รังสีเทราเฮิรตซ์

คลื่นเทราเฮรตซ์อยู่ที่เกือบสุดปลายแถบอินฟราเรด ก่อนเริ่มแถบไมโครเวฟเล็กน้อย

รังสีเทราเฮิรตซ์ (อังกฤษ: terahertz radiation) ในวิชาฟิสิกส์ ประกอบด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถ่ายทอดที่ความถี่ในระดับเทราเฮิรตซ์ ตั้งแต่ 0.3 ถึง 3 เทราเฮิรตซ์ คำนี้เดิมใช้กับ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ระหว่างขอบความถี่สูงของแถบไมโครเวฟ ที่ 300 จิกะเฮิรตซ์ (3×1011 Hz) และขอบความยาวคลื่นยาวของแสงอินฟราเรดไกล 3,000 จิกะเฮิรตซ์ (3×1012 Hz) ในความยาวคลื่น พิสัยนี้ตรงกับอินฟราเรด 0.1 มม. (หรือ 100 ไมโครเมตร) ถึงไมโครเวฟ 1 มม.

เพราะรังสีเทราเฮิรตซ์เริ่มที่ความยาวคลื่นหนึ่งมิลลิเมตรไปจนถึงความยาวคลื่นที่สั้นกว่า บางครั้ง จึงเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า แถบใต้มิลลิเมตร (submillimeter band) และเรียกรังสีของมันว่า คลื่นใต้มิลลิเมตร (submillimeter wave) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาดาราศาสตร์

รังสีเทราเฮิรตซ์ รังสีเทราเฮิรตซ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เทระเฮิรตซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่ 0.3-10 เทระเฮิรตซ์ (1 เทระเฮิรตซ์ เท่ากับ 1012เฮิร์ท) มีสมบัติเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุที่สามารถทะลุผ่านวัสดุต่าง ๆ หลากหลายชนิด เช่น วัตถุเป็นผงคล้ายแป้ง ไวนิล กระดาษ ไขมัน ไม้ พลาสติกหิน เซรามิก หมอก เฆม ควัน แต่วัสดุที่ไม่สามารถทะลุผ่าน ได้แก่ น้ำ และ โลหะต่าง ๆ รังสีเทราเฮิรตซ์เป็นสมบัติเดียวกับรังสีเอกซ์ ข้อแตกต่างจากรังสีเอกซ์ คือ เทระเฮิรตซ์ ไม่ทำอันตรายต่อสิ่งของที่มัน เคลื่อนที่ผ่านด้วยการกระตุ้นด้วยรังสี (irradiation) มีการดูดกลืนปานกลาง ส่วนรังสีเอกซ์ มีอำนาจการทะลุผ่านที่สูงกว่า แรงกว่า ความเข้มที่มากกว่ารังสีเทราเฮิรตซ์ซึ่งปัจบันนี้การพัฒนาเครื่องกำเนิดเทระเฮิรตซ์มีมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาที่ถูกจนสามารถนำมาใช้งานได้อย่างแพร่หลาย

การใช้ประโยชน์จากเทระเฮิรตซ์ มีอยู่หลายด้าน

ทางการแพทย์ ใช้ตรวจสอบความหนาแน่นของเนื้อเยื่อที่อาจกลายเป็นมะเร็ง ตรวจสอบเนื้อเยื่อที่มีไขมันสูงแต่น้ำต่ำ ตรวจวินิจฉัย แพทย์ไม่ต้องกังวลผลกระทบที่มีต่อดีเอ็นเอของคนไข้

ทางการศึกษาประวัติศาสตร์ ใช้ตรวจสอบหลักฐานชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ทางการสื่อสารนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างยานอวกาศกับสถานีบนพื้นโลก หรือระหว่างดาวเทียมกับ ดาวเทียม

ทางการอุตสาหกรรม ใช้ตรวจสอบหีบห่อ บรรจุภัณฑ์ ในอุตสาหกรรม

ทางการรักษาความปลอดภัยใช้ในการตรวจสอบการลักลอบนำสารเสพติด ยาผิดกฎหมายผ่านเข้าหรือออกระหว่างประเทศ ตรวจสอบการลักลอบส่งสารเสพติด หรือ ยาผิดกฎหมายผ่านทางไปรษณีย์ด้วยการบรรจุ ในซองจดหมาย

http://www0.tint.or.th/nkc/nkc53/content/nstkc53-004.html