ยุคหินญี่ปุ่น
ยุคหินญี่ปุ่น | |||
---|---|---|---|
35,000 – 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |||
ญี่ปุ่นช่วงยุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้ายในช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลาย ประมาณ 20,000 ปีที่แล้ว | |||
สถานที่ | ญี่ปุ่น | ||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น |
---|
|
ยุคหินญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 旧石器時代; โรมาจิ: kyūsekki jidai) เป็นช่วงระยะการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในญี่ปุ่นก่อนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผา โดยทั่วไปอยู่ในช่วงก่อน 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] ปีที่เริ่มต้นทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 40,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] ถึงแม้ว่าการมีอยู่ของมนุษย์ก่อน 35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยังเป็นที่ถกเถียง โดยมีการตั้งคำถามถึงความถูกต้องของสิ่งประดิษฐ์ที่สนับสนุนการมีอยู่ของมนุษย์บนหมู่เกาะในช่วงก่อน 35,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3] ยุคสมัยนี้ขยายไปจนถึงจุดเริ่มต้นยุคโจมง หรือประมาณ 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4]
กระดูกมนุษย์ช่วงแรกสุดถูกค้นพบที่นครฮามามัตสึ จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งมีการตรวจหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีที่ประมาณ 18,000–14,000 ปีที่แล้ว
โบราณคดี
การศึกษาในยุคหินของญี่ปุ่นยังไม่เริ่มต้นจนกระทั่งไม่นานมานี้ สถานที่ยุคหินเก่าแห่งแรกยังไม่ถูกค้นพบจนกระทั่ง ค.ศ. 1946 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[1] เนื่องจากสมมติฐานก่อนหน้าที่ว่ามนุษย์ยังไม่อาศํยอยู่ที่ญี่ปุ่นก่อนยุคโจมง การขุดค้นมักหยุดที่ช่วงต้นของโจมง (14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และไม่มีการดำเนินการต่อ แต่นับตั้งแต่การค้นพบสถานที่ยุคหินเก่าแห่งแรกโดยทาดาฮิโระ ไอซาวะ ทำให้มีการค้นพบสถานที่ในยุคหินประมาณ 5,000 แห่ง บางแห่งอยู่ในโบราณสถานยุคโจมง และบางส่วนมีอายุถึงสมัยไพลสโตซีน
การหลอกลวงทางโบราณคดี
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. p. 1186. ISBN 406205938X.
- ↑ Hoshino Iseki Museum, Tochigi Pref.
- ↑ Prehistoric Archaeological Periods in Japan, Charles T. Keally
- ↑ [1]"Ancient Jomon of Japan", Habu Jinko, Cambridge Press, 2004 [https://web.archive.org/web/20070827214726/http://www.jomon.or.jp/ebulletin11.html เก็บถาวร 2007-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
- The History and Geography of Human Genes, Cavalli-Sforza, Princeton University Press, ISBN 0-691-08750-4
- Ainu:Spirit of a Northern People, National Museum of Natural History, Smithsonian Institution, ISBN 0-9673429-0-2
- Shoh Yamada (2002). Harvard Asia Quarterly "Politics and Personality: Japan's Worst Archaeology Scandal", Volume VI, No. 3. Summer