ยูนิคอร์น (การเงิน)

ในทางธุรกิจ ศัพท์ ยูนิคอร์น (อังกฤษ: unicorn) ใช้กล่าวถึงวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ[1][2] ศัพท์นี้เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2556 หลังจากที่นักลงทุนไอลีน ลี (Aileen Lee) ได้เรียกกลุ่มบริษัทจำนวนน้อยที่ประสบความสำเร็จถึงระดับนั้นโดยเปรียบเทียบกับสัตว์ในตำนานอย่างยูนิคอร์น[3][4]

ในปัจจุบันตามข้อมูลของซีบี อินไซตส์ มียูนิคอร์นมากกว่า 803 แห่ง (ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564)[5] บริษัทยูนิคอร์นขนาดใหญ่มีไบต์แดนซ์ซึ่งดำเนินกิจการติ๊กต็อก, บริษัทสเปซเอ็กซ์ซึ่งดำเนินกิจการอากาศยาน และสไตรป์ซึ่งดำเนินกิจการธุรกรรมทางการเงินเป็นอาทิ[5] ส่วนในประเทศไทยมีกล่าวถึง 4 บริษัท (ณ ปัจจุบัน) ได้แก่

  • แฟลช เอ็กซ์เพรส
  • แอสเซนด์ มันนี่
  • บิทคับ
  • มัลติเวิร์ส เอ็กเปอร์ท[6]

อ้างอิง

  1. Hirst, Scott; Kastiel, Kobi (2019-05-01). "Corporate Governance by Index Exclusion". Boston University Law Review. 99 (3): 1229.
  2. Cristea, Ioana A.; Cahan, Eli M.; Ioannidis, John P. A. (April 2019). "Stealth research: Lack of peer‐reviewed evidence from healthcare unicorns". European Journal of Clinical Investigation (ภาษาอังกฤษ). 49 (4): e13072. doi:10.1111/eci.13072. ISSN 0014-2972. PMID 30690709.
  3. Rodriguez, Salvador (September 3, 2015). "The Real Reason Everyone Calls Billion-Dollar Startups 'Unicorns'". International Business Times. IBT Media Inc. สืบค้นเมื่อ January 3, 2017.
  4. Lee, Aileen (2013). "Welcome To The Unicorn Club: Learning From Billion-Dollar Startups". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015. 39 companies belong to what we call the 'Unicorn Club' (by our definition, U.S.-based software companies started since 2003 and valued at over $1 billion by public or private market investors)... about .07 percent of venture-backed consumer and enterprise software startups
  5. 5.0 5.1 "The Global Unicorn Club". CB Insights (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
  6. "Multiverse Expert" ยูนิคอร์นตัวที่ 4 ของไทย!