รัฐสภาออสเตรเลีย
รัฐสภาออสเตรเลีย Parliament of Australia | |
---|---|
สมัยที่ 46 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
องค์ประกอบ | วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร |
ประวัติ | |
ก่อตั้ง | 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 |
ผู้บริหาร | |
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ตั้งแต่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 | |
เดวิด เฮอร์ลีย์ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ต.ศ. 2019 | |
ประธานวุฒิสภา | สกอตต์ ไรอัน, เสรีนิยม ตั้งแต่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 |
ประธานสภาผู้แทนราษฎร | โทนี สมิธ, เสรีนิยม ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2015 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 227 คน (ส.ส. 151 คน และส.ว. 76 คน) |
กลุ่มการเมืองใน สภาผู้แทนราษฎร | ฝ่ายรัฐบาล (76)
พรรคร่วมรัฐบาล |
กลุ่มการเมืองใน วุฒิสภา | ฝ่ายรัฐบาล (36) พรรคร่วมรัฐบาล |
การเลือกตั้ง | |
แบบหลายรอบในทันที | |
แบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้ | |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 |
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 (ครึ่งหนึ่ง) |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้า | ก่อน 3 กันยายน ค.ศ. 2022 |
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า | ก่อน 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 |
การกำหนดเขตเลือกตั้ง | จัดทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งของแต่รัฐ |
ที่ประชุม | |
ที่ทำการรัฐสภา แคนเบอร์รา, ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี | |
เว็บไซต์ | |
aph |
รัฐสภาออสเตรเลีย (อังกฤษ: Parliament of Australia) ชื่อทางการว่า รัฐสภากลาง (อังกฤษ: Federal Parliament) หรือเรียกอีกได้ว่า รัฐสภาเครือจักรภพ (อังกฤษ: Commonwealth Parliament) คือสภานิติบัญญัติของเครือรัฐออสเตรเลีย โดยมีประกอบสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (โดยผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ฯ) วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร[1][2] โดยสภาทั้งสองนั้นมีที่มาโดยการเลือกตั้งโดยนำแบบมาจากรัฐสภาสหรัฐ วุฒิสภานั้นเป็นตัวแทนของรัฐและดินแดนในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเลือกตั้งแบ่งตามจำนวนประชากร ถึงแม้ว่าจะมีสองสภาแต่ยังคงมีการรวมอำนาจบางประการอันเป็นมรดกของระบบเวสต์มินสเตอร์[3]
สภาสูง ได้แก่ วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 76 คน โดยมาจากรัฐๆ ละ 12 คน และดินแดนทั้งสองดินแดนละ 2 คน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งรวมถึง เกาะคริสต์มาสกับหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี ซึ่งรวมถึงเกาะนอร์ฟอล์ก และเจอร์วิสเบย์เทร์ริทอรี สมาชิกวุฒิสภามีที่มาโดยการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ของสภาที่มีสมาชิกพรรคขนาดน้อยใหญ่ที่หลากหลาย[4] พรรคการเมืองในรัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลนั้นไม่เคยได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 (ยกเว้นปีค.ศ. 2005 และค.ศ. 2007) และโดยปกตินั้นจะต้องเจรจาต่อรองกับพรรคการเมืองและนักการเมืองอิสระจำนวนมากเพื่อที่จะให้ผ่านร่างกฎหมายได้[5]
สภาล่าง ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 151 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบหลายรอบในทันทีซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบจัดลำดับความชอบโดยใช้เขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนเพียงคนเดียว[6][7] โดยส่วนใหญ่จะมีเพียงกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่จำนวนสองกลุ่มในสภา ได้แก่ กลุ่มแนวร่วมขวากลาง (ประกอบด้วยพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ และพรรคกลางซ้ายคือพรรคแรงงาน โดยรัฐบาลจะต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้
สภาผู้แทนราษฎรมีวาระคราวละ 3 ปี หรือน้อยกว่าได้ในกรณียุบสภา ในขณะที่วุฒิสภานั้นมีวาระประจำซึ่งมีสมาชิกจำนวน 36 คนครบวาระทุกๆ สามปี (วาระของสมาชิกวุฒิสภาสี่คนจากสองดินแดนนั้นตรงกับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร) ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานั้นมักจะชนกัน ในออสเตรเลียมีกลไกการยุบสภาเพื่อป้องการการติดล็อคของสภาโดยใช้การยุบสภาคู่ (double dissolution) ซึ่งสามารถยุบสภาทั้งหมดรวมถึงวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในกรณีที่วุฒิสภาปฏิเสธการผ่านกฎหมายที่ผ่านการลงมติรับรองโดยสภาผู้แทนราษฎร[8]
หมายเหตุ
- ↑ Including 17 Liberal National Party of Queensland (LNP) MPs who sit in the Liberals party room
- ↑ Including 6 Liberal National Party of Queensland (LNP) MPs who sit in the Nationals party room
- ↑ Current independent MPs: Andrew Wilkie (Clark), Helen Haines (Indi), Zali Steggall (Warringah), Craig Kelly (Hughes)
- ↑ Including four Liberal National Party of Queensland (LNP) senators who sit in the Liberals party room
- ↑ Including two Liberal National Party of Queensland (LNP) senators and one Country Liberal Party (CLP) senator who sit in the Nationals party room
อ้างอิง
- ↑ Constitution of Australia, section 1.
- ↑ Constitution of Australia, section 2.
- ↑ Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian Constitutional Law and Theory: Commentary and Materials (6 ed.). Leichhardt, NSW: Federation P. p. 2. ISBN 978-1-86287-918-8..
- ↑ "Odgers' Australian Senate Practice Fourteenth Edition Chapter 4 – Elections for the Senate". 2017. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
- ↑ Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian constitutional law and theory : commentary and materials (6th ed.). Annandale, NSW: Federation Press. p. 415. ISBN 9781862879188.
- ↑ "House of Representatives Practice, 6th Ed – Chapter 3 – Elections and the electoral system". 2015. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
- ↑ "A Short History of Federal Election Reform in Australia". Australian electoral history. Australian Electoral Commission. 8 June 2007. สืบค้นเมื่อ 1 July 2007.
- ↑ "Odgers' Australian Senate Practice Fourteenth Edition Chapter 21 – Relations with the House of Representatives". 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.