ยุทธการที่อาเคิน
ยุทธการที่อาเคิน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
พลทหารอเมริกันสองนายที่ใช้ปืนกลเอ็ม1919 บราวนิงในปฏิบัติหน้าที่ในการต่อกรกับฝ่ายป้องกันของเยอรมันในถนนของเมืองอาเคิน เมื่อวันที่ 15 ตุลามคม ค.ศ. 1944 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Courtney Hodges (US First Army) Clarence R. Huebner (1st Infantry Division) Leland S. Hobbs (30th Infantry Division) | Gerhard Wilck | ||||||
กำลัง | |||||||
100,000 soldiers |
13,000 soldiers 5,000 Volkssturm | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
5,000+ casualties[1] 2,000 killed[2] |
5,000+ killed or wounded, 5,600 prisoners[1] |
ยุทธการที่อาเคิน เป็นการสู้รบที่สำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการต่อสู้รบระหว่างกองทัพอเมริกันและกองทัพเยอรมันทั้งในและบริเวณรอบๆของเมืองอาเคิน, เยอรมนี ระหว่างวันที่ 2-21 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เมืองแห่งนี้ได้ถูกรวมเข้ากับแนวซีคฟรีท, เครือข่ายการป้องกันหลักบนชายแดนด้านตะวันตกของเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรได้คาดหวังว่าจะเข้ายึดอย่างรวดเร็วและรุกเข้าสู่ลุ่มน้ำรูร์(Ruhr)ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม แม้ว่าประชากรพลเรือนของเมืองอาเคินส่วนใหญ่จะถูกอพยพออกไปก่อนการสู้รบจะเริ่มต้นขึ้น ส่วนมากของเมืองได้ถูกทำลายและทั้งสองฝ่ายต่างได้สูญเสียอย่างหนัก มันเป็นหนึ่งในการสู้รบภายในเมืองขนาดใหญ่ที่สุดที่ต่อสู้รบโดยกองทัพสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นเมืองแห่งแรกบนแผ่นดินเยอรมนีที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร การสู้รบได้ยุติลงด้วยฝ่ายเยอรมันยอมจำนน แต่การป้องกันอย่างเหนียวแน่นของพวกเขาได้ขัดขวางแผนการของฝ่ายสัมพันธมิตรสำหรับการรุกเข้าสู่เยอรมนี[3]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Ambrose (1997), p. 151
- ↑ Lindale, Paul. "The WWII 300th Combat Engineers". www.300thcombatengineersinwwii.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.
- ↑ Video: Allies Set For Offensive. Universal Newsreel. 1944. สืบค้นเมื่อ 21 February 2012.