ศักราชของจีน
ศักราชของจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 年號 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 年号 | ||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | niánhào | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ชื่อปี | ||||||||||||
|
ศักราชของจีน หรือ เหนียนเฮ่า (จีนตัวย่อ: 年号; จีนตัวเต็ม: 年號; พินอิน: niánhào) บ้างก็เรียก รัชศก เป็นตำแหน่งที่ใช้งานโดยหลายราชวงศ์และการปกครองในจีนสมัยจักรวรรดิ เพื่อจุดประสงค์ในการระบุปีและหมายเลขปี เริ่มใช้ครั้งแรกในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่เมื่อ 140 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2] และระบบนี้ยังคงเป็นวิธีระบุปีและหมายเลขอย่างเป็นทางการจนกระทั่งสถาปนาสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1912 ที่แทนที่ระบบศักราชของจีนด้วยปฏิทินสาธารณรัฐจีน หน่วยการเมืองอื่น ๆ ในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เช่น เกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่น ก็รับแนวคิดศักราชของจีน อันเป็นผลจากอิทธิพลทางการเมือง-วัฒนธรรมของจีน[2][3][4]
รายละเอียด
ศักราชของจีนเป็นตำแหน่งที่ใช้ในการระบุและนับจำนวนปีในจีนสมัยจักรวรรดิ ศักราชมีต้นกำเนิดจากคำขวัญหรือคติพจน์ที่กษัตริย์ที่ครองราชย์ทรงเลือก และส่วนใหญ่สะท้อนภูมิทัศน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และ/หรือสังคมในขณะนั้น เช่น จักรพรรดิฮั่นอู่ประกาศศักราชแรกของจีนเป็น เจี้ยนหยวน (建元; แปล. "สถาปนาต้นกำเนิด") สะท้อนถึงสถานะชื่อศักราชแรก เช่นเดียวกันกับศักราช เจี้ยนจงจิ้งกั๋ว (建中靖國; แปล. "สถาปนาประเทศอันเป็นกลางและสงบสุข") ที่ใช้งานโดยจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง เป็นการบ่งบอกถึงอุดมคติของฮุ่ยจงต่อการกลั่นกรองการแข่งขันเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองและสังคมระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มก้าวหน้า
ศักราชของจีนส่วนใหญ่มีอักษรจีน 2 ตัว แม้ว่าจะมีศักราชที่มีอักษรจีนถึง 3, 4 และ 6 ตัวอยู่ด้วย ตัวอย่างศักราชที่ใช้อักษรจีนมากกว่า 2 ตัว ได้แก่ ฉื่อเจี้ยนกั๋ว (始建國; แปล. "the beginning of establishing a country") แห่งราชวงศ์ซิน เทียนเซ่อว่านซุ่ย (天冊萬歲; แปล. "Heaven-conferred longevity") แห่งราชวงศ์อู่โจว และ เทียนซื่อหลี่เชิ่งกั๋วชิ่ง (天賜禮盛國慶; แปล. "Heaven-bestowed ritualistic richness, nationally celebrated") แห่งราชวงศ์เซี่ยตะวันตก
ศักราชเป็นสัญลักษณ์แห่งความถูกต้องและความชอบธรรมทางการเมือง ดังนั้น เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ กษัตริย์/จักรพรรดิจีนส่วนใหญ่จะประกาศศักราชใหม่ ผู้นำกบฏที่พยายามสร้างรัฐเอกราชและความชอบธรรมก็ประกาศชื่อศักราชของตนเองด้วย รัฐบริวารและรัฐบรรณาการจีนสมัยจักรวรรดิส่วนใหญ่จะรับศักราชของกษัตริน์/จักรพรรดิจีนที่ครองราชย์อย่างเป็นทางการ ถือเป็นสัญลักษณ์การอยู่ใต้บังคับบัญชา—การปฏิบัตินี้รู้จักกันในชื่อ เฟิ่งเจิงชั่ว (奉正朔; แปล. "การตามเดือนแรกของปีและวันแรกของเดือน")[5][6] เช่น ระบอบการปกครองของเกาหลีอย่างชิลลา, โครยอ และโชซ็อนรับศักราชของจีนหลายครั้งด้วยจุดประสงค์ทั้งในประเทศและการทูต
ประวัติ
จักรพรรดิฮั่นอู่ถือเป็นผู้ปกครององค์แรกที่ประกาศใช้ชื่อศักราช[1][2] ก่อนหน้าการใช้งานศักราชแรกเมื่อ 140 ปีก่อน ค.ศ. กษัตริย์จีนใช้ระบบ เฉียนหยวน (前元), จงหยวน (中元) และ โฮ่วหยวน (後元) ในการระบุและนับจำนวนปี
ก่อนหน้าราชวงศ์หมิง เป็นเรื่องทั่วไปที่ผู้ปกครองจีนเปลี่ยนชื่อศักราชในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้มีศักราชมากกว่าหนึ่งชื่อสำหรับผู้ปกครองหนึ่งพระองค์ เช่น จักรพรรดิฮั่นเซฺวียนมีศักราชในรัชสมัยของพระองค์ถึง 7 ชื่อ
จักรพรรดิหงอู่เริ่มต้นธรรมเนียมหนึ่งศักราชต่อหนึ่งกษัตริย์/จักรพรรดิ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อี๋ชื่ออี้หยวนจื้อ (一世一元制; แปล. "ระบบหนึ่งชื่อศักราชต่อรัชกาล")[7] ทำให้นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่มักเรียกจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงถึงชิงตามชื่อศักราช ผู้ที่อยู่ในข้อยกเว้นธรรมเนียม "หนึ่งชื่อศักราช" ได้แก่ จู ฉีเจิ้นที่มีสองศักราชในสองรัชกาลที่แตกต่างกัน หฺวัง ไท่จี๋ที่ใช้สองศักราชเพื่อสะท้องตำแหน่งข่านแห่งราชวงศ์จินยุคหลัง และภายหลังในฐานะจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง
เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1912 ศักราชของจีนจึงแทนที่ด้วยปฏิทินหมินกั๋วซึ่งยังคงใช้งานในไต้หวัน เผิงหู จินเหมิน และหมู่เกาะหมาจู่ ปฏิทินหมิงกั๋วอิงจากระบบชื่อศักราชของจีนสมัยจักรวรรดิ แม้ว่าจะไม่ใช่ชื่อศักราชก็ตาม
แนวคิดศักราชของจีนเริ่มมีการใช้งานในเกาหลีและเวียดนามตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 และญี่ปุ่นนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7[2][3][4] ประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้งานชื่อศักราชในปัจจุบัน[4]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Lü, Zongli (2003). Power of the words: Chen prophecy in Chinese politics, AD 265-618. Peter Lang. ISBN 9783906769561.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Sogner, Sølvi (2001). Making Sense of Global History: The 19th International Congress of the Historical Sciences, Oslo 2000, Commemorative Volume. Universitetsforlaget. ISBN 9788215001067.
- ↑ 3.0 3.1 "International Congress of Historical Sciences". 19. 2000. ISBN 9788299561419. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 "Ancient tradition carries forward with Japan's new era". สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
- ↑ Yang, Haitao (2017). 郑和与海. Beijing Book Co. ISBN 9787541598883.
- ↑ Kang, Etsuko Hae-Jin (2016). Diplomacy and Ideology in Japanese-Korean Relations: From the Fifteenth to the Eighteenth Century. Springer. ISBN 9780230376939.
- ↑ "中國學術". 6 (4). 2005. ISBN 9787100051965. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)