ราชยสภา
ราชยสภา | |
---|---|
ตราแผ่นดินอินเดีย | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาอินเดีย |
จำกัดวาระ | 6 ปี |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | Venkaiah Naidu, รองประธานาธิบดีอินเดีย ตั้งแต่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2017 |
รองประธาน | Harivansh Narayan Singh, , JDU ตั้งแต่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2018 |
เลขาธิการ | Desh Deepak Verma, thāvarcand gahlot ตั้งแต่ 1 กันยายน ค.ศ. 2017 |
ผู้นำฝ่ายรัฐบาล | Thawar Chand Gehlot, , BJP ตั้งแต่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2019 |
รองผู้นำฝ่ายรัฐบาล | Piyush Goyal, , BJP ตั้งแต่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2019 |
ผู้นำฝ่ายค้าน | Ghulam Nabi Azad, , INC ตั้งแต่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2014 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 245 |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล
NDA (115)
ฝ่ายค้าน (126) อื่น ๆ (66)
ว่าง (4)
|
การเลือกตั้ง | |
สมาชิก 233 คนมาจากคะแนนเสียงเดียวโอนได้ (single transferable vote) ของสภานิติบัญญัติระดับรัฐ, สมาชิก 12 คนมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2020 |
การเลือกตั้งครั้งหน้า | พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมราชยสภา, อาคารรัฐสภาอินเดีย, นิวเดลี, อินเดีย, 110 001 | |
เว็บไซต์ | |
rajyasabha | |
รัฐธรรมนูญ | |
รัฐธรรมนูญอินเดีย | |
หมายเหตุ | |
^† รวม 8 คนที่มาจากการเสนอชื่อและเข้าร่วมวิปรัฐบาล |
ราชยสภา (อักษรโรมัน: Rajya Sabha; ฮินดี: राज्यसभा Rājyasabhā) เป็นสภาสูงของรัฐสภาอินเดีย ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน 12 คนในจำนวนนี้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมสงเคราะหศาสตร์ ซึ่งได้รับการคัดสรรโดยประธานาธิบดีอินเดียและได้รับสมญาว่า "สมาชิกคัดสรร" ส่วนสมาชิกที่เหลือจากการเลือกตั้งโดยสภานิติบัญญัติประจำรัฐและดินแดนต่าง ๆ ของประเทศอินเดีย สมาชิกทุกคนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุก ๆ 2 ปี
ราชยสภาดำเนินสมัยประชุมอย่างไม่ขาดสาย และต่างจาก "โลกสภา" หรือสภาล่างของรัฐสภาอินเดีย ที่โลกสภาสามารถถูกยุบได้ แต่จะไม่มีการยุบราชยสภา อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีอินเดียมีอำนาจสั่งระงับสมัยประชุมของราชยสภาและโลกสภาได้ทั้งคู่
ราชยสภาและโลกสภาบริหารอำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน โดยมีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกันในการตรากฎหมายและพิจารณาร่างกฎหมาย (ยกเว้นประเด็นที่เกี่ยวกับงบประมาณ เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของโลกสภามิใช่ราชยสภา) ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ปัญหาดังกล่าวนี้จะได้รับการตัดสินโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาอินเดีย แต่โดยที่ราชยสภามีสมาชิกน้อยกว่าโลกสภาถึงสองเท่า จึงนับว่าโลกสภามีอำนาจมากกว่าในการประชุมร่วมกันดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองที่ประกอบขึ้นมาเป็นรัฐสภาอินเดียมีน้อยครั้งมาก ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐอินเดียจนถึงปัจจุบัน มีการประชุมร่วมเช่นว่านั้นเพียงสามครั้งเท่านั้น
รองประธานาธิบดีอินเดียเป็นประธานราชยสภาโดยตำแหน่ง ส่วนรองประธานราชยสภานั้นเป็นสมาชิกราชยสภาคนหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกด้วยกันเอง และจะทำหน้าที่กำกับการบริหารและการทำงานตามปกติของราชยสภา รวมทั้งทำหน้าที่ประธานการประชุมในวาระเมื่อรองประธานาธิบดี (นายกราชยสภา) ไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ ราชยสภานี้เปิดประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ของไทย
ราชยสภายังทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่รัฐด้วย