รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพและยูโรปาลีก

รายชื่อนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพและยูโรปาลีก
วิลลี ฟาน เดอร์ คูยเลน ชูถ้วยยูฟ่าคัพหลัง เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน เอาชนะ บัสตียา ใน ค.ศ. 1978
ก่อตั้งค.ศ. 1971
ภูมิภาคยูฟ่า (ยุโรป)
จำนวนทีม36 (รอบลีก)
2 (นัดชิงชนะเลิศ)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันประเทศอิตาลี อาตาลันตา
(สมัยที่ 1)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดประเทศสเปน เซบิยา
(7 สมัย)
ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024

ยูฟ่ายูโรปาลีก หรือชื่อเดิม ยูฟ่าคัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีที่จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1971 โดยยูฟ่า[1] รายการนี้ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติที่สำคัญอันดับที่สองสำหรับสโมสรยุโรปรองจากยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สโมสรต่าง ๆ จะผ่านเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกได้จากผลงานในลีกระดับชาติและการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ใน 25 ปีแรกนัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันแบบสองนัด โดยจัดขึ้นที่สนามกีฬาของแต่ละสโมสรที่เข้าร่วม แต่ใน ค.ศ. 1998 อินเตอร์มิลานเอาชนะลัตซีโยได้ในนัดชิงชนะเลิศแบบนัดเดียวนัดแรกของการแข่งขันที่จัดขึ้นที่สนามกีฬากลาง ปาร์กเดแพร็งส์ ในปารีส[2] ทอตนัมฮอตสเปอร์ ชนะเลิศการแข่งขันที่จัดขั้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1972 โดยชนะวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ด้วยผลประตูรวม 3–2[3] มีสิบครั้งในนัดชิงชนะเลิศที่มีทีมจากสมาคมชาติเดียวกันเข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ อิตาลี (1990, 1991, 1995 และ 1998), สเปน (2007 และ 2012), อังกฤษ (1972 และ 2019), เยอรมนี (1980) และโปรตุเกส (2011)

เซบิยา ครองสถิติเป็นผู้ชนะเลิศรายการนี้มากที่สุดที่เจ็ดสมัย นับตั้งแต่ก่อตั้งการแข่งขัน[4] เรอัลมาดริด (ชนะเลิศในปี 1985 และ 1986) และเซบิยา (ชนะเลิศในปี 2006 และ 2007, และ 2014, 2015 และ 2016) เป็นเพียงสองทีมที่สามารถป้องกันแชมป์ไว้ได้ ทีมจากสเปนเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันรายการนี้ถึงสิบสี่ครั้ง มากกว่าประเทศอื่น ๆ[1] ผู้ชนะเลิศสุดท้ายก่อนการแข่งขันจะเปลี่ยนชื่อจากยูฟ่าคัพเป็นยูฟ่ายูโรปาลีก คือ ชัคตาร์ดอแนตสก์ โดยชนะแวร์เดอร์เบรเมิน ด้วยผลประตูรวมหลังต่อเวลาพิเศษ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ 2009[5] ไบฟีกา และมาร์แซย์ เป็นสองทีมที่แพ้ในนัดชนะเลิศมากที่สุดที่สามครั้ง แชมป์ปัจจุบันคือ อาตาลันตา โดยชนะไบเออร์เลเวอร์คูเซินด้วยผลประตูรวม 3–0 ในนัดชิงชนะเลิศ 2024

แม้ว่า อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ จะถือเป็นรายการแข่งขันก่อนหน้านี้ของยูฟ่าคัพ แต่ยูฟ่าไม่ยอมรับแฟส์คัพให้เป็นหนึ่งในการแข่งขันสโมสรอย่างเป็นทางการ ดังนั้นบันทึกของการแข่งขันดังกล่าวจึงไม่ได้รวมอยู่ในรายชื่อ[6]

รายชื่อนัดชิงชนะเลิศ

สัญลักษณ์
ชนะหลังต่อเวลาพิเศษ
* ชนะหลังการดวลลูกโทษ
§ ชนะโดยโกลเดนโกล
# ทีมที่ชนะด้วยประตูทีมเยือน
  • การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศแบบสองนัดจะแสดงตามลำดับที่เล่น
  • ลิงก์ในคอลัมน์ "ผลประตูรวม" จะนำไปสู่บทความเกี่ยวกับนัดชิงชนะเลิศของฤดูกาลดังกล่าว
นัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพและยูโรปาลีก[1][7]
ฤดูกาล ประเทศ ชนะเลิศ ผลประตูรวม รองชนะเลิศ ประเทศ สถานที่ ผู้ชม
แข่งขันสองนัด
1971–72  อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–1 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์  อังกฤษ มอลินิว, วุลเวอร์แฮมป์ตัน, อังกฤษ 45,000
1–1 ไวต์ฮาร์ตเลน, ลอนดอน, อังกฤษ 54,000
1972–73  อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3–0 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค  เยอรมนีตะวันตก แอนฟีลด์, ลิเวอร์พูล, อังกฤษ 41,169
0–2 เบอเคิลแบกชตาดีอ็อน, เมินเชินกลัทบัค, เยอรมนีตะวันตก 35,000
1973–74  เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 2–2 ทอตนัมฮอตสเปอร์  อังกฤษ ไวต์ฮาร์ตเลน, ลอนดอน, อังกฤษ 46,281
2–0 เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 59,000
1974–75  เยอรมนีตะวันตก โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 0–0 ตเว็นเตอ  เนเธอร์แลนด์ ไรน์สตาดิโอน, ดึสเซิลดอร์ฟ, เยอรมนีตะวันตก 42,000
5–1 ดิคมันสตาดิโอน, เอนสเคเด, เนเธอร์แลนด์ 21,000
1975–76  อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3–2 กลึบบรึคเคอ  เบลเยียม แอนฟีลด์, ลิเวอร์พูล, อังกฤษ 56,000
1–1 โอลิมเปียสตาดิโอน, บรูช, เบลเยียม 32,000
1976–77  อิตาลี ยูเวนตุส# 1–0 อัตเลติกเดบิลบาโอ  สเปน สตาดิโอโกมูนาเล, ตูริน, อิตาลี 75,000
1–2 ซาน มาเมส, บิลบาโอ, สเปน 43,000
1977–78  เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 0–0 บัสตียา  ฝรั่งเศส สตาดอาร์ม็องด์-เซซารี, บัสตียา, ฝรั่งเศส 15,000
3–0 ฟิลิปส์สตาดิโอน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ 27,000
1978–79  เยอรมนีตะวันตก โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 1–1 เรดสตาร์เบลเกรด  ยูโกสลาเวีย สตาดิโอนเครเวนาซเวซดา, เบลเกรด, ยูโกสลาเวีย 87,000
1–0 ไรน์สตาดิโอน, ดึสเซิลดอร์ฟ, เยอรมนีตะวันตก 45,000
1979–80  เยอรมนีตะวันตก ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท# 2–3 โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค  เยอรมนีตะวันตก เบอเคิลแบกชตาดีอ็อน, เมินเชินกลัทบัค, เยอรมนีตะวันตก 25,000
1–0 วัลท์ชตาดีอ็อน, แฟรงก์เฟิร์ต, เยอรมนีตะวันตก 59,000
1980–81  อังกฤษ อิปสวิชทาวน์ 3–0 อาเซ็ด  เนเธอร์แลนด์ พอร์ตแมนโรด, อิปสวิช, อังกฤษ 27,532
2–4 สนามกีฬาโอลิมปิก, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ 28,500
1981–82  สวีเดน อีเอฟโค เยอเตอบอร์ย 1–0 ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา  เยอรมนีตะวันตก นิวอุลเลวี, กอเทนเบิร์ก, สวีเดน 42,548
3–0 สนามกีฬาโอลิมปิก, ฮัมบวร์ค, เยอรมนีตะวันตก 60,000
1982–83  เบลเยียม อันเดอร์เลคต์ 1–0 ไบฟีกา  โปรตุเกส สนามกีฬาเฮย์เซล, บรัสเซลส์, เบลเยียม 55,000
1–1 อิชตาดียูดาลุช, ลิสบอน, โปรตุเกส 80,000
1983–84  อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–1 อันเดอร์เลคต์  เบลเยียม คอนสแตนต์แวนเดนสต็อก, บรัสเซลส์, เบลเยียม 40,000
1–1*[a] ไวต์ฮาร์ตเลน, ลอนดอน, อังกฤษ 46,205
1984–85  สเปน เรอัลมาดริด 3–0 วีดีโอตัน  ฮังการี โซสโตอีสตาดิโอน, เซแก็ชแฟเฮร์วาร์, ฮังการี 30,000
0–1 ซานเตียโก เบร์นาเบว, มาดริด, สเปน 90,000
1985–86  สเปน เรอัลมาดริด 5–1 แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เคิลน์  เยอรมนีตะวันตก ซานเตียโก เบร์นาเบว, มาดริด, สเปน 85,000
0–2 โอลึมพีอาชตาดีอ็อน, เบอร์ลิน, เยอรมนีตะวันตก 15,000
1986–87  สวีเดน อีเอฟโค เยอเตอบอร์ย 1–0 ดันดียูไนเต็ด  สกอตแลนด์ นิวอุลเลวี, กอเทนเบิร์ก, สวีเดน 50,023
1–1 ทันนาดีซพาร์ก, ดันดี, สกอตแลนด์ 20,911
1987–88  เยอรมนีตะวันตก ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 0–3 อัสปัญญ็อล  สเปน สนามกีฬาซาร์ริอา, บาร์เซโลนา, สเปน 42,000
3–0*[b] อุลริช ฮาเบอร์ลันด์ สตาดิโอน, เลเวอร์คูเซิน, เยอรมนีตะวันตก 22,000
1988–89  อิตาลี นาโปลี 2–1 เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท  เยอรมนีตะวันตก สนามกีฬาซันปาโอโล, นาโปลี, อิตาลี 83,000
3–3 เนคคาร์สตาดิโอน, ชตุทการ์ท, เยอรมนีตะวันตก 67,000
1989–90  อิตาลี ยูเวนตุส 3–1 ฟีออเรนตีนา  อิตาลี สตาดิโอโกมูนาเล, ตูริน, อิตาลี 45,000
0–0 สตาดิโอปาร์เตนิโอ, อเวลลิโน, อิตาลี 32,000
1990–91  อิตาลี อินเตอร์มิลาน 2–0 โรมา  อิตาลี ซานซีโร, มิลาน, อิตาลี 68,887
0–1 สตาดีโอโอลิมปีโก, โรม, อิตาลี 70,901
1991–92  เนเธอร์แลนด์ อายักซ์# 2–2 โตรีโน  อิตาลี สตาดีโอเดลเลอัลปี, ตูริน, อิตาลี 65,377
0–0 สนามกีฬาโอลิมปิก, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ 42,000
1992–93  อิตาลี ยูเวนตุส 3–1 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์  เยอรมนี เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน, ดอร์ทมุนท์, เยอรมนี 37,000
3–0 สตาดีโอเดลเลอัลปี, ตูริน, อิตาลี 62,781
1993–94  อิตาลี อินเตอร์มิลาน 1–0 ออสเตรียซัลทซ์บวร์ค  ออสเตรีย สนามกีฬาแอ็นสท์ ฮัพเพิล, เวียนนา, ออสเตรีย 47,500
1–0 ซานซีโร, มิลาน, อิตาลี 80,326
1994–95  อิตาลี ปาร์มา 1–0 ยูเวนตุส  อิตาลี สตาดีโอ เอ็นนิโอ ทาร์ดินี, ปาร์มา, อิตาลี 22,062
1–1 ซานซีโร, มิลาน, อิตาลี 80,754
1995–96  เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2–0 บอร์โด  ฝรั่งเศส โอลึมพีอาชตาดีอ็อน, มิวนิก, เยอรมนี 62,000
3–1 ปาร์กเลสคูร์, บอร์โด, ฝรั่งเศส 36,000
1996–97  เยอรมนี ชัลเคอ 04 1–0 อินเตอร์มิลาน  อิตาลี ปาร์คสตาดิโอน, เก็ลเซินเคียร์เชิน, เยอรมนี 56,000
0–1*[c] ซานซีโร, มิลาน, อิตาลี 83,000
แข่งขันนัดเดียว
1997–98  อิตาลี อินเตอร์มิลาน 3–0 ลัตซีโย  อิตาลี ปาร์กเดแพร็งส์, ปารีส, ฝรั่งเศส 44,412
1998–99  อิตาลี ปาร์มา 3–0 มาร์แซย์  ฝรั่งเศส สนามกีฬาลุจนีกี, มอสโก, รัสเซีย 61,000
1999–2000  ตุรกี กาลาทาซาไร 0–0*[d] อาร์เซนอล  อังกฤษ พาร์เคนสเตเดียม, โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก 38,919
2000–01  อังกฤษ ลิเวอร์พูล 5–4§[e] เดปอร์ติโบอาลาเบส  สเปน เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน, ดอร์ทมุนท์, เยอรมนี 48,050
2001–02  เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 3–2 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์  เยอรมนี เดอเกยป์, รอตเทอร์ดาม, เนเธอร์แลนด์ 45,611
2002–03  โปรตุเกส โปร์ตู 3–2[f] เซลติก  สกอตแลนด์ สนามกีฬาโอลิมปิกเซบียา, เซบิยา, สเปน 52,972
2003–04  สเปน บาเลนเซีย 2–0 มาร์แซย์  ฝรั่งเศส นิวอุลเลวี, กอเทนเบิร์ก, สวีเดน 39,000
2004–05  รัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก 3–1 สปอร์ติงลิสบอน  โปรตุเกส เอสตาดีโอโฮเซอัลวาลาเด, ลิสบอน, โปรตุเกส 47,085
2005–06  สเปน เซบิยา 4–0 มิดเดิลส์เบรอ  อังกฤษ เปเอสเฟสตาดีโอน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ 33,100
2006–07  สเปน เซบิยา 2–2*[g] อัสปัญญ็อล  สเปน แฮมป์เดนพาร์ก, กลาสโกว์, สกอตแลนด์ 47,602
2007–08  รัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก 2–0 เรนเจอส์  สกอตแลนด์ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์, แมนเชสเตอร์, อังกฤษ 43,878
2008–09  ยูเครน ชัคตาร์ดอแนตสก์ 2–1[h] แวร์เดอร์เบรเมิน  เยอรมนี ซูครูซาราโคกลูสเตเดียม, อิสตันบูล, ตุรกี 37,357
2009–10  สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 2–1[i] ฟูลัม  อังกฤษ ฟ็อลคส์พาร์คชตาดีอ็อน, ฮัมบวร์ค, เยอรมนี 49,000
2010–11  โปรตุเกส โปร์ตู 1–0 บรากา  โปรตุเกส สนามกีฬาแลนส์ดาวน์โรด​, ดับลิน, สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 45,391
2011–12  สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 3–0 อัตเลติกเดบิลบาโอ  สเปน อาเรนานาชิโอนาเลอ, บูคาเรสต์, โรมาเนีย 52,347
2012–13  อังกฤษ เชลซี 2–1 ไบฟีกา  โปรตุเกส อัมสเตอร์ดัมอารีนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ 46,163
2013–14  สเปน เซบิยา 0–0*[j] ไบฟีกา  โปรตุเกส สนามกีฬายูเวนตุส, ตูริน, อิตาลี 33,120
2014–15  สเปน เซบิยา 3–2 ดนีโปรดนีโปรเปตรอฟสค์  ยูเครน สนามกีฬาแห่งชาติ, วอร์ซอ, โปแลนด์ 45,000
2015–16  สเปน เซบิยา 3–1 ลิเวอร์พูล  อังกฤษ ซังคท์ยาค็อพ-พาร์ก, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ 34,429
2016–17  อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–0 อายักซ์  เนเธอร์แลนด์ เฟรนส์อาเรนา, ซอลนา, สวีเดน 46,961
2017–18  สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 3–0 มาร์แซย์  ฝรั่งเศส ปาร์กออแล็งปิกลียอแน, ลียง, ฝรั่งเศส 55,768
2018–19  อังกฤษ เชลซี 4–1 อาร์เซนอล  อังกฤษ สนามกีฬาโอลิมปิกบากู, บากู, อาเซอร์ไบจาน 51,370
2019–20  สเปน เซบิยา 3–2 อินเตอร์มิลาน  อิตาลี สตาดีโอนเคิลน์, เคิลน์, เยอรมนี 0[k]
2020–21  สเปน บิยาร์เรอัล 1–1*[l] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด  อังกฤษ สตาดิโอน มิเอจสกี, กดัญสก์, โปแลนด์ 9,412
2021–22  เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 1–1*[m] เรนเจอส์  สกอตแลนด์ สนามกีฬารามอน ซันเชซ ปิซฆวน, เซบิยา, สเปน 38,842
2022–23  สเปน เซบิยา 1–1*[n] โรมา  อิตาลี ปุชกาชออเรนอ, บูดาเปสต์, ฮังการี 61,476
2023–24  อิตาลี อาตาลันตา 3–0 ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน  เยอรมนี ดับลินอารีนา, ดับลิน, สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 47,135
นัดชิงชนะเลิศในอนาคต
ฤดูกาล ประเทศ ผู้ชิงชนะเลิศ การแข่งขัน ผู้ชิงชนะเลิศ ประเทศ สถานที่
2024–25 v สนามกีฬาซานมาเมส, บิลบาโอ, สเปน
2025–26 v เบชิกทัชสเตเดียม, อิสตันบูล, ตุรกี
2026–27 v วัลท์ชตาดีอ็อน, แฟรงก์เฟิร์ต, เยอรมนี

ผลงาน

แบ่งตามสโมสร

ผลงานในยูฟ่าคัพและยูฟ่ายูโรปาลีกแบ่งตามสโมสร
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
ประเทศสเปน เซบิยา 7 0 2006, 2007, 2014, 2015, 2016, 2020, 2023
ประเทศอิตาลี อินเตอร์มิลาน 3 2 1991, 1994, 1998 1997, 2020
ประเทศอังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 1 1973, 1976, 2001 2016
ประเทศอิตาลี ยูเวนตุส 3 1 1977, 1990, 1993 1995
ประเทศสเปน อัตเลติโกเดมาดริด 3 0 2010, 2012, 2018
ประเทศเยอรมนี โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 2 2 1975, 1979 1973, 1980
ประเทศอังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2 1 1972, 1984 1974
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 2 0 1974, 2002
ประเทศเยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 2 0 1980, 2022
ประเทศสวีเดน อีเอฟโค เยอเตอบอร์ย 2 0 1982, 1987
ประเทศสเปน เรอัลมาดริด 2 0 1985, 1986
ประเทศอิตาลี ปาร์มา 2 0 1995, 1999
ประเทศโปรตุเกส โปร์ตู 2 0 2003, 2011
ประเทศอังกฤษ เชลซี 2 0 2013, 2019
ประเทศเบลเยียม อันเดอร์เลคต์ 1 1 1983 1984
ประเทศเยอรมนี ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 1 1 1988 2024
ประเทศเนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 1 1 1992 2017
ประเทศอังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 1 2017 2021
ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 1 0 1978
ประเทศอังกฤษ อิปสวิชทาวน์ 1 0 1981
ประเทศอิตาลี นาโปลี 1 0 1989
ประเทศเยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 0 1996
ประเทศเยอรมนี ชัลเคอ 04 1 0 1997
ประเทศตุรกี กาลาทาซาไร 1 0 2000
ประเทศสเปน บาเลนเซีย 1 0 2004
ประเทศรัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก 1 0 2005
ประเทศรัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก 1 0 2008
ประเทศยูเครน ชัคตาร์ดอแนตสก์ 1 0 2009
ประเทศสเปน บิยาร์เรอัล 1 0 2021
ประเทศอิตาลี อาตาลันตา 1 0 2024
ประเทศโปรตุเกส ไบฟีกา 0 3 1983, 2013, 2014
ประเทศฝรั่งเศส มาร์แซย์ 0 3 1999, 2004, 2018
ประเทศสเปน อัตเลติกเดบิลบาโอ 0 2 1977, 2012
ประเทศสเปน อัสปัญญ็อล 0 2 1988, 2007
ประเทศอิตาลี โรมา 0 2 1991, 2023
ประเทศเยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 0 2 1993, 2002
ประเทศอังกฤษ อาร์เซนอล 0 2 2000, 2019
ประเทศสกอตแลนด์ เรนเจอส์ 0 2 2008, 2022
ประเทศอังกฤษ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 0 1 1972
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตเว็นเตอ 0 1 1975
ประเทศเบลเยียม กลึบบรึคเคอ 0 1 1976
ประเทศฝรั่งเศส บัสตียา 0 1 1978
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์เบลเกรด 0 1 1979
ประเทศเนเธอร์แลนด์ อาเซ็ด 0 1 1981
ประเทศเยอรมนี ฮัมบัวร์เกอร์ เอ็สเฟา 0 1 1982
ประเทศฮังการี วีดีโอตัน 0 1 1985
ประเทศเยอรมนี แอร์สเทอร์ เอ็ฟเซ เคิลน์ 0 1 1986
ประเทศสกอตแลนด์ ดันดียูไนเต็ด 0 1 1987
ประเทศเยอรมนี เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท 0 1 1989
ประเทศอิตาลี ฟีออเรนตีนา 0 1 1990
ประเทศอิตาลี โตรีโน 0 1 1992
ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรียซัลทซ์บวร์ค 0 1 1994
ประเทศฝรั่งเศส บอร์โด 0 1 1996
ประเทศอิตาลี ลัตซีโย 0 1 1998
ประเทศสเปน เดปอร์ติโบอาลาเบส 0 1 2001
ประเทศสกอตแลนด์ เซลติก 0 1 2003
ประเทศโปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน 0 1 2005
ประเทศอังกฤษ มิดเดิลส์เบรอ 0 1 2006
ประเทศเยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน 0 1 2009
ประเทศอังกฤษ ฟูลัม 0 1 2010
ประเทศโปรตุเกส บรากา 0 1 2011
ประเทศยูเครน ดนีโปรดนีโปรเปตรอฟสค์ 0 1 2015

แบ่งตามชาติ

ผลงานในนัดชิงชนะเลิศแบ่งตามชาติ
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รวม
 สเปน 14 5 19
 อิตาลี 10 8 18
 อังกฤษ 9 8 17
 เยอรมนี[o] 7 9 16
 เนเธอร์แลนด์ 4 3 7
 โปรตุเกส 2 5 7
 รัสเซีย 2 0 2
 สวีเดน 2 0 2
 เบลเยียม 1 2 3
 ยูเครน 1 1 2
 ตุรกี 1 0 1
 ฝรั่งเศส 0 5 5
 สกอตแลนด์ 0 4 4
 ออสเตรีย 0 1 1
 ฮังการี 0 1 1
 ยูโกสลาเวีย 0 1 1

ดูเพิ่มเติม

หมายเหตุ

  1. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ชนะการดวลลูกโทษ 4–3[8]
  2. ผลประตู 3–0 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ ไบเออร์เลเวอร์คูเซินชนะการดวลลูกโทษ 3–2[9]
  3. ผลประตู 0–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ ชัลเคอ 04 ชนะการดวลลูกโทษ 4–1[10]
  4. ผลประตู 0–0 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ กาลาทาซาไรชนะการดวลลูกโทษ 4–1[11]
  5. ผลประตู 4–4 หลัง 90 นาที ลิเวอร์พูลชนะจากการทำโกลเดนโกลในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 26[12]
  6. ผลประตู 2–2 หลัง 90 นาที[13]
  7. ผลประตู 2–2 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ เซบิยาชนะการดวลลูกโทษ 3–1[14]
  8. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาที[15]
  9. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาที[16]
  10. ผลประตู 0–0 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ เซบิยาชนะการดวลลูกโทษ 4–2[17]
  11. นัดชิงชนะเลิศ 2020 เล่นโดยไม่มีผู้ชม เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป[18]
  12. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ บิยาร์เรอัลชนะการดวลลูกโทษ 11–10
  13. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทชนะการดวลลูกโทษ 5–4
  14. ผลประตู 1–1 หลัง 90 นาทีและต่อเวลาพิเศษ เซบิยาชนะการดวลลูกโทษ 4–1
  15. รวมสโมสรที่เป็นตัวแทนจากเยอรมนีตะวันตก และไม่มีสโมสรที่เป็นตัวแทนจากเยอรมนีตะวันออกเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "UEFA Cup/Europa League". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  2. "1997/98 season history". UEFA. 31 May 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  3. "Spurs keep Wolves at bay". UEFA. 2 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 June 2008.
  4. "Europa League kings Sevilla beat Roma on penalties to win seventh crown". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  5. "Shakhtar Donetsk claim Uefa Cup final glory over Werder Bremen". The Guardian. 21 May 2009. สืบค้นเมื่อ 11 August 2009.
  6. "UEFA Cup: All-time finals". UEFA. 30 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2008. สืบค้นเมื่อ 15 March 2008.
  7. "UEFA Europa League Statistics Handbook" (PDF). UEFA. สืบค้นเมื่อ 10 November 2022. See also "2022–23 Season Update" (PDF).
  8. "1983/84: Tottenham keep cool to dispatch Anderlecht". UEFA. 22 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  9. "1987/88: Leverkusen overturn 3-0 final deficit". UEFA. 22 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  10. "1996/97: Spot-on Schalke hold off Inter". UEFA. 22 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  11. "1999/00: Galatasaray the pride of Turkey". UEFA. 1 June 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
  12. "2000/01: Liverpool triumph after nine-goal thriller". UEFA. 1 June 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  13. "2002/03: Mourinho's silver lining for Porto". UEFA. 1 June 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  14. "2006/07: Palop the hero". UEFA. 1 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  15. "2008/09: Last UEFA Cup brings Shakhtar first". UEFA. 1 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  16. "2009/10: Atlético end wait for European title". UEFA. 1 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  17. "2013/14: Spot-on Sevilla show their mettle". UEFA. 1 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  18. "Venues for Round of 16 matches confirmed". UEFA.com. Union of European Football Associations. 9 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น