ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ
ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น | |||||||
ภาพวาด พลเรือเอกโทโงแปรธง Z บนสะพานเดินเรือของเรือธง มิกาซะ ก่อนการปะทะ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จักรวรรดิญี่ปุ่น | จักรวรรดิรัสเซีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
โทโง เฮฮาจิโร คามิมูระ ฮิโกโนโจ เดวะ ชิเงโต |
ซีโนวี โรซเดสท์เวนสกี (เชลย) นิโคไล เนโบกาตอฟ (เชลย) ออสการ์ เอ็นกวิสท์ | ||||||
กำลัง | |||||||
ทั้งหมด: 89 ลำ 4 เรือประจันบาน 27 เรือลาดตระเวน 21 เรือพิฆาต 37 เรือตอร์ปิโดเสริมอาวุธ |
ทั้งหมด: 28 ลำ 8 เรือประจัญบาน 3 เรือประจัญบานชายฝั่ง 8 เรือลาดตระเวน 9 เรือพิฆาต | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
117 เสียชีวิต 583 บาดเจ็บ 3 เรือตอร์ปิโดอับปาง |
4,380 เสียชีวิต 5,917 เชลย 21 เรือรบอับปาง 7 เรือรบถูกยึด 6 เรือรบโดนปลดอาวุธ |
ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ (รัสเซีย: Цусимское сражение, Tsusimskoye srazheniye), หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธนาวีทะเลญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本海海戦, นิฮงไก-ไกเซ็ง) เป็นการรบทางทะเลครั้งสุดท้ายระหว่างกองเรือของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น โดยที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถมีชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือกองเรือรัสเซีย นับว่าเป็นยุทธนาวีหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สร้างความอับยศแก่กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่ง และยังเป็นยุทธนาวีที่มีการนำระบบวิทยุโทรเลขมาใช้ในการรบทางทะเลเป็นครั้งแรก
บทนำ
จักรวรรดิรัสเซียที่ต้องทำสงครามกับญี่ปุ่นอยู่แรมปี และตลอดมารัฐบาลแห่งพระเจ้าซาร์ที่กรุงมอสโก ต้องคอยรับแต่ข่าวการรบที่ฝ่ายตนเองเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำอยู่เสมอๆ ในที่สุด ตุลาคม ค.ศ. 1904 จักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงส่งกองเรือบอลติกที่ประจำอยู่ที่ยุโรปมาสนับสนุนกองเรือตะวันออก กองเรือบอลติก (หรือ กองเรือแปซิฟิกที่ 2) อยู่ภายใต้การบัญชาการของ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี
ด้วยระยะทางกว่า 18,000 ไมล์ ทำให้กองเรือรัสเซีย อยู่ในสภาพที่อ่อนด้อยเกินกว่าจะต่อสู้ และกองเรือบอลติกนั้น มีเพียงเรือรบใหม่ ชั้น บอร์โอดิโน (Borodino) อยู่เพียงแค่ 4 ลำ ในขณะที่เรือรบที่เหลือทั้งหมดเป็นเรือที่มีการบำรุงรักษาไม่ดีพอ การเดินทางที่ยาวนาน ตลอดจนขาดการบำรุงรักษา ทำให้กองเรือรัสเซียพบกับปัญหามากมาย ซึ่งส่งผลให้เรือรบรัสเซียไม่สามารถแล่นได้อย่างเต็มความเร็ว ในขณะที่เรือรบของญี่ปุ่น สามารถแล่นได้ถึงความเร็วที่ 15 น็อต (28 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ในขณะที่กองเรือรัสเซีย สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 14 น็อต (26 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ
-
เส้นทางการเดินเรือของกองเรือบอลติก
-
แผนที่แสดงถึงเส้นทางของทั้งสองกองเรือ
กลยุทธ์ของญี่ปุ่น
เรือต่างในกองเรือ ได้แก่ เรือประจัญบาน, เรือลาดตระเวน ตลอดจนเรืออื่นๆ จะถูกแบ่งออกเป็นหมู่เรือย่อยๆ โดยแต่ละหมู่เรือจะรับคำบัญชาจากเรือธง ในยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ พลเรือเอกโทโง เฮฮาจิโร เป็นผู้บัญชาการกองเรือจากเรือธง มิกาซะ ในขณะที่หมู่เรือต่างๆนั้น จะมีผู้บัญชาการยศนายพลเรือบัญชาการอยู่ และเรือรบแต่ละลำ จะมีนายทหารเรือชั้นนาวาเอก, นาวาโท หรือ นาวาตรี เป็นผู้บัญชาการเรือ ตามแต่ขนาดของเรือ ในกระบวนเรือธงนั้น เรือธงมิกาซะ แล่นนำ และมีเรือรบชิกิชิมะ, ฟุจิ และ อาซาฮิ แล่นตาม
จากข้อมูลของกองเรือข้าศึกที่ได้รับจากหน่วยสอดแนม ทำให้ พลเรือเอกโทโง สามารถจัดวางตำแหน่งเรือต่างๆในกองเรืออย่างเหมาะสมได้ แม้กระทั่งตอนที่กองเรือญี่ปุ่นของกลับฐานทัพ นายพลโทโงก็ยังคงรักษารูปแบบกระบวนเรือไว้เหมือนเดิม โดยการที่กองเรือมีเรือธงมิกะซะ แล่นนำ
ในกระบวนเรือนั้น การเปลี่ยนทิศทางของกระบวนเรือใด ๆ จะยึดเอาเรือที่แล่นนำหน้าเป็นหลัก โดยที่เรือลำอื่น ๆ ที่แล่นตามมา จะต้องแล่นไปในทิศทางตามไปด้วย หากมีเหตุสุดวิสัยที่เรือลำใดลำหนึ่งต้องแล่นออกจากกระบวน เรือที่ตามมาก็จะต้องแล่นไปในทิศทางตามเรือลำนั้น กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธแบบเดียวกับกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน ในยุทธนาวีทราฟัลการ์ แม้ว่าการให้เรือในกองเรือทั้งหมดเลี้ยวพร้อมๆกัน (อาทิ การให้เรือในกองเรือทั้งหมดเลี้ยว 45° พร้อมกัน แทนที่จะให้เรือที่อยู่ข้างหน้าเลี้ยวก่อนและให้เรือที่ลำมาเลี้ยวตาม) อาจจะทำให้กองเรือทั้งหมดแล่นไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น แต่ก็จะทำให้เสียรูปกระบวนเรือ ซึ่งจะทำให้แผนการรบเกิดความสับสน ซึ่งเป็นสิ่งที่นายพลโทโงต้องการหลีกเลี่ยง
เหตุการณ์
ด้วยสภาพของกองเรือที่ย่ำแย่และไม่พร้อมออกรบ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี ต้องการที่จะนำกองเรือเข้าเทียบท่าที่ฐานทัพเรือในวลาดีวอสตอค ให้เร็วที่สุด จึงตัดสินใจเลือกเดินเรือผ่านช่องแคบสึชิมะที่ใกล้กว่า แต่ก็มีความอันตรายกว่า ในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกได้อาศัยช่วงเวลากลางคืนเคลื่อนพลผ่านช่องแคบสึชิมะ คืนนั้นเป็นคืนที่หมอกลงซึ่งเอื้อต่อการพรางตัวของกองเรือรัสเซีย แต่เวลา 02:45 น. เรือลาดตระเวน ชินาโนมารุ ขนาด 6,300 ตันของญี่ปุ่นตรวจพบดวงไฟสามดวงในแนวระนาบ จึงได้เข้าไปใกล้เพื่อตรวจสอบ แล้วก็พบว่าเป็นเรือพยาบาลโอเร ของรัสเซีย ซึ่งสามารถแล่นผ่านไปได้ตามกฎหมายสงคราม เรือชินะโนะมะรุตามติดอยู่ห่างๆโดยไม่ให้เรือพยาบาลรับรู้ จนกระทั่งเมื่อเวลา 04:30 เรือชินาโนมารุก็แสดงตนเข้าหาเรือพยาบาล เมื่อเรือโอเรเห็นเรือชินาโนมารุ ก็เข้าใจผิดว่านั่นคือเรือรบลำอื่นของรัสเซีย จึงส่งสัญญาณเพื่อยืนยันไปยังเรือชินะโนะมะรุ ทำให้ทราบว่ามีเรือลำอื่นของรัสเซียอยู่ใกล้ๆ เรือชินะโนะมะรุรีบส่องไฟดูโดยรอบและพบเงาเรือรัสเซียนับสิบลำในสายหมอก เรือชินาโนมารุจึงรีบวิทยุแจ้งไปยังพลเรือเอกโทโงในเวลา 04:55 น. ว่าพบกองเรือรัสเซีย โอกาสของกองเรือรัสเซียที่จะไปถึงวลาดีวอสตอคจึงมลายหายไปในทันใด
ก่อนปะทะ
เวลา 06:34 น. ก่อนที่กองเรือผสมของพลเรือเอกโทโงจะออกจากฐานทัพ นายพลโทโงได้ส่งโทรเลขแจ้งไปยังเสนาบดีกองทัพเรือที่กรุงโตเกียวว่า
ตามที่ได้มีการแจ้งเตือนการตรวจพบกองเรือข้าศึกแล้วนั้น บัดนี้ กองเรือผสมจะเริ่มปฏิบัติการ โจมตีและทำลายเป้าหมายในทันที วันนี้สภาพอากาศดีแต่มีคลื่นสูง[2]
ประโยคสุดท้ายของโทรเลข "...วันนี้สภาพอากาศดีแต่มีคลื่นสูง" เป็นการเปรยถ่ายทอดความรู้สึกของนายพลโทโง ที่ว่า ผลการรบในวันนี้คงจะเป็นที่ยินดี แต่ถึงอย่างไร การออกรบย่อมมีความเสี่ยง
ในขณะที่ที่นายพลโทโงกับเรือธง มิกาซะ ของเขา กำลังนำกองเรือแห่งองค์จักรพรรดิออกสู่ทะเลเพื่อเผชิญหน้ากองเรือรัสเซีย ขณะเดียวกัน กองเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นที่สอดแนมอยู่ ได้รายงานสถานการณ์ทางวิทยุแทบจะทุกนาที ถึงการวางตำแหน่งเรือและข้อมูลต่างๆของกองเรือรัสเซีย ขณะนั้นมีมีหมอกลงทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง มีผลต่อการส่งสัญญาณธงและสัญญาณไฟสื่อสารระหว่างเรือเป็นไปอย่างลำบากขึ้น กองเรือญี่ปุ่นที่มีระบบวิทยุในการสื่อสาร จึงมีความได้เปรียบในเรื่องนี้ ตามบันทึกของพลเรือเอกโทโงที่ว่า
แม้ว่าจะมีหมอกหนาปกคลุมท้องทะเลซึ่งทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดเกินกว่าห้าไมล์ แต่เราก็ทราบถึงสภาวะทั้งหมดของกองเรือศัตรูที่อยู่ห่างออกไป 30 หรือ 40 ไมล์อย่างชัดเจนแล้ว ประหนึ่งว่าพวกเขากำลังถูกเราจับจ้องด้วยสายตามากมาย[3]
เวลา 13:40 น. กองเรือทั้งสองสามารถมองเห็นกันและกัน และต่อมา เวลา 13:55 น. นายพลโทโงได้สั่งให้แปรธง Z ขึ้น เพื่อประกาศแก่กองเรือทั้งหมดว่า:
ชะตากรรมของจักรวรรดิเรา ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของศึกครั้งนี้ ขอให้ทหารทุกนายปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถึงที่สุด[4]
เวลา 14:45 น. นายพลโทโง ได้กระทำการ ตัดกระบวนเรือรูปตัว T กับกองเรือรัสเซีย เพื่อที่กองเรือญี่ปุ่นจะได้สามารถโจมตีด้วยหมู่ปืนรองจากด้านข้างที่มีจำนวนมากกว่า ในขณะที่เรือรัสเซียจะสามารถตอบโต้จากปืนหลักไม่กี่กระบอกที่อยู่หน้าเรือได้เท่านั้น
ดูเพิ่ม
- ยุทธนาวีที่ช่องแคบอื่น ๆ
- ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก
- ยุทธนาวีที่ช่องแคบมะละกา
อ้างอิง
- ↑ 100 Battles, Decisive Battles that Shaped the World, Dougherty, Martin, J., Parragon, p.144-45
- ↑ Translated by Andrew Cobbing in Shiba Ryotaro, Clouds Above the Hill, volume 4, p. 212. Routledge, 2013.
- ↑ Admiral Togo’s report on the Battle of Tsushima, as published by the Japanese Imperial Naval Headquarters Staff, Sept. 1905; http://www.russojapanesewar.com/togo-aar3.html เก็บถาวร 2010-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Koenig, Epic Sea Battles, p. 141.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วีดีทัศน์ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ จากภาพยนตร์เรื่อง Cloud above the Slope Youtube
- History.com— This Day In History: The Battle of Tsushima Strait
- Battlefleet 1900—Free naval wargame rules covering the pre-dreadnought era, including the Russo-Japanese War.
- Russojapanesewar.com—Contains a complete order of battle of both fleets. It also contains Admiral Tōgō's post-battle report and the account of Russian ensign Sememov.