๆ เอี๊ยคังผู้เป็นบิดาจึงกลัวว่าเติบโตมาแล้วจะเป็นคนไม่ดีและยังไม่อยากให้ก๊วยเจ๋งต้องมากังวลกับปัญหาอื่นๆในช่วงบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย)
- เซียวเหล่งนึ่ง ศิษย์สำนักสุสานโบราณ ผู้ที่เลี้ยงดูและช่วยเอี๊ยก้วยหลังจากที่เอี๊ยก้วยโดนใส่ร้ายและขับออกจากช้วนจินก่าและยังถูกทำร้ายโดยพิษอีกด้วย เปรียบเหมือนพี่สาวและยังเป็นคนรักเอี๊ยก้วยอีกด้วย มีอายุมากกว่าเอี๊ยก้วย 4 ปี แต่หน้าตากลับดูเยาว์วัยเหมือนยังสาว
- เอี๊ยคัง ผู้เป็นบิดาเอี้ยก้วย นิสัยไม่ดี ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างตามใจ (พกมีดสั้นที่มีสัญลักษณ์สลักคำว่าก๊วยเจ๋ง ผู้เป็นบิดาสลักไว้ให้ติดตัวมาตั้งแต่เด็กหลังบิดาตาย)
- เปาเซียะเยียก มารดาของเอี๊ยคัง หลังจากสามีได้ถูกสังหารจากสงคราม อ๋องชาวนีเจินชอบพอจึงให้การอุปการะเลี้ยงดูไว้และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮูหยินแต่นางรักเดียว ใจเดียว เท่านั้น
- เอี๊ยทิซิม ผู้เป็นบิดาเอี้ยคัง และ เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับก๊วยเซาเทียน (ผู้เป็นบิดาของก๊วยเจ๋ง)
- เจ็ดประหลาดกังหนำ มีด้วยกันเจ็ดคนชาย 6 หญิง 1 ได้ตามหาก๊วยเจ๋งและรับก๊วยเจ๋งเป็นศิษย์ตั้งแต่ยังเด็ก ยังเอ็นดู ก๋วยเจ๋ง มากเปรียบเหมือนลูกหลานคนหนึ่ง
- อาวเอี๊ยงเค็ก หลานชายของอาวเอี๊ยงฮง
- ตั้งเฮี้ยงฮวง ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพทองแดง
- บ๊วยเถี่ยวฮวง หรือ เหมยเชาฟง ลมทมิฬคู่พิฆาต ฉายา ศพเหล็ก
- เค็กซา หรือ ซ่ากู หรือ โถว โถว บุตรสาวของ เค็กเล้งฮวง ศิษย์อึ้งเอี๊ยะซือ นางมีสติไม่สมประกอบ พอมีวรยุทธอยู่บ้างจากบิดาสอน ต่อมาได้มาอาศัยที่เกาะดอกท้อเนื่องจาก ก๊วยเจ๋งและอึ้งยงไปตามหาตัวเค็กเล้งฮวงแต่ไม่เจอ เจอเพียงจดหมาย และ เค็กซา จึงได้พามาที่เกาะดอกท้อและได้รับการเลี้ยงดูและสอนวรยุทธนิดหน่อยจาก อึ้งเอี๊ยะซือ เนื่องจาก อึ้งเอี๊ยะซือ สำนึกผิดที่ได้ตัดเอ็นร้อยหวาย เค็กเล้งฮวง เพราะความโกรธ
- อ้วนง้วนอั้งเลียก อ๋องแห่งกิมก๊ก หรือ ไต้กิม
- เจงกิสข่าน จ้าวแห่งทัพมองโกล ได้อุปการะเลี้ยงดูแม่ของก๋วยเจ๋ง และ ก๋วยเจ๋ง หลังจากบิดาก๋วยเจ๋ง (ก๊วยเซาเทียน) เสียชีวิตลง
- ซัวทงเทียน (พญามังกรประตูปิศาจ)
- โฮ้วทงไฮ้ (มังกรสามหัว)
- แพ้เลี่ยงโฮ้ว (เพชรฆาตรพันมือ)
- เนี่ยจื้ออง (เฒ่าประหลาดเซียนโสม)
- เล้งตี่เซี่ยงหยิน
- เอ็งโกว หรือสนมเล่า (ฉายาเทพคำนวณ) อดีตพระสนมอ๋องต้วน ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) แต่ได้ไปมีสัมพันธ์กับ จิวแป๊ะทง และได้มีลูกด้วยกัน 1 คน แต่ลูกนางได้โดน ฮิ้วโชยยิ่ม ลอบทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงได้ไปขอให้ ต้วนตี่เฮง (อิดเต็งไต้ซือ) ใช้ ดัชนีเอกสุริยันต์ ช่วยลูกของนาง แต่กลับไม่ยอมช่วยเนื่องจาก ไม่พอใจและโกรธนางเพราะไปมีสัมพันธ์กับ (จิวแป๊ะทง) จนทำให้ลูกนางตายลง นางจึงเสียใจอย่างมากและหนีไป และเปลี่ยนชื่อ เป็น เอ็งโกว
- จิวแป๊ะทง หรือเฒ่าทารก เป็นศิษย์น้องของ เฮ้งเตงเอี้ยง มีนิสัยร่าเริง บ้าๆ บอๆ เหมือนเด็กทารก ต่อมาได้ไปมีสัมพันธ์กับ เอ็งโกว และมีลูกด้วยกัน 1 คน ตอนที่ ต้วนตี่เฮง(อิดเต็งไต้ซือ) ให้ติดตามไปด้วยเพื่อตามหา คัมภีร์เก้าอิม ที่เฮ้งเตงเอี้ยง ซ่อนไว้ แต่ด้วยนิสัยของเขาจึงไม่รู้ว่าเขามีลูกกับเอ็งโกว
- เซียมตัง (ชาวประมง) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
- บู๊ซำทง (กสิกร) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
- จูจื้อลิ้ว (นักศึกษา) 1 ในศิษย์ของอิดเต็งไต้ซือ
- ฮิ้วโชยยิ่ม (ฝ่ามือเหล็กพริ้วบนสายน้ำ) ประมุขพรรคฝ่ามือเหล็กมีฝีมือเก่งกาจ เป็นฝาแฝดกับ (ฮิ้วโชยตึ๋งผู้เป็นพี่)
- ฮิ้วโชยตึ๋ง พี่ของฮิ้วโชยยิ่ม มีนิสัยชอบหลอกลวงลักเล็กขโมยน้อย ขู่กรรโชก แต่ไม่มีวรยุทธ์ จึงชอบแอบอ้างชื่อน้องตัวเอง (ฮิ้วโชยยิ่ม) ซึ่งเป็นฝาแฝด
ห้ายอดฝีมือแห่งยุค
- เฮ้งเตงเอี้ยง (เทพมัชฌิม หรือ กลางอิทธิฤทธิ์) ผู้ก่อตั้งสำนักช้วนจินก่า ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือสูงที่สุดในห้ายอดฝีมือ ภายหลังเสียขีวิต ผู้ครอบครอง คัมภีร์เก้าอิม วรยุทธ์ที่เด่นชัด เพลงกระบี่ช้วนจิน
- อึ้งเอี๊ยะซือ (มารบูรพา หรือ ตังเซี้ย- บางฉบับใช้ ภูตบูรพา) เป็นบิดาของอึ้งย้ง และเป็นประมุขเกาะดอกท้อ บิดาของอึ้งย้ง(ยงยี้) หรือ พ่อตาของก๊วยเจ๋ง วรยุทธที่เด่นชัด ฝ่ามือเทพกระบี่สยบผู้กล้า เพลงกระบี่ขลุ่ยหยกมังกรทะยาน ฝ่ามือปัดจุดกล้วยไม้ เพลงเตะพายุรวบใบไม้ และ ยอดวิชานิ้วดีด
- อั้งฉิกกง (ยาจกอุดร หรือปักข่าย- บางฉบับใช้ ขอทานเหนือ หรือ ยาจกเก้านิ้ว) ประมุขพรรคกระยาจก วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าตีสุนัข(เป็นวรยุทธที่สืบทอดเฉพาะประมุขพรรคกระยาจก) และ 18ฝ่ามือพิชิตมังกร
- อิดเต็งไต้ซือ (ราชันย์ทักษิณ หรือน่ำเต้- บางฉบับใช้อ๋องแดนใต้,ราชันย์ต้วน) เป็นอดีตจักรพรรดิแซ่ต้วนแห่งไต้ลี้ หรือ ต้าหลี่ วรยุทธที่เด่นชัด ดัชนีเอกสุริยันต์
- อาวเอี๊ยงฮง (พิษประจิม หรือไซตั๊ก) จ้าวแห่งการใช้พิษ ผู้อยู่เหนือพิษทั้งปวง วรยุทธที่เด่นชัด เพลงไม้เท้าอสรพิษ กระบวนท่าลมปราณคางคกพิษ
สำนักช้วนจินก่า
นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกายช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจากเฮ้งเต็งเอี้ยง คือ
- เบ้เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง
- คูชู่กี ฉายา เชี่ยงชุนจื้อ - ผู้อมตะ มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน
- เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก มีฝีมือสูงส่งในสำนักป็นรองเพียงคูชู่กี
- ท่ำชู่ตวน ฉายา เชี่ยงจินจื้อ - คนจริงยืนยาว
- เล่าชูเหียน ฉายา เชี่ยงแชจื้อ - คนจีรัง
- ฮึ่งไต้ฮง ฉายา ก้วงเล้งจื้อ - ผู้ไพศาล
- ซุนปุกยี่ ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน
ประกอบด้วย
- ค้างคาวเหิน กัวเต็งอัก (Ke Zhen'e) เป็นคนเข้มงวดแต่จริงใจ มีวรยุทธสูงสุดในเจ็ดประหลาดกังหนำ ภายหลังตาบอด วิชาที่ใช้ไม้เท้าวชิระ
- บัณฑิตมือวิเศษ จูชง (Zhu Cong) มีปัญญาล้ำเลิศในระดับหนึ่ง และมีความสามารถในการฉกขโมยของ
- เทพอาชา หันปอกือ (Han Baoju) มีความสามารถในการดูม้า และ วิธีการสยบม้าและการใช้ห่วงคล้องม้า
- คนตัดฟืนเขาทักษิณ น่ำฮียิ้น (Nan Xiren) มีพละกำลังสูง ร่างกายแข็งแรง
- อรหันต์ยิ้ม เตียวอาแซ (Zhang Ahsheng) เป็นคนร่าเริ่ง ใจดี มีวรยุทธอยู่ในระดับหนึ่ง
- ผู้ซ่อนกายกลางตลาด ช้วนกิมฮวด (Quan Jinfa) มีความสารถในการปลอมตัวสูง
- นักกระบี่หญิงแคว้นอ้วก หันเสียวย้ง (Han Xiaoying) เป็นจอมยุทธสาวคนเดียวใน 7 ประหลาดกังหนำ เก่งเรื่องการใช้กระบี่ และยังเป็นสาวงามอีกด้วย วิชาที่ใช้เพลงกระบี่แคว้นอ้วก
นิกายเม้งก่า
นิกายเม้งก่า (พรรคจรัสหรือพรรครุ่งเรือง) - โดยมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านปัจจุบัน) บูชาเทพอัคคี
จากการเกิดการแก่งแย่งในนิกายเพื่อค้นหาผู้นำทำให้นิกายเกือบล่มสลาย หลังจากนั้นไม่นาน บ่อกี๋ได้รับมาเป็นประมุข นิกายจึงเจริญขึ้นและยิ่งใหญ่ในยุทธภพ ภายในนิกายบังคับบัญชาในระบบอาวุโส คือ ประมุข ทูตซ้าย-ขวา สี่ผู้คุมกฎ ได้แก่ มังกรเสื้อม่วง อินทรีคิ้วขาว ราชสีห์ขนทอง ค้างคาวปีกเขียว รองลงมาก็คือ ห้าพเนจร
ในด้านกำลังพล มีห้ากองธง และมี “จูหยวนจาง (จูหงวนจัง)” เป็นผู้กุมกำลังพล ภายหลังคนผู้นี้ ได้ทรยศบ่อกี๋ และนำกำลังของนิกายขับไล่มองโกลออกไปจากต้าซ้องได้สำเร็จ แล้วสถาปนาตนเองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งชื่อราชวงศ์ก็มาจากชื่อของนิกายเม้งก่านั่น
ฉบับภาษาไทย
ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน โดยมีการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้ชื่อว่า "วีรบุรุษมือธนู" โดยผู้แปลใช้นามปากกว่า ปากกาผุ และผู้ที่แปลอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์คนแรก คือ จำลอง พิศนาคะ ในปี พ.ศ. 2500 [1] และหากยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า "ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้าต่อจากเอี๊ยก้วย
การดัดแปลงในสื่ออื่น
ภาพยนตร์
ปี | ผู้สร้าง | นักแสดงหลัก | ดูที่ |
---|---|---|---|
1958 | Emei Film Company (Hong Kong) |
Cho Tat-wah, Yung Siu-yee, Lam Kau, Lai Kwan-lin | See Story of the Vulture Conqueror |
1977 | Shaw Brothers Studio (Hong Kong) | Alexander Fu, Tanny Tien, Lee I-min, Kara Hui | See The Brave Archer |
1978 | Alexander Fu, Niu-niu, Lee I-min, Kara Hui | See The Brave Archer 2 | |
1981 | Alexander Fu, Niu-niu, Yu Tai-ping | See The Brave Archer 3 | |
1993 | Scholars Ltd. (Hong Kong) | Leslie Cheung, Brigitte Lin, Maggie Cheung, Tony Leung Chiu-Wai, Jacky Cheung | See The Eagle Shooting Heroes |
1994 | Leslie Cheung, Brigitte Lin, Maggie Cheung, Tony Leung Chiu-Wai, Tony Leung Ka-fai, Jacky Cheung | See Ashes of Time | |
2025 | China Film Group Corporation | เซียวจ้าน, จวงต๋าเฟย | See มังกรหยก ภาค ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ (ภาพยนตร์) |
ละครโทรทัศน์
- มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 8 ครั้ง (1976-2024) โดยทั้งแปดครั้งเป็นงานสร้างของ
- ฮ่องกง สร้าง 3 ครั้ง คือ มังกรหยก 1976, มังกรหยก 1983 และ มังกรหยก 1994
- ไต้หวัน สร้าง 2 ครั้ง คือ มังกรหยก 1988 และ มังกรหยก 2018
- จีน สร้าง 3 ครั้ง คือ มังกรหยก 2003, 2017 และ 2024
ปี | ผู้สร้าง | นักแสดงหลัก | ดูที่ |
---|---|---|---|
1976 | CTV (Hong Kong) | ไป่ เปียว, หมีเซียะ, เหลียง เสี่ยวหลง | See มังกรหยก (1976) |
1983 | TVB (Hong Kong) | หวง เย่อหัว, อง เหม่ยหลิง, เหมียว เฉียวเหว่ย, หยาง พ่านพ่าน | See มังกรหยก (1983) |
1988 | China Television Co, Ltd. (Co-production) | หวงเหวินหาว, เฉินอวี้เหลียน, พานหงปิง, ชิวชู่อี | See มังกรหยก (1988) |
1994 | TVB (Hong Kong) | จาง จื้อหลิน, จู อิน, หลอ เจียเหลียง, กวน เป่าฮุย | See มังกรหยก(1994) |
2003 | Ciwen Film & TV Production Co. Ltd. (Mainland China) | หลี่อย่าเผง, โจว ซวิ่น, โจวเจี๋ย, เจียง ฉินฉิน | See มังกรหยก (2003) |
2008 | Chinese Entertainment Shanghai Ltd. (Mainland China) |
หู เกอ, หลิน อีเฉิน, หยวน หง, หลิว ซือซือ | See มังกรหยก (2008) |
2017 | Dragon TV (Mainland China) | หยาง ซุเหวิน, หลี่ อี้ถง, เฉิน ซิงซู, เหมิง ซิยี่ | See มังกรหยก (2017) |
- มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง สร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 8 ครั้ง (1976-2024) ส่วนอีกสามเรื่องในตารางดังต่อไปนี้ เป็นการเขียนบทขึ้นมาเองโดยทีวีบี โดยไม่ใช่บทประพันธ์ของกิมย้ง แต่ใช้ชื่อตัวละครในมังกรหยก มาดัดแปลงเขียนขยายบทเอง ซึ่งทั้งสามเรื่องนี้เป็น มังกรหยกภาคพิเศษ ได้เแก่
ปี | ผู้สร้าง | นักแสดงหลัก | ดูที่ |
---|---|---|---|
1992 | TVB (Hong Kong) | เจิ้งอี้เจี้ยน, เหลียงเพ่ยหลิง | See มังกรหยก ตอน เฮ้งเต็งเอี๊ยง |
1993 | จาง จื้อหลิน, เจียง ต้าเหว่ย, เหลียง เพ่ยหลิง | See มังกรหยก ตอน คัมภีร์มารนพเก้า | |
1994 | เจิ้ง อี้เจี้ยน, หว่องเสี่ยวหยิน | See มังกรหยก ศึกสองจ้าวยุทธจักร |
หนังสือมังกรหยก ที่พิมพ์ในประเทศไทย
มังกรหยก มีจัดพิมพ์ 3 สำนักพิมพ์ ช่วงปี 2535 - 2538
- สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ แปลโดย จำลอง พิศนาคะ พร้อมกล่อง
- สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต แปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์ออกมา 3 ภาค ไม่มีกล่อง
ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 1 ก๋วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ
ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 2 เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี
ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 3 ดาบมังกรหยก
- สำนักพิมพ์ดอกหญ้า แปลโดย ว. ณ เมืองลุง จัดพิมพ์ออกมา 2 ภาค พร้อมกล่อง
มังกรเจ้ายุทธจักร
อินทรีเจ้ายุทธจักร
อ้างอิง
- ↑ better (2018-07-17). "แฟนพันธุ์แท้2002 - มังกรหยก". แฟนพันธุ์แท้ 2002. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.