รังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสุขภาพ
ผลกระทบของรังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีต่อสุขภาพมนุษย์นั้นยังเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจและการศึกษาอยู่ในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทั่วโลก (เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 มีตัวเลขผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ถึง 4.3 พันล้านคน[1]) โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งบางคนเชื่อว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ส่วนระบบดิจิทัลไร้สายอื่น ๆ อย่างเช่น เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล สร้างรังสีแบบที่คล้ายกัน
องค์การอนามัยโลกออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[2] ซึ่งจัดรังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่า "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[3] การศึกษาวิจัยหนึ่งเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตที่ถูกอ้างอิงในรายงานนั้นได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่บ่อยครั้งที่สุดจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองเพิ่มขึ้นถึง 40% (เฉลี่ยที่ได้รับรายงานอยู่ที่ 30 นาทีต่อวัน ติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[4]
การสรุปดังกล่าวตรงกันข้ามกับท่าทีก่อนหน้าที่ไม่คาดว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำให้เกิดมะเร็งหรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่พบหลักฐานชัดเจนในผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ[5][6] และหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับเนื้องอกในสมองและเนื้องอกประสาทหูในสมองนั้นได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับ "จำกัด" เช่นเดียวกับหลักฐานเกี่ยวกับมะเร็งประเภทอื่น ซึ่งได้รับการพิจารณาว่า "ไม่เพียงพอ"[2]
อ้างอิง
- ↑ "Market Data Summary (Q2 2009)". GSM Association. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
- ↑ 2.0 2.1 "World Health Organization/International Agency for Research on Cancer Classifies Radiofrequency Electromagnetic Fields as Possibly Carcinogenic to Humans" (PDF). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ "WHO: Cell phone use can increase possible cancer risk". CNN. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ "World Health Organization: Cell Phones May Cause Cancer". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ "What are the health risks associated with mobile phones and their base stations?". Online Q&A. World Health Organization. 2005-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
- ↑ "Electromagnetic fields and public health: mobile telephones and their base stations". Fact sheet N°193. World Health Organization. June 2000. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)