มัจจุราชสีน้ำผึ้ง
มัจจุราชสีน้ำผึ้ง | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | Honey-colored God of Death (อังกฤษ) |
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น |
เขียนโดย | บทประพันธ์: อุปถัมภ์ กองแก้ว บทโทรทัศน์: คฑาหัสต์ บุษปะเกศ - ภูมิภักดิ์ |
กำกับโดย | ภวัต พนังคศิริ |
แสดงนำ | ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ อภิญญา สกุลเจริญสุข วริษฐ์ ทิพโกมุท พิษณุ นิ่มสกุล อภิษฎา เครือคงคา สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | คนที่ร้ายคนที่รัก/หนี้หัวใจ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | รักในละคร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 15 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | อรุโณชา ภาณุพันธ์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | ภวัต พนังคศิริ |
ความยาวตอน | 135 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 |
เรต | 7.35 |
มัจจุราชสีน้ำผึ้ง เป็นบทประพันธ์ของ อุปถัมภ์ กองแก้ว เจ้าของบทประพันธ์ ตลาดอารมณ์[1] เป็นเรื่องราวของความรักก็ไม่เคยรัก แต่ด้วยแรงผลักไสกับความต้องการตอบแทนผู้มีพระคุณ “รจนาไฉน” จึงจำยอมรับหมั้นชายหนุ่มผู้มีนามว่า “ปัทม์ ปัทมกุล” ด้วยความรักและหวงแหนในเกียรติยศ เขาจึงทนไม่ได้เมื่อรู้ความจริงว่า เธอไม่ใช่หญิงสาวที่เขาจะต้องแต่งงานด้วย แต่เธอยอมทอดตัวเข้ามาด้วยมารยาหญิง ดุจเถาไม้เลื้อยที่หวังเกาะเขาเท่านั้น เขาจำต้องรักษาหน้าและศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย บทประพันธ์นี้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ อีกหลายต่อหลายครั้ง
บทประพันธ์เรื่องนี้สร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง และละครโทรทัศน์แล้วอีก 5 ครั้ง โดยครั้งแรกในรูปแบบภาพยนตร์โดย พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที ถึง 2 ครั้ง ในปี 2517 (สมบัติ เมทะนี และ พิศมัย วิไลศักดิ์) และในปี 2525 (พิศาล อัครเศรณี และ มนฤดี ยมาภัย) และต่อมาสร้างเป็นละคร ในปี 2523 ทางช่อง 5 (สมภพ เบญจาธิกุล และ ธิติมา สังขพิทักษ์), ในปี 2529 ทางช่อง 3 (นิรุตติ์ ศิริจรรยา และ ลินดา ค้าธัญเจริญ), ในปี 2536 ทางช่อง 9 (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ และ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี), ในปี 2544 ทางช่อง 7 (นุติ เขมะโยธิน และ ศรุตา เรืองวิริยะ) และในปี 2556 ทางช่อง 3 (ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ และ พิจักขณา วงศารัตนศิลป์)
บทประพันธ์สู่ภาพยนตร์
เริ่มแรกบทประพันธ์ มัจจุราชสีน้ำผึ้ง ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ มีรายละเอียดดังนี้
- พ.ศ. 2517 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก เป็นภาพยนตร์ 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม สร้างโดย เทพศิลป์ภาพยนตร์ กำกับโดย พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที [2] เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ที่โรงภาพยนตร์แมคเคนน่า [3][4] นำแสดงโดย
- สมบัติ เมทะนี รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- พิศมัย วิไลศักดิ์ รับบท รจนาไฉน
- สุคนธ์ทิพย์ เสนะวงศ์ รับบท โรมฤทัย
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ รับบท ประวุฒิ
- พ.ศ. 2525 พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที นำกลับมาสร้างใหม่เป็นครั้งที่สอง สร้างโดย วีซีโปรโมชั่นแอนด์พิคเจอร์ กำกับโดย พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที เช่นเดิม เข้าฉายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 [5] ที่โรงภาพยนตร์แอมบาสเดอร์-ดาดา-รามา-ศรีย่าน-แกรนด์ นำแสดงโดย
- พิศาล อัครเศรณี รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- มนฤดี ยมาภัย รับบท รจนาไฉน
- จูลี่ รีด รับบท โรมฤทัย
- พล พลาพร รับบท ประวุฒิ
บทประพันธ์สู่ละครโทรทัศน์
- พ.ศ. 2523 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สร้างโดย จตุรมิตรการละคร กำกับการแสดงโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์ [6] นำแสดงโดย
- สมภพ เบญจาธิกุล รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- ธิติมา สังขพิทักษ์ รับบท รจนาไฉน
- นวลปรางค์ ตรีชิต รับบท โรมฤทัย
- ธีรยุทธ ศิลาภิรัติ รับบท ประวุฒิ
- พ.ศ. 2529 - 30 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สร้างโดย ลินดา ค้าธัญเจริญ นำแสดงโดย
- นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- ลินดา ค้าธัญเจริญ รับบท รจนาไฉน
- หทัยรัตน์ อมตวณิชย์ รับบท โรมฤทัย
- ธงไชย แมคอินไตย์ รับบท ประวุฒิ
- พ.ศ. 2536 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สร้างโดย อาร์เอส กำกับการแสดงโดย ฉลวย ศรีรัตนา นำแสดงโดย
- จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี รับบท รจนาไฉน
- ปรางค์วลัย เทพสาธร รับบท โรมฤทัย
- สิรคุปต์ เมทะนี รับบท ประวุฒิ
- พ.ศ. 2544 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กำกับการแสดงโดย ฉลวย ศรีรัตนา นำแสดงโดย
- นุติ เขมะโยธิน รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- ศรุตา เรืองวิริยะ รับบท รจนาไฉน
- พลอย เอมเมอรี่ รับบท โรมฤทัย
- วรวิทย์ นัยสำราญ รับบท ประวุฒิ
- พ.ศ. 2556 ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สร้างโดย บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น กำกับการแสดงโดย ภวัต พนังคศิริ นำแสดงโดย
- ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ รับบท ปัทม์ ปัทมกุล
- พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ รับบท รจนาไฉน
- อภิญญา สกุลเจริญสุข รับบท โรมฤทัย
- วริษฐ์ ทิพโกมุท รับบท ประวุฒิ
นักแสดงนำในปีต่าง ๆ
รูปแบบการนำเสนอ | ปัทม์ ปัทมกุล | รจนาไฉน | โรมฤทัย | ประวุฒิ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2517 | สมบัติ เมทะนี | พิศมัย วิไลศักดิ์ | สุคนธ์ทิพย์ เสนะวงศ์ | ไพโรจน์ ใจสิงห์ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2523 | สมภพ เบญจาธิกุล | ธิติมา สังขพิทักษ์ | นวลปรางค์ ตรีชิต | ธีระยุทธ ศีลาภิรัติ |
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2525 | พิศาล อัครเศรณี | มนฤดี ยมาภัย | จูลี่ รีด | พล พลาพร [7] |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2529 | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | ลินดา ค้าธัญเจริญ | หทัยรัตน์ อมตวณิชย์ | ธงไชย แมคอินไตย์ [8] |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536 | จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ | ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี | ปรางค์วลัย เทพสาธร | สิรคุปต์ เมทะนี |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2544 | นุติ เขมะโยธิน | ศรุตา เรืองวิริยะ | พลอย เอมเมอรี่ | วรวิทย์ นัยสำราญ |
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 | ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ | พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ | อภิญญา สกุลเจริญสุข | วริษฐ์ ทิพโกมุท |
เนื้อเรื่องมัจจุราชสีน้ำผึ้ง
ครอบครัวมีอันจะกินครอบครัวหนึ่งซึ่งมีคุณนายรำเภาเป็นหัวหน้าครอบครัว มีลูกสาวสองคน คนพี่ชื่อ รจนาไฉน วิชนี ส่วนคนน้องชื่อ โรมฤทัย วิชนี แต่รจนาไฉนนั้นมีคนรักแล้วคือ ประวุฒิ อันครอบครัวของคุณนายรำเภานี้มีความสนิทสนมอยู่กับครอบครัวของคุณนายเปรม ปัทมกุล ซึ่งอยู่ที่สุโขทัย มีลูกชายคนหนึ่ง คือ ปัทม์ ปัทมกุล ทั้งสองครอบครัวนี้ต่างเคยให้สัญญากันนไว้ว่าถ้ามีลูกจะให้แต่งงานด้วยกันแต่เมื่อโรมฤทัยได้ทราบว่าตัวเองจะต้องหมั้นหมายกับปัทม์ก็ไม่พอใจยิ่งเป็นการกระทำแบบคลุมถุงชนของมารดา โรมฤทัยรู้สึกคับแค้นใจยิ่งนักโดยจะไม่ยอมรับหมั้นอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเห็นว่าปัทม์เป็นเพียงคนบ้านนอกจึงบังคับให้ผู้พี่คือรจนาไฉนรับหมั้นและแต่งงานแทน รจนาไฉนก็ไม่ยินยอมและอ้างว่าตนเองมีคนรักอยู่แล้วแม้คุณนายรำเภาจะขอร้องอย่างไรก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
วันหนึ่งโรมฤทัยได้บอกความจริงแก่รจนาไฉนว่ารจนาไฉนนั้นไม่ใช่ลูกสาวคุณแม่แต่เป็นเด็กที่เก็บมาเลี้ยงและว่ากล่าวอย่างรุนแรง รจนาไฉนตัดสินใจรับหมั้นกับปัทม์ เพื่อทดแทนบุญคุณเมื่อคุณนายเปรมทราบข่าวการตกลงรับหมั้นก็เดินทางเข้ามากรุงเทพพร้อมกับปัทม์ โดยทั้งสองฝ่ายยังไม่เคยพบเจอกันมาก่อน ปัทม์พบกับรจนาไฉนและทราบว่าเธอไม่ใช่ลูกสาวของคุณนายรำเภาก็รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมากและคิดว่าคุณนายแกล้งหลอกเอาคนอื่นมาแต่งงานเพื่อหวังต้มและหลอกเอาทรัพย์สินเงินทอง แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแต่งงานไปตามเรื่องตามราว ฝ่ายโรมฤทัยนั้นเมื่อได้เห็นปัทม์เข้าก็ไม่คิดว่าคนที่มาจากบ้านนอกจะหล่อเหลาสง่างามถึงเพียงนั้นและพยายามทุกวิถึทางที่จะยั่วยวนแต่ปัทม์ก็ไม่สนใจและตัดสินใจพารจนาไฉนกลับไปบ้านที่สุโขทัย ท่ามกลางความไม่เข้าใจกันของคนทั้งสอง ปัทม์คอยข่มขู่พูดจาดูถูกต่างๆนาๆเสมอ ทั้งคู่สมรสกันเพียงในนามเท่านั้น
ที่สุโขทัยนี่เอง อุรารัตน์ เจียรกุล หญิงสาวผู้หลงรักปัทม์อย่างหลงไหลพร้อมกับเพื่อนชายมาหาปัทม์ที่บ้านพ่อเลี้ยงพูนทวีและปลัดวราห์เพื่อนทั้งสอง เมื่อพบกับรจนาไฉนก็ต่างหลงรักทันทีเพราะต่างเข้าใจว่ารจนาไฉนเป็นน้องสาวของปัทม์โดยปัทม์ก็พยายามสนับสนุนเต็มที่เช่นกัน ต่อมาพ่อเลี้ยงพูนทวีทราบความจริงว่ารจนาไฉนเป็นภรรยาของปัทม์ก็พยายามหักห้ามใจ เมื่อปัทม์ทำไม่สำเร็จจึงหันมาเล่นงานรจนาไฉนต่อไปเพื่อบีบบังคับให้หย่าขาดอยู่เสมอๆ อีกทั้งอุรารัตน์ที่เข้ามาเป็นมือที่สามคอยแทรกระหว่างทั้งสองอยู่เสมอและได้บอกกับรจนาไฉนว่าเธอตั้งท้องกับปัทม์ ทำให้รจนาไฉนสุดจะทานทนและตัดสินใจออกจากปัทมกุลทันที รจนาไฉนได้รับความช่วยเหลือจากพ่อเลี้ยงพูนทวีจึงให้รจนาไฉนอยู่ในความดูแลของแม่ครัว ส่วนตัวเองเปลี่ยนไปพักที่อื่นพร้อมทั้งไปหาปลัดวราห์เพื่อสืบถามความจริงและให้อุรารัตน์พูดความจริงว่าเด็กในท้องนั้นเป็นลูกของปลัดวราห์
ปัทม์พยายามตามหารจนาไฉนอย่างสุดกำลังและได้มาพบกับรจนาไฉนที่บ้านของพ่อเลี้ยงพูนทวีจึงเกิดความเข้าใจผิดกันขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปรจนาไฉนใจอ่อนยอมเดินทางกลับมาหาปัทม์ คนทั้งสองได้รู้จักถึงคำว่ารักและพรัดพราก ทางด้านโรมฤทัยกับประวุฒิเพราะความคึกคะนองและความมึนเมาทำให้ทั้งคู่พลาดทั้งๆที่ไม่ได้รักกันเลยโดยประวุฒิยังหวังจะได้ครองรักกับรจนาไฉนเพราะรู้ว่าแต่งงานกันเพียงในนามเท่านั้น ส่วนโรมฤทัยก็ยังหวังจะได้ครอบครองปัทม์เช่นกัน ทั้งคู่จึงตัดสินใจเดินทางขึ้นมาที่สุโขทัยแต่ทั้งคู่ก็ผิดหวังเมื่อทราบความจริงว่าขณะนี้ปัทม์และรจนาไฉนมีความรัก และมีความสุขดีแล้ว ทั้งโรมฤทัยและประวุฒิรู้สึกผิดหวังอย่างที่สุดจึงเดินทางกลับกรุงเทพและตัดสินใจแต่งงานกันด้วยหวังว่าจะได้เติมเต็มกันและกันต่อไปในวันข้างหน้าเมื่อเห็นว่าความรักนั้นมีค่าแก่การครอบครอง
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556
รายละเอียด
- ชื่อละคร มัจจุราชสีน้ำผึ้ง
- บทประพันธ์ อุปถัมภ์ กองแก้ว
- บทโทรทัศน์ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ - ภูมิภักดิ์
- กำกับการแสดง ภวัต พนังคศิริ
- ควบคุมการดำเนินงาน บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น
- ออกอากาศ ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- เริ่มออกอากาศ วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 [9]
- สิ้นสุดออกอากาศ วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 (รวม 15 ตอน)
นักแสดงนำ
นักแสดง | ตัวละคร |
---|---|
ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ | พ่อเลี้ยงปัทม์ ปัทมกุล |
พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ | รจนาไฉน วิชนี (เพื่อน) |
วริษฐ์ ทิพโกมุท | ประวุฒิ ไตรพงศ์รัชตะ |
อภิญญา สกุลเจริญสุข | โรมฤทัย วิชนี (พบ) |
พิษณุ นิ่มสกุล | พ่อเลี้ยงพูนทวี |
อภิษฎา เครือคงคา | อุรารัตน์ เจียรกุล |
สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล | ปลัดวราห์ |
นิรุตติ์ ศิริจรรยา | พ่อเลี้ยงเจง |
สาวิตรี สามิภักดิ์ | เปรม ปัทมกุล |
ภัสสร บุณยเกียรติ | ลำเภา วิชนี |
สุชาดา พงษ์วิไล | นพรัตน์ วิชนี |
พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา | ประยงค์ |
บรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติ | ชิ |
เฟี้ยว์ฟ้าว สุดสวิงริงโก้ | นงนุช |
ปีเตอร์ หลุยส์ ไมอ็อคชิ | หน่อเอ |
ปาจรีย์ ณ นคร | จันทร์เจ้า |
นภัสดล เกษศิริ | ศักดิ์ |
ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ (รับเชิญ) | แสงจันทร์ |
สุปราณี เจริญผล (รับเชิญ) | แม่ของประวุฒิ |
ด.ญ.ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ (รับเชิญ) | รจนาไฉน วิชนี (เพื่อน) (ตอนเด็ก) |
ด.ญ.กุลฑีรา ยอดช่าง (รับเชิญ) | โรมฤทัย วิชนี (พบ) (ตอนเด็ก) |
เพลงประกอบละคร
- เพลง คนที่ร้ายคนที่รัก - ขับร้อง : ธีรนัยน์ ณ หนองคาย คำร้อง-ทำนอง : วิเชียร ตันติพิมลพันธ์
- เพลง รักในละคร - ขับร้อง : ธนชัย อุชชิน คำร้อง-ทำนอง : จิม พจนารถ
- เพลง หนี้หัวใจ - ขับร้อง : มิณฑิตา วัฒนกุล คำร้อง-ทำนอง : วิเชียร ตันติพิมลพันธ์
- เพลง ไกลแค่ไหนคือใกล้ (Special Version) - ขับร้อง : เก็ตสึโนวา คำร้อง-ทำนอง : ปณต คุณประเสริฐ
อ้างอิง
- ↑ "นิยายมัจจุราชสีน้ำผึ้ง". www.thairath.co.th.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.
- ↑ ภาพยนตร์ มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2517)
- ↑ ภาพยนตร์ มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2525)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ละคร มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2523) ออกอากาศทางทีวีช่อง 5 สนามเป้า
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-17.
- ↑ "ละครโทรทัศน์ มัจจุราชสีน้ำผึ้ง พ.ศ. 2556 : Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-09.