ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ
ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ จูอิจิอิ | |
---|---|
中曽根康弘 | |
ภาพถ่ายทางการใน ค.ศ. 1982 | |
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิโชวะ |
รอง | ชิง คาเนมารุ |
ก่อนหน้า | เซ็นโก ซูซูกิ |
ถัดไป | โนโบรุ ทาเกชิตะ |
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1987 | |
รองประธานาธิบดี | ซูซูมุ นิไกโด |
เลขาธิการ | ซูซูมุ นิไกโด โรกูซูเกะ ทานากะ ชิง คาเนมารุ โนโบรุ ทาเกชิตะ ชินตาโร อาเบะ |
ก่อนหน้า | เซ็นโก ซูซูกิ |
ถัดไป | โนโบรุ ทาเกชิตะ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 26 เมษายน ค.ศ. 1947 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | |
เขตเลือกตั้ง | กุมมะ เขต 3 (1947–1996) คันโตเหนือ PR (1996–2004) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 ทากาซากิ จังหวัดกุมมะ จักรวรรดิญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | (101 ปี)
พรรคการเมือง | พรรคเสรีประชาธิปไตย |
คู่สมรส | สึตาโกะ นากาโซเนะ (สมรส 1945; เสียชีวิต 2012) |
บุตร | ฮิโรฟูมิ นากาโซเนะ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | จักรวรรดิญี่ปุ่น |
สังกัด | กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น |
ประจำการ | 1941–1945 |
ยศ | นาวาตรี (ในฐานะ Naval Paymaster) |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ (ญี่ปุ่น: 中曽根 康弘; โรมาจิ: Nakasone Yasuhiro; 27 พฤษภาคม 1918 – 29 พฤศจิกายน 2019) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1982 ถึง 1987 เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 50 ปี นโยบายทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักดีที่สุดคือการผลักดันการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชนของบริษัทภาครัฐ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เข้มงวดและสนับสนุนสหรัฐ
ชีวิตช่วงต้น
นากาโซเนะเกิดที่ทากาซากิ จังหวัดกุมมะทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1918[1][2] โดยเป็นบุตรคนที่สองของนากาโซเนะ มัตสึโงโระที่ 2 พ่อค้าไม้ กับนากามูระ ยูกุ เขามีพี่น้อง 5 คน ได้แก่ พี่ชายชื่อคิจิตาโร พี่สาวชื่อโชโกะ น้องชายชื่อเรียวซูเกะ และน้องชายกับน้องสาวที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก[3] ครอบครัวนากาโซเนะมาจากชนชั้นซามูไรในยุคเอโดะ แลแะอ้างว่าสืบเชื้อสายโดยตรงจากตระกูลมินาโมโตะผ่านมินาโมโตะ โนะ โยชิมิตสึผู้มีชื่อเสียง และผ่านมินาโมโนะ โนะ โยชิกิโยะ บุตรของเขา (เสียชีวิต ค.ศ. 1149) ตามบันทึกของครอบครัว สึนาโยชิ (ถูกสังหารใน ค.ศ. 1417) เจ้าบริวารของตระกูลทาเกดะและลูกหลานรุ่นที่สิบของโยชิกิโยะ ใช้ชื่อนากาโซเนะ จูโระและถูกฆ่าในยุทธการที่ซางามิงาวะ[4] เมื่อประมาณ ค.ศ. 1590 ซามูไรนากาโซเนะ โซเอมง มิตสึนางะ เข้าอาศัยที่เมืองซาโตมิมูระ ที่แคว้นโคซูเกะ ลูกหลานของเขากลายเป็นพ่อค้าผ้าไหมและนายหน้ารับจำนำ พ่อของนากาโซเนะ เดิมมีชื่อเกิดว่านากาโซเนะ คานิจิ ตั้งรกรากที่เมืองทากาซากิใน ค.ศ. 1912 และก่อตั้งธุรกิจไม้และโรงเลื่อยไม้ ซึ่งประสบความสำเร็จจากการก่อสร้างที่เฟื่องฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 1[4]
ชีวิตส่วนตัวและเสียชีวิต
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 นากาโซเนะแต่งงานกับสึตาโกะ นากาโซเนะ (30 ตุลาคม ค.ศ. 1921 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012)[5][6][7][8] ฮิโรฟูมิ นากาโซเนะ บุตรของนากาโซเนะ ก็เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[9] ยาซูตากะ นากาโซเนะ [jp] หลานชายของเขา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น[10]
นากาโซเนะเสียชีวิตที่โตเกียวในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ด้วยอายุ 101 ปี 186 วัน[11][12] นากาโซเนะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุมากที่สุดอันดับ 2 เป็นรองเพียงนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ ผู้มีชีวิตถึง 102 ปี 48 วัน[13]
เกียรติยศ
ในประเทศ
ต่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ Lentz, Harris M. (4 February 2014). Heads of States and Governments Since 1945. Routledge. p. 464. ISBN 978-1-134-26490-2.
- ↑ Fackler, Martin (29 January 2010). "Japan's Elder Statesman Is Silent No Longer". The New York Times. p. A11. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
- ↑ The Making of the New Japan. Curzon Press. 6 March 2015. p. 14. ISBN 978-0-7007-1246-5.
- ↑ 4.0 4.1 The Making of the New Japan. Curzon Press. 2015. pp. 1–2. ISBN 978-0-7007-1246-5.
- ↑ IPS Chiyoda-ku; Leslie Connors; Yasuhiro Nakasone (6 December 2012). The Making of the New Japan: Reclaiming the Political Mainstream. ISBN 9781136116506. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ 中曽根弘文 公式ブログ/中曽根蔦子との別れ - GREE. Gree.jp. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ 誕生日データベース. Tisen.jp. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ 朝日新聞デジタル:中曽根蔦子さん死去 康弘元首相の妻 - おくやみ・訃報. Asahi.com. 7 November 2012. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ "Nakasone Hirofumi" 中曽根 弘文. jimin.jp. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
- ↑ "LDP Members NAKASONE Yasutaka". jimin.jp. สืบค้นเมื่อ 11 July 2023.
- ↑ "Ex-Japanese Prime Minister Yasuhiro Nakasone dies at 101". Kyodo News+. English.kyodonews.net. 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ Norimitsu Onishi (28 November 2019). "Yasuhiro Nakasone, Assertive Prime Minister of Japan, Dies at 101". New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 November 2019.
- ↑ "Ex-Japan PM Nakasone to turn 100 on May 27". Mainichi Daily News. 26 May 2018.
- ↑ จากบทความในวิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น[การอ้างอิงวกเวียน]
- ↑ 15.0 15.1 "故中曽根元首相に従一位 最高勲章贈る". The Nikkei. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ 䝪䞊䜲䝇䜹䜴䝖日本連盟 きじ章受章者 [Recipient of the Golden Pheasant Award of the Scout Association of Japan] (PDF). Reinanzaka Scout Club (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-11.
ข้อมูล
- Robert Harvey, The Undefeated: The Rise, Fall and Rise of Greater Japan (London: Macmillan, 1994).
- Karel van Wolferen, The Enigma of Japanese Power: People and Politics in a Stateless Nation (New York: Vintage, 1990).
- The Making of the New Japan. Curzon Press. 6 March 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
อ่านเพิ่ม
ข้อมูลทุติยภูมิ
- Hatta, Tatsuo. "The Nakasone-Takeshita tax reform: a critical evaluation". American Economic Review 82.2 (1992): 231–236. JSTOR 2117406.
- Hebbert, Michael, and Norihiro Nakai. "Deregulation of Japanese planning in the Nakasone era". Town Planning Review 59.4 (1988): 383.
- Hood, Christopher P. (2001). Japanese Education Reform: Nakasone's Legacy. London: Routledge. ISBN 0-415-23283-X.
- Muramatsu, Michio. "In search of national identity: The politics and policies of the Nakasone administration". Journal of Japanese Studies 13.2 (1987): 307–342. JSTOR 132472.
- Pharr, Susan J. "Japan in 1985: The Nakasone Era Peaks". Asian Survey 26.1 (1986): 54–65. JSTOR 2644093.
- Pyle, Kenneth B. "In pursuit of a grand design: Nakasone betwixt the past and the future". Journal of Japanese Studies 13.2 (1987): 243–270. JSTOR 132470.
- Hofmann, Reto. "The Conservative Imaginary: Moral Re-armament and the Internationalism of the Japanese Right, 1945–1962," Japan Forum, (2021) 33:1, 77-102, DOI:10.1080/09555803.2019.1646785
- Thayer, Nathaniel B. "Japan in 1984: the Nakasone Era continues". Asian Survey 25.1 (1985): 51–64. JSTOR 2644056.
ข้อมูลปฐมภูมิ
- Carter, Jimmy, and Yasuhiro Nakasone. "Ensuring alliance in an unsure world: The strengthening of US‐Japan partnership in the 1990s". Washington Quarterly 15.1 (1992): 43–56.
- Nakasone, Yasuhiro. "Reflections on Japan's past". Asia‐Pacific Review 2.2 (1995): 53–71.
- Nakasone, Yasuhiro. "Pitchers and catchers: Politicians, bureaucrats, and policy‐making in Japan". Asia‐Pacific Review 2.1 (1995): 5–14.
- Nakasone, Yasuhiro. "Japan and the China Problem: A Liberal-Democratic View". Japan Quarterly 8.3 (1961): 266–273.