รายชื่อภาพยนตร์เจมส์ บอนด์
เจมส์ บอนด์ เป็นตัวละครสมมติที่สร้างสรรค์โดย เอียน เฟลมมิง เมื่อปี ค.ศ. 1953 บอนด์เป็นสายลับชาวอังกฤษทำงานให้กับ เอ็มไอ6 โดยรหัสประจำตัวของเขาคือ 007 มีนักแสดงหลายคนแสดงเป็นเจมส์ บอนด์ในภาพยนตร์ ได้แก่ ฌอน คอนเนอรี, เดวิด นิเวน, จอร์จ ลาเซนบี, โรเจอร์ มัวร์, ทิโมธี ดอลตัน, เพียร์ซ บรอสแนนและแดเนียล เคร็ก จากการสร้างภาพยนตร์ทั้งหมดยี่สิบเจ็ดเรื่อง ภาพยนตร์ทั้งหมดสร้างโดยอีออนโปรดักชันยกเว้นอยู่สองเรื่อง ปัจจุบันอีออนถือสิทธิ์ในการดัดแปลงนวนิยายบอนด์ของเฟลมมิงทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว[1][2]
เมื่อปี ค.ศ. 1961 ผู้อำนวยการสร้าง อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลีและแฮรรี ซอลต์ซแมน ร่วมมือกันซื้อสิทธิ์ในการถ่ายทำภาพยนตร์จากนวนิยายของเฟลมมิง[3] พวกเขาก่อตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ชื่อว่า อีออนโปรดักชัน ด้วยเงินสนับสนุนจาก ยูไนเต็ดอาร์ทิสต์ส โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างคือ พยัคฆ์ร้าย 007 กำกับโดย เทอเรนซ์ ยังและมี ฌอน คอนเนอรี แสดงเป็น เจมส์ บอนด์[4] หลังจาก พยัคฆ์ร้าย 007 ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1962 บรอคโคลีและซอลต์ซแมน ก่อตั้ง ดันจาก บริษัทโฮลดิ้งเพื่อรับประกันการสร้างภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ในอนาคต[5] ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดมีทั้งหมดยี่สิบห้าเรื่อง โดยภาพยนตร์เรื่องล่าสุด 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ ฉายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 ภาพยนตร์ชุดที่สร้างโดยอีออนนั้นทำเงิน 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ห้า[6] หากนำจำนวนเงินที่ทำได้ของภาพยนตร์มาปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ จะทำเงินมากกว่า 1.92 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าเงินปัจจุบัน[a]
ภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ชนะเลิศรางวัลออสการ์จำนวนหกรางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์ จอมมฤตยู 007 ชนะเลิศในสาขาเสียงประกอบยอดเยี่ยม (ปัจจุบันคือลำดับเสียงยอดเยี่ยม) (ในงานประกาศผล ครั้งที่ 37), จอห์น สเตียร์ส ชนะเลิศในสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ ธันเดอร์บอลล์ 007 (ในงานประกาศผล ครั้งที่ 38), เพอร์ ฮอลล์เบิร์กและแคแรน เบเกอร์ แลนเดอร์ ชนะเลิศในสาขาสาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม, อะเดลและพอล เอ็ปเวิร์ธ ชนะเลิศในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 (ในงานประกาศผล ครั้งที่ 85), แซม สมิธและจิมมี เนปส์ ชนะเลิศในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (ในงานประกาศผล ครั้งที่ 88) และ บิลลี ไอลิชกับฟินเนียส โอคอนเนลล์ ชนะเลิศในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (งานประกาศผล ครั้งที่ 94) นอกจากนี้ ยังมีเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเพลงที่ได้เข้าชิงในสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ "ลิฟแอนด์เล็ตดาย" ของ พอล แม็กคาร์ตนีย์, "โนบอดีดาสอิตเบตเทอร์" ของ คาร์ลี ไซมอน และ "ฟอร์ยัวร์อายโอนลี" ของ ชีนา อีสตัน ผู้อำนวยการสร้าง อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี ได้รับรางวัลอนุสรณ์เอิร์ฟวิง จี. ธัลเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1982[7]
เมื่อครั้งที่บรอคโคลีและซอลต์ซแมนซื้อสิทธิ์จากเฟลมมิงนั้น ไม่ได้รวมนวนิยาย คาสิโน รอเยิล ด้วย เนื่องจากเฟลมมิงได้ขายให้กับผู้อำนวยการสร้าง เกรกอรี แรตออฟ ไปก่อนแล้ว โดยเนื้อเรื่องได้ถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ เมื่อปี ค.ศ. 1954 หลังแรตออฟเสียชีวิต สิทธิ์ถูกส่งต่อไปยัง ชาร์ลส์ เค. เฟลด์แมน[8] ซึ่งต่อมาเขาก็ได้สร้างภาพยนตร์บอนด์แนวตลกชื่อว่า ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เมื่อปี ค.ศ. 1967[9] มีคดีความเกี่ยวกับสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์จากนวนิยาย ธันเดอร์บอลล์ จากการฟ้องร้องโดย เควิน แมคคลอรี สาเหตุเกิดจากแมคคลอรี, เฟลมมิงและนักเขียนบท แจ็ค วิทธิงแฮม ได้ร่วมกันเขียนบทภาพยนตร์ แต่ไม่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ก่อนที่เฟลมมิงจะนำไปดัดแปลงเป็นนวนิยาย[1] ถึงแม้ว่าอีออนโปรดักชันและแมกคลอรีจะร่วมมือกันสร้าง ธันเดอร์บอลล์ 007 แต่แมกคลอรียังคงถือสิทธิ์ในส่วนของเนื้อเรื่องและได้ดัดแปลง ธันเดอร์บอลล์ เป็นภาพยนตร์ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ เมื่อปี ค.ศ. 1983[10] ปัจจุบัน เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ ถือสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง[11][12]
ภาพยนตร์ที่สร้างโดยอีออน
ชื่อ | ปี | ผู้รับบทเป็นบอนด์ | ผู้กำกับ | ทำเงิน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] | ทุนสร้าง (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามจริง | ปรับอัตราเงินเฟ้อปี 2023 | ตามจริง | ปรับอัตราเงินเฟ้อปี 2023 | |||||
พยัคฆ์ร้าย 007 | 1962 | ฌอน คอนเนอรี | เทอเรนซ์ ยัง | 59.5 | 700.2 | 1.1 | 10.9 | [13][14] |
เพชฌฆาต 007 | 1963 | ฌอน คอนเนอรี | เทอเรนซ์ ยัง | 78.9 | 848.4 | 2.0 | 19.7 | [13][14][15] |
จอมมฤตยู 007 | 1964 | ฌอน คอนเนอรี | กาย แฮมิลตัน | 124.9 | 1,279.9 | 3.0 | 29.0 | [13][14][16] |
ธันเดอร์บอลล์ 007 | 1965 | ฌอน คอนเนอรี | เทอเรนซ์ ยัง | 141.2 | 1,323.1 | 6.8 | 65.4 | [13][14][17] |
จอมมหากาฬ 007 | 1967 | ฌอน คอนเนอรี | ลูอิส กิลเบิร์ต | 111.6 | 802.2 | 10.3 | 93.4 | [14][18] |
007 ยอดพยัคฆ์ราชินี | 1969 | จอร์จ เลเซนบี | ปีเตอร์ อาร์. ฮันต์ | 64.6 | 454.8 | 7.0 | 58.2 | [13][14] |
007 เพชรพยัคฆราช | 1971 | ฌอน คอนเนอรี | กาย แฮมิลตัน | 116.0 | 690.3 | 7.2 | 54.1 | [13][14][19] |
พยัคฆ์มฤตยู 007 | 1973 | โรเจอร์ มัวร์ | กาย แฮมิลตัน | 126.4 | 718.1 | 7.0 | 48.0 | [13][14] |
007 เพชฌฆาตปืนทอง | 1974 | โรเจอร์ มัวร์ | กาย แฮมิลตัน | 97.6 | 521.1 | 7.0 | 43.2 | [14][20] |
007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก | 1977 | โรเจอร์ มัวร์ | ลูอิส กิลเบิร์ต | 185.4 | 831.5 | 14.0 | 70.4 | [13][14][21] |
007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ | 1979 | โรเจอร์ มัวร์ | ลูอิส กิลเบิร์ต | 210.3 | 834.6 | 34.0 | 142.7 | [13][22] |
007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต | 1981 | โรเจอร์ มัวร์ | จอห์น เกลน | 194.9 | 701.1 | 28.0 | 93.9 | [13][14] |
007 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ | 1983 | โรเจอร์ มัวร์ | จอห์น เกลน | 183.7 | 583.2 | 27.5 | 84.1 | [13][14] |
007 พยัคฆ์ร้ายพญายม | 1985 | โรเจอร์ มัวร์ | จอห์น เกลน | 152.4 | 429.3 | 30.0 | 85.0 | [13][14] |
007 พยัคฆ์สะบัดลาย | 1987 | ทิโมธี ดอลตัน | จอห์น เกลน | 191.2 | 489.1 | 40.0 | 107.3 | [13][14][23] |
007 รหัสสังหาร | 1989 | ทิโมธี ดอลตัน | จอห์น เกลน | 156.2 | 391.4 | 36.0 | 88.5 | [13][14][24] |
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก | 1995 | เพียร์ซ บรอสแนน | มาร์ติน แคมป์เบลล์ | 352.0 | 808.9 | 60.0 | 120.0 | [13][25] |
007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย | 1997 | เพียร์ซ บรอสแนน | โรเจอร์ สปอร์ติสวูด | 333.0 | 722.6 | 110.0 | 208.9 | [26] |
007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก | 1999 | เพียร์ซ บรอสแนน | ไมเคิล แอ็ปเต็ด | 361.8 | 685.6 | 135.0 | 247.0 | [13][27] |
ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ | 2002 | เพียร์ซ บรอสแนน | ลี ทามาโฮรี | 432.0 | 726.1 | 142.0 | 240.6 | [13][14][28] |
007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก | 2006 | แดเนียล เคร็ก | มาร์ติน แคมป์เบลล์ | 606.0 | 919.2 | 150.0 | 234.0 | [29][13] |
007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก | 2008 | แดเนียล เคร็ก | มาร์ก ฟอร์สเตอร์ | 586.1 | 802.2 | 200.0 | 283.0 | [30] |
พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 | 2012 | แดเนียล เคร็ก | แซม เมนเดส | 1,108.6 | 1,471.3 | 150–200 | 199.1–265.4 | [31][32][33] |
องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย | 2015 | แดเนียล เคร็ก | แซม เมนเดส | 880.7 | 1,132.1 | 245.0–250.0[b] | 314.9–321.4 | [41][33] |
007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ | 2021 | แดเนียล เคร็ก | แครี โจจิ ฟูคูนากะ | 771.2 | 867.1 | 250–301 | 281.1–386.9 | [42][43][44] |
ทั้งหมด | 7,612 | 19,733 | 1,703–1,809 | 3,228–3,360 |
- ↑ ด้วยการแปลงรายได้รวมของบ็อกซ์ออฟฟิศที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้วใน ค.ศ. 2005 ที่ 1.2672 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2022 จะอยู่ที่ประมาณ 1.92 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ↑ ทุนสร้างอย่างเป็นทางการของ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย นั้นมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน มีการประมาณการตั้งแต่ 245–250[34][35][36][37] จนสูงถึง 300–350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[38][39] โดยตัวเลข 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นได้รวมค่างบประมาณด้านการตลาดจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[40]
พยัคฆ์ร้าย 007 (1962)
สแตรงเวย์ส หัวหน้าสถานีหน่วยสืบราชการลับอังกฤษในจาเมกาถูกฆ่า ทำให้สายลับอังกฤษ เจมส์ บอนด์—หรือรู้จักกันในรหัส 007—ถูกส่งไปยังจาเมกาเพื่อสืบสวน ระหว่างการสืบสวนนั้น บอนด์ได้พบกับ ควอเรล ชาวประมงจากหมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งเคยทำงานให้กับ สแตรงเวย์ส โดยเขาได้เดินเรือไปยังหมู่เกาะรอบ ๆ เพื่อเก็บตัวอย่างแร่ โดยมีเกาะแห่งชื่อว่า แครปคีย์ ซึ่งเป็นบ้านของ ดร. โน
เมื่อบอนด์กับควอเรลไปยังเกาะดังกล่าว เขาได้พบกับนักงมหอยท้องถิ่นชื่อว่า ฮันนี ไรเดอร์ โดยทั้งสามคนถูกโจมตีโดยคนของโน ควอเรลถูกฆ่าด้วยรถแทรกเตอร์หุ้มเกาะพ่นไฟ บอนด์กับฮันนีถูกจับเป็นตัวประกัน ดร. โน บอกกับบอนด์ว่าเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของ สเปกเตอร์ ผู้บริการพิเศษต่อต้านสายลับ, ก่อการร้าย, ล้างแค้นและข่มขู่ โดยเขาวางแผนที่จะหยุดยั้งการปล่อยจวรดของโครงการเมอร์คิวรีที่แหลมคะแนเวอรัล ด้วยลำแสงวิทยุที่ขับเคลื่อนด้วยอะตอม บอนด์กับฮันนีหนีออกจากเกาะ พร้อมกับฆ่าโนและระเบิดฐานของเขา
เพชฌฆาต 007 (1963)
โครนสตีน หรือ "หมายเลขห้า" นักวางแผนขององค์การสเปกเตอร์ ได้รับคำสั่งจากหมายเลขหนึ่ง เพื่อวางแผนขโมยเครื่องถอดรหัสเลกเตอร์จากโซเวียตและขายเครื่องนั้นกลับไป พร้อมกับวางแผนล้างแค้นให้กับ ดร. โน อดีตสมาชิกสเปกเตอร์ โดยมี โรซา แคล็บบ์ หรือ หมายเลขสาม เป็นผู้ดำเนินการ เธอได้เลือก โดนัลด์ "เรด" แกรนต์ เป็นนักฆ่าและ ทาเทียนา โรมาโนวา พนักงานถอดรหัสประจำสถานกงสุลโซเวียตที่อิสตันบูลเป็นเหยื่อล่อโดยที่เธอไม่รู้ตัว
บอนด์เดินทางไปตุรกีและพบกัน อาลี เคริม เบย์ เจ้าหน้าที่เอ็มไอ6 ประจำตุรกี และพบกับโรมาโนวา หลังทั้งสามคนได้เครื่องเลกเตอร์แล้ว ก็ได้หลบหนีโดยขึ้นรถไฟโอเรียนต์เอ็กซ์เพรส อย่างไรก็ตาม พวกเขาถูกติดตามโดยแกรนต์ ซึ่งต่อมาได้ฆ่าเคริม เบย์และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโซเวียต แกรนต์ปลอมตัวเป็นสายลับอังกฤษและพบกันบอนด์ ในระหว่างอาหารค่ำ แกรนต์ได้วางยาโรมาโนวาและได้ต่อสู้กับบอนด์ บอนด์หลอกให้แกรนต์เปิดกระเป๋าของบอนด์ ซึ่งมีกับดักเป็นแก๊สน้ำตา ทำให้บอนด์ได้โอกาสต่อสู้กลับและฆ่าแกรนต์ บอนด์กับโรมาโนวาหนีไปเวนิซพร้อมกับเครื่องเลกเตอร์ โรซา แคล็บบ์ ปลอมตัวเป็นแม่บ้าน พยายามที่จะขโมยเครื่องเลกเตอร์และฆ่าบอนด์ แต่เธอถูกยิงโดยโรมาโนวา
จอมมฤตยู 007 (1964)
บอนด์ได้รับคำสั่งให้สังเกตการณ์ ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ พ่อค้าทองคำแท่ง บอนด์สงสัยว่าโกลด์ฟิงเกอร์โกงไพ่ บอนด์จึงเข้าไปที่ห้องของเขาและทำลายแผนการโดยการหันเหความสนใจผู้หญิงที่ช่วยโกลด์ฟิงเกอร์ หลังจากนั้นเธอก็ถูกฆ่าโดย ออดจอบ คนรับใช้และลูกน้องชาวเกาหลีของโกลด์ฟิงเกอร์ ต่อมาบอนด์ได้รับคำสั่งให้สืบสวนแผนการลักลอบขนทองของโกลด์ฟิงเกอร์ โดยบอนด์ตามเขาไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ บอนด์ถูกจับขณะที่กำลังสำรวจโรงงานของโกลด์ฟิงเกอร์และถูกวางยาสลบ โกลด์ฟิงเกอร์ได้นำบอนด์ไปที่ฟาร์มม้าของเขาที่เคนทักกีแล้วขังเขาไว้ที่นั่น บอนด์หลบหนีออกมาได้และสังเกตการประชุมของโกลด์ฟิงเกอร์กับมาเฟียสหรัฐ โดยโกลด์ฟิงเกอร์เสนอแผนที่จะปล้นทองจากฟอร์ต นอกซ์ โดยใช้อุปกรณ์ที่พวกเขาลักลอบนำเข้ามาให้เขา ต่อมาก็ได้ฆ่ามาเฟียทุกคนเพื่อที่โกลด์ฟิงเกอร์จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
บอนด์ถูกจับอีกครั้งหลังได้ยินรายละเอียดของแผนการ บอนด์ได้ล่อลวง พุสซี กาลอร์ นักบินส่วนตัวของโกลด์ฟิงเกอร์และโน้มน้าวให้เธอให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่อเมริกัน กองทัพส่วนตัวของโกลด์ฟิงเกอร์บุกเข้าไปยัง ฟอร์ต นอกซ์ และเข้าไปถึงห้องนิรภัย ที่นั่นบอนด์ได้ต่อสู้และฆ่าออดจอบ ขณะที่กองทหารอเมริกันต่อสู้กับกองทัพของโกลด์ฟิงเกอร์ด้านนอก โกลด์ฟิงเกอร์จี้เครื่องบินของบอนด์ แต่บอนด์ต่อสู้กับเขาและได้ยิงหน้าต่างเครื่องบิน ทำให้ความดันอากาศลดลง โกลด์ฟิงเกอร์จึงปลิวออกจากเครื่องบิน[45]
ธันเดอร์บอลล์ 007 (1965)
บอนด์สืบสวนการปล้นเครื่องบินทิ้งระเบิด อาฟโร วัลแคน ที่บรรทุกระเบิดปรมาณูสองลูก ซึ่งถูกขโมยโดยสเปกเตอร์ โดยองค์การได้เรียกค่าไถ่หากต้องการระเบิดคืน บอนด์ติดตามเบาะแสไปยังบาฮามาส ซึ่งเขาได้พบกับ เฟลิกซ์ ไลเทอร์ เพื่อนของเขาที่อยู่หน่วยซีไอเอ ทั้งคู่สงสัยเพลย์บอยผู้ร่ำรวย เอมิลิโอ ลาร์โก ซึ่งต่อมาได้เปิดเผยว่าเขาเป็น หมายเลขสองขององค์การสเปกเตอร์ โดยเขาได้รับคำสั่งจากหมายเลขหนึ่งอย่างลับ ๆ ให้ดำเนินการแผนนี้ บอนด์และไลเทอร์ได้ค้นหาบริเวณรอบ ๆ เรือยอชต์ของเขาและพื้นที่ที่เรือยอชต์แล่นผ่าน หลังจากเจอเครื่องบินแล้ว แต่ไม่พบระเบิดปรมาณู สายลับทั้งสองจึงติดตามเรือยอชต์ของลาร์โกและซุ่มโจมตีขณะที่ระเบิดกำลังถูกย้ายโดยลาร์โก
จอมมหากาฬ 007 (1967)
007 ถูกส่งไปญี่ปุ่นเพื่อสืบสวนการขโมยยานอวกาศและการลักพาตัวนักบินอวกาศ จูปิเตอร์ 16 ใน โครงการเจมิไน ของสหรัฐ โดยยานอวกาศไม่สามารถระบุได้ เมื่อมาถึงญี่ปุ่น บอนด์ได้รับการติดต่อจาก อากิ ผู้ช่วยของหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับญี่ปุ่น ไทเกอร์ ทานากะ บอนด์รับรู้ว่าผู้อยู่เบื้องหลังการปล้นยานอวกาศคือ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ หมายเลขหนึ่งของสเปกเตอร์ ซึ่งร่วมมือกับ โอซาโตะ นักอุตสาหกรรมท้องถิ่น บอนด์ตามรอยจนเจอเกาะของโบลเฟลด์ซึ่งเป็นฐานลับและฐานปล่อยจรวด ขณะที่ยานอวกาศ เบิร์ดวัน ซึ่งปลอมเป็นยานอวกาศของโซเวียต เพื่อที่จะปล้นยานยานอวกาศของสหรัฐ โบลเฟลด์อธิบายแผนการของเขาให้กับบอนด์ว่า ต้องการทำให้ สงครามเย็น กลายเป็น สงครามโลกครั้งที่สาม
นินจาของทานากะได้เข้ามาโจมตีฐานลับ ขณะที่บอนด์กำลังทำให้โบลเฟลด์ไขว้เขวและสร้างการเบี่ยงเบน ทำให้เขาสามารถเปิดประตูและปล่อยนินจาเข้ามา ระหว่างการต่อสู้ โบลเฟลด์ฆ่าโอซาโตะ และได้เปิดใช้งานระบบทำลายตัวเองของฐานและหลบหนีไป บอนด์, คิสซี, ทานากะ และเหล่านินจาที่รอดชีวิต หลบหนีเข้าไปในอุโมงค์ถ้ำก่อนที่ฐานจะระเบิดและได้รับการช่วยเหลือจากเรือดำน้ำ
007 ยอดพยัคฆ์ราชินี (1969)
ขณะที่บอนด์กำลังตามหาโบลเฟลด์ หัวหน้าของสเปกเตอร์ บอนด์ได้ช่วยชีวิต เทรซี ดิ วิเซนโซ บนชายหาด หลังเธอพยายามจะฆ่าตัวตายด้วยการจมน้ำ ซึ่งต่อมาเขาได้พบเธออีกครั้งในคาสิโน บอนด์ได้รับข้อมูลจาก มาร์ก-อาง ดราโก หัวหน้าองค์การอาชญากรรมยุโรป ยูเนียนโคร์ส และพ่อของเทรซี เกี่ยวกับทนายความชาวสวิสของโบลเฟลด์ บอนด์บุกเข้าไปในสำนักงานทนายความและพบกับจดหมายของโบลเฟลด์ติดต่อกับสำนักตราประจำพระองค์ในลอนดอน บอนด์ปลอมตัวเป็นทูตของสำนักและได้พบกับโบลเฟลด์ ซึ่งได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยและคลินิกโรคภูมิแพ้อยู่เหนือ พิซกลอเรีย บน เทือกเขาแอลป์ บอนด์รับรู้ว่าโบลเฟลด์ใช้การล้างสมองกับผู้ป่วยของเขาเพื่อเป็นตัวแทนปล่อยเชื้อโรค เพื่อก่อให้เกิดสงครามแบคทีเรียทั่วทุกมุมโลก
บอนด์หลบหนีออกจากคลินิกได้หลังโบลเฟลด์รู้ว่าเขาคือสายลับอังกฤษ บอนด์ทำการจู่โจมคลินิกโดยใช้คนจากองค์การของดราโก การจู่โจมประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าโบลเฟลด์จะหนีไปได้ บอนด์แต่งงานกับเทรซี แต่เธอถูกสังหารโดย เออร์มา บันต์ สมุนของโบลเฟลด์
007 เพชรพยัคฆราช (1971)
บอนด์ได้รับมอบหมายให้สืบสวนขบวนการลักลอบนำเข้าเพชร ซึ่งเริ่มต้นที่แอฟริกาผ่านฮอลแลนด์และสหราชอาณาจักรจนถึงสหรัฐ บอนด์ปลอมตัวเป็น ปีเตอร์ แฟรงก์ส ผู้ลักลอบขนสินค้ามืออาชีพและนักฆ่า แล้วเดินทางไปอัมสเตอร์ดัมเพื่อพบกับ ทิฟฟานี เคส เขาได้รับเพชรแล้วเดินทางไปสหรัฐ แล้วพบกับ เฟลิกซ์ ไลเทอร์ บอนด์ติดตามเบาะแสจนไปถึงไวต์เฮาส์ โรงแรมและคาสิโนซึ่งมีมหาเศรษฐีผู้สันโดษ วิลลาร์ด ไวต์ เป็นเจ้าของ
บอนด์ติดตามเบิร์ต แซกซ์บี หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยของไวต์ ไปยังห้องปฏิบัติการวิจัยของไวต์ เขาพบว่าดาวเทียมถูกสร้างโดย ศาสตราจารย์ ดร. แมตซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการหักเหแสงเลเซอร์ ด้วยความสงสัย บอนด์จึงพยายามไปเผชิญหน้าไวต์ แต่ได้พบกับโบลเฟลด์ ซึ่งได้จับตัวบอนด์และอธิบายแผนการของเขาว่าดาวเทียมนั้นสามารถทำให้ขีปนาวุธนิวเคลียร์ระเบิดได้ โบลเฟลด์ยอมรับว่าเขาตั้งใจจะนำไปประมูลแล้วให้กับผู้ที่เสนอราคาสูงสุด บอนด์หนีออกมาได้และปลดปล่อยไวต์ซึ่งถูกคุมขังอยู่ พวกเขารู้ว่าโบลเฟลด์ใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งเป็นฐานของเขา บอนด์ไปโจมตีที่แท่นขุดเจาะ หยุดแผนการของโบลเฟลด์และสลายองค์กรของเขา
พยัคฆ์มฤตยู 007 (1973)
เจมส์ บอนด์ถูกส่งตัวไปสืบสวนการฆาตกรรมเจ้าหน้าที่เอ็มไอ6 ชาวอังกฤษสามคน ซึ่งถูกสังหารภายในเวลา 24 ชั่วโมง เขาค้นพบว่าเหยื่อทั้งสามคนนั้นต่างสืบสวนกิจการของ ดร. คาแนงกา ผู้เผด็จการของซานโมนิก เกาะขนาดเล็กในแคริบเบียน บอนด์รับรู้ว่าคาแนงกานั้นยังเป็น คุณบิก นักเลงอเมริกันที่โหดเหี้ยมและฉลาดแกมโกง
หลังบอนด์เดินทางมาที่ซานโมนิก บอนด์รับรู้ว่าคาแนงกากำลังผลิตแฮโรอีนจำนวนสองตันและปกป้องทุ่งดอกป๊อปปี้ด้วยชาวบ้านที่มีความหวาดกลัวต่อวูดูและรหัสยศาสตร์ คาแนงกาเปิดเผยแผนที่จะจัดจำหน่ายเฮโรอีนฟรีในร้านอาหารฟิลเลตออฟโซลของเขา ซึ่งจะเพิ่มจำนวนผู้เสพติด บอนด์ถูกจับโดยคาแนงกา แต่เขาหนีไปได้ สังหารคาแนงกาและทำลายผลผลิตของเขา
007 เพชฌฆาตปืนทอง (1974)
หลังได้รับกระสุนสีทองที่สลักตัวเลข "007" ซึ่งเป็นรหัสของเจมส์ บอนด์ ทำให้เอ็มปลดบอนด์ออกจากภารกิจตามหาตัว กิบสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นเครื่อง "โซเลกซ์อะจิเทเทอร์" อุปกรณ์ที่สามารถกักเก็บพลังแสงอาทิตย์ได้ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาวิกฤตพลังงาน กระสุนดังกล่าวทำให้บอนด์ตกเป็นเป้าหมายของนักฆ่า ฟรานซิสโก สะการามังกา และบอนด์ถูกส่งไปตามหาตัวเขาอย่างไม่เป็นทางการ จากเบาะแสของปลอกกระสุนทอง บอนด์ติดตามสะการามังกาไปยังมาเก๊า ที่เขาเห็นผู้หญิงของสะการามังกาที่คาสิโนเก็บกระสุนทองไป บอนด์ตามเธอไปยังฮ่องกงและได้เห็นการฆาตกรรมของกิบสันและคนที่ขโมยเครื่องโซเลกซ์อะจิเทเทอร์ บอนด์ได้รับมอบหมายให้กู้เครื่องนั้นกลับมาและสังหารสะการามังกา
บอนด์พบกับ ไฮ แฟต ผู้ประกอบการคนไทยซึ่งร่ำรวย เป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนสั่งฆ่ากิบสัน บอนด์ถูกจับและหนีออกมาได้ เขาติดตามสะการามังกาไปยังเกาะแห่งหนึ่งในน่านน้ำจีนแดง ทั้งสองคนสู้กันและบอนด์ก็สังหารสะการามังกา
007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก (1977)
บอนด์ได้รับมอบหมายให้สืบสวนการหายไปของเรือดำน้ำขีปนาวุธของอังกฤษและโซเวียต และการซื้อขายระบบติดตามเรือดำน้ำ บอนด์ทำงานร่วมกับ พันตรี อาเนีย อะมาโซวา สายลับของเคจีบี ทั่งคู่ติดตามแผนการซื้อขายในอียิปต์และสามารถระบุคนที่อยู่เบื้องหลังการโจรกรรมในครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการขนส่ง, นักวิทยาศาสตร์และผู้นิยมอนาธิปไตย คาร์ล สตรอมเบิร์ก
บอนด์และอะมาโซวาติดตามเรือบรรทุกน้ำมันที่น่าสงสัยซึ่งมีสตรอมเบิร์กเป็นเจ้าของ และรับรู้ว่าเรือดังกล่าวคือสาเหตุที่เรือดำน้ำนั้นหายไป เรือดำน้ำที่พวกเขากำลังเดินทางก็ถูกจับโดยสตรอมเบิร์ก สตรอมเบิร์กวางแผนที่จะทำลายเมืองมอสโกและนิวยอร์ก ทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น และเขาก็จะได้สร้างอารยธรรมใต้น้ำ บอนด์หลบหนีแล้วได้ปลดปล่อยลูกเรือดำน้ำที่ถูกจับจากเรือดำน้ำอีกลำหนึ่ง บอนด์ได้ตามสตรอมเบิร์กไปยังฐานของเขา บอนด์ฆ่าสตรอมเบิร์กและใช้ระเบิดตอร์ปิโดทำลายฐานของเขา
007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ (1979)
กระสวยอวกาศมูนเรเกอร์ของเดร็กซ์อินดัสทรีส์ถูกปล้นไปและบอนด์ได้มอบหมายให้สืบสวนเรื่องดังกล่าว บอนด์พบกับเจ้าของบริษัท ฮิวโก เดร็กซ์ และหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของแดร็กซ์ ดร. ฮอลลี กูดเฮด บอนด์ติดตามเบาะแสไปยังเวนิซ ที่นั่นเขาได้รับรู้ว่าแดร็กซ์กำลังผลิตแก๊สประสาทที่อันตรายต่อมนุษย์ แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ บอนด์พบกับกูดเฮดอีกครั้งและพบเธอคือสายลับซีไอเอ
บอนด์เดินทางไปแอมะซอนเพื่อตามหาสถานที่วิจัยของแดร็กซ์ บอนด์ถูกจับที่นั่น เขากับกูดเฮดปลอมตัวเป็นนักบินของกระสวยอวกาศหนึ่งในหกลำที่ถูกส่งไปยังสถานีอวกาศล่องหน บอนด์พบว่าแผนแดร็กซ์คือทำลายชีวิตมนุษย์ทั้งหมด ด้วยการปล่อยลูกกลมที่บรรจุสารพิษลงไปยังชั้นบรรยากาศของโลก บอนด์และกูดเฮดปิดตัวปล่อยคลื่นวิทยุรบกวน ทำให้โลกมองเห็นสถานีอวกาศและสหรัฐได้ส่งนาวิกโยธินในกระสวยอวกาศทหาร ระหว่างการต่อสู้ บอนด์ฆ่าแดร็กซ์และทำลายสถานีอวกาศของเขา
007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต (1981)
หลังเรือสอดแนมของอังกฤษอับปาง เซอร์ ทิโมธี แฮฟล็อก ได้รับมอบหมายให้กู้เครื่องหาเป้าหมายโจมตีอัตโนมัติ หรือ เอแทก ก่อนที่พวกรัสเซียจะเอาไป แฮฟล็อกถูกฆ่าโดยกอนซาเลส นักฆ่าชาวคิวบา บอนด์ได้รับมอบหมายให้ค้นหาว่าใครจ้างกอนซาเลส บอนด์ถูกจับขณะที่กำลังสืบสวน แต่กอนซาเลสถูกฆ่าโดย เมลีนา ลูกสาวของแฮฟล็อก เธอกับบอนด์หลบหนีสำเร็จ บอนด์ระบุคนที่อยู่ด้วยกันกับกอนซาเลส คือ เอมิล ลีโอโพลด์ ล็อกค์ บอนด์ติดตามเบาะแสไปยังอิตาลีและพบกับสายของเขา ลุยจิ เฟอร์รารา และ อริส คริสตาโตส นักธุรกิจชาวกรีกผู้มีเส้นสายและผู้แจ้งข่าวกรอง คริสตาโตสบอกบอนด์ว่า ล็อกค์เป็นลูกจ้าง มิโลส โคลัมโบ อดีตพันธมิตรอาชญากรรมของคริสตาโตส
หลังเฟอร์ราราถูกฆ่าและหลักฐานชี้ไปที่โคลัมโบ บอนด์ถูกจับโดยคนของโคลัมโบ โคลัมโบอธิบายว่าแท้จริงแล้วล็อกค์ถูกจ้างโดยคริสตาโตส โดยเขาทำงานให้กับเคจีบีเพื่อกู้เครื่องเอแทก บอนด์กับเมลีนากู้เครื่องเอแทก แต่ถูกจับโดยคริสตาโตส พวกเขาหลบหนีและติดตามคริสตาโตสไปยังกรีซ คริสตาโตสถูกฆ่าและบอนด์ทำลายเครื่องเอแทก
007 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ (1983)
บอนด์สืบสวนการฆาตกรรมของ 009 ในเบอร์ลินตะวันออก ขณะที่แต่งตัวเป็นตัวตลกละครสัตว์และถือไข่ฟาแบร์เชปลอม ไข่อีกใบซึ่งเหมือนกันปรากฏในงานประมูลและบอนด์รับรู้ว่าผู้ซื้อนั้นคือ คามาล ข่าน เจ้าชายอัฟกานิสถานที่ถูกเนรเทศ โดยทำงานให้กับ ออร์ลอฟ นายพลโซเวียตผู้ทรยศ ที่ต้องการจะขยายพรมแดนโซเวียตเข้าไปในยุโรป บอนด์พบกับออโตพุสซี เศรษฐีหญิงผู้นำลัทธิปลาหมึก บอนด์พบว่าออร์ลอฟได้จัดหาสมบัติล้ำค่าของโซเวียตให้กับข่าน แล้วแทนที่ด้วยของปลอม ข่านลักลอบขนของจริงเข้าไปในตะวันตก โดยใช้คณะละครสัตว์ของออโตพุสซี
บอนด์แทรกซึมเข้าไปในคณะละครสัตว์และพบว่าออร์ลอฟแทนที่สมบัติของโซเวียตด้วยหัวรบนิวเคลียร์ ตั้งใจจะระเบิดฐานทัพอากาศสหรัฐในประเทศเยอรมนีตะวันตก การระเบิดจะกระตุ้นให้ยุโรปแสวงหาการปลดอาวุธ ด้วยความเชื่อที่ว่าระเบิดของชาวอเมริกันที่ถูกจุดชนวนโดยอุบัติเหตุ ทำให้พรมแดนฝั่งตะวันตกเปิดให้โซเวียตรุกราน บอนด์ปลดชนวนหัวรบและจากนั้นเขาก็กลับไปอินเดียและเข้าร่วมการโจมตีที่พระราชวังของข่าน
007 พยัคฆ์ร้ายพญายม (1985)
บอนด์สืบสวน แมกซ์ ซอริน นักอุตสาหกรรมเศรษฐี มีแผนที่จะครอบครองตลาดโลกด้วยไมโครชิป ซอรินเคยได้รับการฝึกฝนและได้รับเงินทุนจากเคจีบี ซอรินเปิดเผยแผนของเขากับกลุ่มนักลงทุนว่า จะทำลาย ซิลิคอนแวลลีย์ ซึ่งจะทำให้เขาผูกขาดการผลิตไมโครชิป
บอนด์ค้นพบแผนของซอรินที่ต้องการจุดระเบิดใต้ทะเลสาบพร้อมกับรอยเลื่อนเฮย์เวิร์ดและแซนแอนเดรอัส ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณดังกล่าว อีกทั้งยังใส่ระเบิดขนาดใหญ่ในเหมืองเพื่อทำลาย "ล็อกทางธรณีวิทยา" ที่ป้องกันไม่ให้รอยเลื่อนทั้งสองแห่งเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน บอนด์ทำลายระเบิดและฆ่าซอริน
007 พยัคฆ์สะบัดลาย (1987)
บอนด์ช่วยเหลือ นายพล ยอร์กี คอสคอฟ เจ้าหน้าที่ของเคจีบีที่ต้องการแปรพักตร์ โดยยิงปืนของ คารา มิโลวี มือปืนหญิงเคจีบีและนักเชลโล ระหว่างการพูดคุย คอสคอฟอ้างว่า นโยบายเก่าของเคจีบี สเมียร์ต สปิโอนัม, แปลว่า ความตายของสายลับ, ได้รับการฟื้นฟูโดย นายพล เลโอนิด พุชกิน, หัวหน้าเคจีบีคนใหม่ ต่อมาคอสคอฟถูกลักพาตัวจากเซฟเฮาส์และบอนด์ได้รับมอบหมายให้ฆ่าพุชกิน
บอนด์ติดตามมิโลวีและรับรู้ว่าเธอคือแฟนสาวของคอสคอฟและการแปรพักตร์ดังกล่าวเป็นการจัดฉาก ต่อมาบอนด์พบว่าคอสคอฟเป็นเพื่อนของ แบรด วิตทิเกอร์ พ่อค้าอาวุธ บอนด์พบกับพุชกินและได้จัดฉากการลอบสังหารเขา บอนด์สืบสวนแผนการของคอสคอฟและวิตทิเกอร์ ที่ต้องการยักยอกเงินของเคจีบีและนำไปซื้อเพชร และนำเพชรไปซื้อยาเสพติด หลังคอสคอปซื้อยาเสพติด บอนด์ก็ทำลายพวกมัน บอนด์ฆ่าวิตทิเกอร์และคอสคอฟถูกจับโดยพุชกิน
007 รหัสสังหาร (1989)
บอนด์ช่วยเหลือฟีลิกซ์ ไลเทอร์จับกุมเจ้าพ่อค้ายาเสพติด ฟรานซ์ ซานเชซ ต่อมาซานเชซหลบหนีไปได้แล้วไปทำให้ไลเทอร์พิการและฆ่าภรรยาของเขา บอนด์สาบานว่าจะแก้แค้น เอ็มสั่งให้บอนด์กลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม บอนด์ปฏิเสธ เอ็มจึงได้ถอนใบอนุญาตสังหารของเขา ทำให้บอนด์กลายเป็นสายลับไร้สังกัด บอนด์ได้รับความช่วยเหลืออย่างไม่เป็นทางการโดย คิว
บอนด์เดินทางไปยังบ้านของซานเชซในสาธารณรัฐอิธมุสและสังหารพนักงานของซานเชซ ด้วยการทำให้ซานเชซสงสัยในตัวพนักงานของเขา เมื่อบอนด์ถูกนำตัวไปยังฐานหลักและโรงกลั่นยาเสพติดของซานเชซ สมุนคนหนึ่งของซานเชซจำบอนด์ได้และจับกุมเขา บอนด์หลบหนีและทำลายโรงกลั่น บอนด์ไล่ล่าซานเชซและฆ่าเขา
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก (1995)
ในปี 1986 บอนด์กับอเล็ก เทอร์เวเลียน (สายลับ 006) แทรกซึมเข้าไปในโรงงานผลิตอาวุธเคมีเถื่อนของโซเวียตและได้วางระเบิดเอาไว้ เทอร์เวเลียนถูกยิงแต่บอนด์หนีจากโรงงานก่อนที่จะระเบิดได้ เก้าปีต่อมา บอนด์เห็นเหตุการณ์ขโมยเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบ ยูโรคอปเตอร์ ไทเกอร์ โดยองค์กรอาชญากรรมยานัส โดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวสามารถต้านทานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ยานัสใช้เฮลิคอปเตอร์ไปขโมยแผ่นจานควบคุมอาวุธดาวเทียม โกลเดนอาย สองดวง แล้วก็ได้ทำลายศูนย์ควบคุมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโปรแกรมเมอร์สองคนรอดชีวิตจากการโจมตี ได้แก่ นาตาเลีย ซิมาโนวาและบอริส กริเชงโก
บอนด์สืบสวนการโจมตีดังกล่าวและเดินทางไปรัสเซีย ที่นั่นเขาได้พบกับเทอร์เวเลียนซึ่งหลอกว่าเสียชีวิตไปแล้ว และเขาก็เป็นหัวหน้าของยานัส บอนด์เอาตัวรอดพร้อมกับซิมาโนวา เธอติดตามการจราจรทางคอมพิวเตอร์ไปยังคิวบา เธอและบอนด์เดินทางไปที่นั่นและค้นหาเทอร์เวเลียน โดยเขามีแผนที่ขโมยเงินจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษก่อนที่จะลบบันทึกทางการเงินด้วยโกลเดนอาย เพื่อปกปิดการโจรกรรมและทำลายเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร บอนด์และซิมาโนวาทำลายศูนย์ควบคุมดาวเทียมและฆ่าเทอร์เวเลียนและกริเชงโก
007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (1997)
เรือล่องหนลำหนึ่งได้ทำการจมเรือรบอังกฤษในน่านน้ำจีน โดยเรือล่องหนดังกล่าวได้ขโมยขีปนาวุธร่อนของเรืออังกฤษไปหนึ่งลูกและยิงเครื่องบินขับไล่ของจีนหนึ่งลำ บอนด์สืบสวนเรื่องดังกล่าวพบว่า เอลเลียต คาร์เวอร์ เจ้าพ่อสื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะเขาได้ซื้อเครื่องเข้ารหัสจีพีเอส มาจากตลาดมืดชายแดนรัสเซีย
บอนด์พบกับ ไว ลิน สายลับจีน ซึ่งกำลังสืบสวนเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ทั้งสองคนตกลงทำงานร่วมกัน พวกเขาพบว่าคาร์เวอร์ใช้เครื่องเข้ารหัสจีพีเอสเพื่อให้เรือของอังกฤษออกนอกเส้นทางและเข้าสู่น่านน้ำจีน เพื่อก่อให้เกิดสงครามระหว่างสองประเทศและเขาจะได้ขายข่าว ขณะที่กองเรืออังกฤษกำลังเดินทางมายังจีน บอนด์และลินตามหาเรือล่องหนของคาร์เวอร์ พวกเขาขึ้นเรือดังกล่าวและพยายามหยุดยั้งการยิงขีปนาวุธร่อนไปยังปักกิ่ง พวกเขาระเบิดเรือล่องหนเป็นรู ทำให้เรือถูกพบในเรดาร์ กองเรืออังกฤษตรวจพบเรือล่องหนและทำการยิงเรือจนจม ทำให้หลีกเลี่ยงสงครามระหว่างอังกฤษและจีน
007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก (1999)
บอนด์สามารถกู้เอาเงินของเซอร์ รอเบิร์ต คิง กลับมาได้ โดยเขาเป็นผู้ประกอบกิจการน้ำมันชาวอังกฤษและเพื่อนของเอ็ม แต่เงินดังกล่าวเป็นกับดักและฆ่าคิงหลังจากนั้นไม่นาน บอนด์ติดตามเบาะแสของเงินจนรู้ว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังก็คือ เรนาร์ด สายลับเคจีบีซึ่งกลายเป็นผู้ก่อการร้าย ก่อนหน้านี้เขาเคยลักพาตัวลูกสาวของคิง อีเลกตรา เอ็มไอ6 เชื่อว่าเรนาร์ดกำลังมุ่งเป้าไปที่เธออีกครั้งและบอนด์ได้รับมอบหมายให้ปกป้องเธอ ทั้งคู่รอดชีวิตจากการโจมตี
บอนด์ไปเยี่ยม วาเลยติน ซูกอฟสกีและรู้ว่าหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของอีเลกตรา ดาวิดอฟ ทำงานร่วมกันเรนาร์ด บอนด์ฆ่าดาวิดอฟและตามเบาะแสไปยังฐานขีปนาวุธข้ามทวีปของรัสเซียในคาซัคสถาน บอนด์ปลอมตัวเป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ บอนด์ได้พบกับนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ คริสต์มาส โจนส์ ทั้งสองคนเห็นเหตุการณ์ที่เรนาร์ดได้ขโมยเครื่องระบุตำแหน่งจีพีเอสและครึ่งหนึ่งของพลูโทเนียมจากระเบิดและได้จุดระเบิดฐานนั้น บอนด์และโจนส์หนีได้สำเร็จ อีเลกตราลักพาตัวเอ็ม หลังอีเลกตราคิดว่าบอนด์ถูกฆ่าเสียชีวิต บอนด์รับรู้ว่าอีเลกตราตั้งใจจะให้เกิดระเบิดนิวเคลียร์ของเรือดำน้ำในอิสตันบูล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับท่อส่งน้ำมันของเธอ บอนด์ปลดปล่อยเอ็ม ฆ่าอีเลกตราและปลดชนวนระเบิดในเรือดำน้ำและฆ่าเรนาร์ด
ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ (2002)
บอนด์สืบสวนการค้าขายเพชรเถื่อนแอฟริกันของ พันเอก ทัน-ซอน มูน ทหารชาวเกาหลีเหนือ เพื่อนำมาแลกกับอาวุธ บอนด์ฆ่ามูนและเขาถูกจับไปทรมานนาน 14 เดือน จนในที่สุดบอนด์ก็ได้รับการปล่อยตัว โดยแลกเปลี่ยนกับ ซาว ผู้ช่วยของมูน หลังบอนด์กลับมา เขาถูกสั่งให้พักงานชั่วคราว แต่เขาตัดสินใจที่จะทำภารกิจให้สำเร็จและติดตามซาวไปยังคลินิกยีนบำบัด ที่ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของตนเองได้ผ่านการปรับโครงสร้างดีเอ็นเอ ซาวหลบหนีไปได้ แต่จากเบาะแสก็พาบอนด์ไปพบกับมหาเศรษฐีชาวอังกฤษชื่อว่า กุสตาฟ เกรฟส์
เกรฟส์เปิดตัวดาวเทียมกระจก "อิคารัส" ซึ่งสามารถสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังในพื้นที่ขนาดเล็กได้และให้แสงแดดสำหรับการปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี บอนด์พบว่าตัวตนที่แท้จริงของเกรฟส์คือมูนที่ผ่านการยีนบำบัด โดยแผนของเกรฟส์คือ ใช้อิคารัสเป็นปืนแสงอาทิตย์ตัดผ่านเขตปลอดทหารเกาหลีด้วยแสงแดดเข้มข้น ทำให้กองทหารเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้และใช้กำลังรวมประเทศเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว บอนด์ฆ่ามูนและหยุดการรุกราน
007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (2006)
บอนด์ได้รับสถานะดับเบิลโอหลังสังหารเป้าหมายสองคน เขาได้รับคำสั่งให้ตรวจสอบการระดมเงินทุนของผู้ก่อการร้าย บอนด์ติดตามและฆ่านักทำระเบิดและค้นหาข้อมูลโทรศัพท์มือถือของเขา บอนด์ค้นพบข้อความที่ทำให้เขาสามารถติดตามเบาะแสไปยัง อเล็กซ์ ดิมิทรีโอสและเลอ ชีฟร์ การลงทุนของเลอ ชีฟร์คือการถอนหุ้นของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ จากนั้นก็สร้างแผนการก่อการร้ายกับบริษัทดังกล่าว เพื่อให้ราคาหุ้นของบริษัทตก บอนด์ทำลายแผนการของ เลอ ชีฟร์ ที่ต้องการจะทำลายเครื่องบินต้นแบบของ สกายฟลีต ทำให้เลอ ชีฟร์ต้องจัดการแข่งขันโป๊กเกอร์เดิมพันสูงที่คาสิโนรอยาล เพื่อชดเชยเงินของเขาที่เสียไป บอนด์ได้รับคำสั่งให้เอาชนะเลอ ชีฟร์ในการแข่งขันดังกล่าว โดยบอนด์ได้รับการช่วยเหลือจาก เวสเปอร์ ลินด์ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังอังกฤษ
บอนด์เอาชนะเลอ ชีฟร์ในเกมโป๊กเกอร์ได้สำเร็จ แต่ลินด์ถูกลักพาตัวไปโดยเลอ ชีฟร์ บอนด์ถูกจับขณะที่กำลังไล่ล่าพวกเขา ลินด์ถูกจับเรียกค่าไถ่เป็นเงินและบอนด์ถูกทรมาน เลอ ชีฟร์ถูกฆ่าโดย มิสเตอร์ไวต์ ผู้ประสานงานระหว่างเลอ ชีฟร์กับลูกค้าของเขาจำนวนหนึ่ง บอนด์ได้รับการแจ้งว่ากระทรวงการคลังยังไม่ได้รับเงินที่ได้จากการชนะเกมโป๊กเกอร์ของเขา ซึ่งก่อนหน้านี้ลินด์เป็นคนที่นำเงินไปฝากเอง บอนด์พบว่าแท้จริงแล้วลินด์เป็นสายลับสองหน้า บอนด์ไล่ตามเธอและถูกโจมตีด้วยคนจากองค์กรของไวต์ บอนด์รอดชีวิต แต่ไวต์เอาเงินไปและลินด์ก็ฆ่าตัวตายเพื่อแลกกับชีวิตของบอนด์ ซึ่งเขามารู้ในภายหลังจากเอ็ม บอนด์ตามหาและจับกุมไวต์
007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก (2008)
ขณะที่บอนด์กับเอ็มกำลังสอบปากคำ มิสเตอร์ไวต์ เกี่ยวกับองค์กรควอนตัมของเขา มิตต์เชลล์ หนึ่งในผู้คุ้มกันของเอ็ม เป็นสายลับสองหน้า โจมตีเอ็มและบอนด์ ทำให้เป็นการเปิดช่องทางให้ไวต์หลบหนี บอนด์ติดตามเบาะแสขององค์กรไปยังประเทศเฮติและพบกับนักสิ่งแวดล้อม ดอมินิก กรีน
บอนด์ค้นพบแผนการของกรีนและเมดราโน นายพลชาวโบลิเวียที่ถูกเนรเทศ กรีนต้องการให้เมดราโนกลับคืนสู่อำนาจในโบลิเวีย ขณะที่ควอนตัมได้รับการผูกขาดในการจัดหาแหล่งน้ำประปาให้กับประเทศ บอนด์พบว่าควอนตัมได้สร้างแหล่งกักเก็บน้ำจืดของโบลิเวียไว้ เพื่อบังคับให้น้ำจืดมีราคาสูงขึ้น บอนด์โจมตีโรงแรมที่กรีนและเมดราโนกำลังสรุปแผนการของพวกเขา บอนด์ปล่อยกรีนไว้กลางทะเลทรายพร้อมกับกระป๋องน้ำมันเครื่องให้กับเขา บอนด์พบว่า ยูเซฟ คาบิรา อดีตคนรักของเวสปอร์ ลินด์ เป็นสมาชิกองค์กรควอนตัม
พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 (2012)
หลังปฏิบัติการในอิสตันบูลจบลงด้วยความล้มเหลว บอนด์หายตัวไปและคาดว่าเสียชีวิต หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เอ็มถูกตั้งคำถามถึงความสามารถในการบริหารหน่วยสืบราชการลับของเธอและถูกตรวจสอบโดยรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ของเธอ สำนักงานใหญ่ของเอ็มไอ6 ถูกโจมตี ทำให้บอนด์ต้องกลับมาที่ลอนดอน บอนด์ช่วยการสืบสวนของเอ็มไอ6 ในการตามหาเบาะแส บอนด์ถูกส่งไปเซี่ยงไฮ้และมาเก๊า เพื่อตามล่ามือปืนรับจ้างชื่อว่า พาทรีซ ที่นั่นเขาได้รับรู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือ ราอูล ซิลวา อดีตสายลับเอ็มไอ6 ซึ่งถูกจับและทรมานโดยสายลับจีน โดยซิลวาโทษเอ็มที่ไม่ช่วยเหลือเขา เขาจึงวางแผนทำลายชื่อเสียงของเธอก่อนที่จะฆ่าเธอ บอนด์ช่วยชีวิตเอ็มและล่อซิลวาให้มาติดกับดัก ขณะที่บอนด์เอาชนะการโจมตีของซิลวาได้ เอ็มบาดเจ็บสาหัสจนเสียชีวิต บอนด์กลับมาทำหน้าที่เป็นสายลับ ภายใต้การบังคับบัญชาของเอ็มคนใหม่ แกเร็ธ มัลลอรี
องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (2015)
หลังเอ็มคนเก่าเสียชีวิตใน พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 เธอได้ส่งข้อความถึงบอนด์ให้ขัดขวางการก่อการร้ายในเม็กซิโกซิตี แกเร็ธ มัลลอรี ปลดบอนด์ออกจากการปฏิบัติหน้าที่หลังเขาปฏิบัติงานอย่างผิดกฎหมาย แต่บอนด์ก็สืบสวนต่อไป ซึ่งจากเบาะแสพาเขาไปยังโรม โดยบอนด์ได้พบกับองค์กรก่อการร้ายที่น่ากลัว ชื่อว่า "สเปกเตอร์" ต่อมา บอนด์เดินทางไปออสเตรีย เขาได้พบกับอดีตศัตรู มิสเตอร์ไวต์ ผู้ที่สเปกเตอร์สั่งให้สังหารด้วยพิษแทลเลียม ไวต์ขอให้บอนด์ช่วยปกป้องลูกสาวของเขา แมเดเลน สวอนน์ จากสเปกเตอร์และหัวหน้าขององค์กร ฟรานซ์ โอเบอร์เฮาเซอร์ ก่อนที่ไวต์จะฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกัน มัลลอรี ถูกกดดันให้หน่วยข่าวกรองของอังกฤษเข้าร่วมเครือข่ายการแบ่งปันข่าวกรองระดับโลก ชื่อว่า "นายน์ อายส์" บอนด์ติดตามสเปกเตอร์ไปยังโมร็อกโกด้วยความช่วยเหลือของสวอนน์ และรับรู้ว่าสเปกเตอร์คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายและสร้างความต้องการให้เกิด นายน์ อายส์ ขึ้น สเปกเตอร์ควบคุม นายน์ อายส์ ทำให้พวกเขาเข้าถึงเครือข่ายการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรอง โอเบอร์เฮาเซอร์จับกุมและทรมานบอนด์ เปิดเผยว่าพ่อของเขาคือผู้อุปการะบอนด์หลังพ่อแม่ของบอนด์เสียชีวิต พร้อมเปิดเผยชื่อจริงเขาคือ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ เขาอ้างว่าเป็นคนที่ทำให้บอนด์ประสบกับความยากลำบากในอาชีพของเขา บอนด์และสวอนน์หลบหนีและกลับไปที่ลอนดอน ทั้งสองคนได้เข้าร่วมกับมัลลอรีและคิว เพื่อปิดระบบ นายน์ อายส์ และเผชิญหน้าโบลเฟลด์[46][47][48]
007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (2021)
เจมส์ บอนด์ เลิกเป็นสายลับแล้วในขณะที่เพื่อนของเขา ฟีลิกซ์ ไลเทอร์ ได้ขอความช่วยเหลือจากบอนด์ให้ช่วยตามหานักวิทยาศาสตร์ซึ่งหายตัวไป เมื่อรู้ว่านักวิทยาศาสตร์ถูกลักพาตัวไป บอนด์ต้องเผชิญหน้ากับอันตรายที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน[49]
ภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างโดยอีออน
มีภาพยนตร์บอนด์สองเรื่องที่ไม่ได้สร้างโดยอีออนโปรดักชัน โดยทำเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ชื่อ | ปี | ผู้รับบทเป็นบอนด์ | ผู้กำกับ | ทำเงิน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] | ทุนสร้าง (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามจริง | ปรับอัตราเงินเฟ้อปี 2023 | ตามจริง | ปรับอัตราเงินเฟ้อปี 2023 | |||||
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 | 1967 | เดวิด นิเวน | เค็น ฮิวจ์ส จอห์น ฮูสตัน โจเซฟ แม็คกราธ โรเบิร์ต พาร์ริช วาล เกสต์ ริชาร์ด ทาลแมดจ์ |
44.4 | 406.0 | 12.0 | 110.0 | [50][51][33] |
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ | 1983 | ฌอน คอนเนอรี | เออร์วิน เคิร์ชเนอร์ | 160.0 | 489.0 | 36.0 | 110.0 | [52][33] |
ทั้งหมด | 204.4 | 895.0 | 48.0 | 220.0 |
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (1967)
บอนด์ถูกบังคับให้ออกจากการเกษียณเพื่อรับมือกับองค์การสเมอร์ช เขาได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเอ็มไอ6 หลังเอ็มเสียชีวิต บอนด์ได้ให้นักเล่นไพ่บาคะรา เอเวอลีน เทรมเบิล เอาชนะ เลอ ชีฟร์ ซึ่งเป็นสายลับของสเมอร์ช โดย เลอ ชีฟร์ นั้นได้ยักยอกเงินของสเมอร์ช ทำให้เขาต้องการเงินอย่างมากเพื่อมาปกปิดการกระทำของเขา เทรมเบิล หยุดการโกงของเลอ ชีฟร์แล้วเอาชนะเขาในเกมบาคะรา เทรมเบิลถูกจับ ทรมานและโดนสังหาร บอนด์รู้ว่าคาสิโนนั้นตั้งอยู่เหนือสำนักงานใหญ่ใต้ดินของสเมอร์ช ซึ่งดำเนินการโดย ดร. โนอาห์ ผู้ชั่วร้าย บอนด์กับมันนีเพนนีเดินไปที่นั่นเพื่อสืบสวน ดร. โนอาห์ แท้จริงแล้วคือ จิมมี บอนด์ หลานชายของเซอร์ เจมส์ โดยเขาวางแผนที่จะใช้สงครามชีวภาพทำให้ผู้หญิงสวยทุกคนและสังหารผู้ชายตัวสูง ทำให้เขาเป็น "ผู้ชายตัวใหญ่" และได้ผู้หญิงทุกคน คาสิโนถูกบุกโดยสายลับและกองทัพจากชาติต่าง ๆ แต่คาสิโนเกิดระเบิด สังหารทุกคนที่อยู่ในนั้น
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (1983)
บอนด์สืบสวนการปล้นขีปนาวุธร่อนจำนวนสองลูกซึ่งหัวรบนิวเคลียร์ ซึ่งถูกเอาไปโดยสเปกเตอร์ เขาพบกับ ดอมิโน เพทาชิ น้องสาวของนักบินและคนรักของเธอ แมกซิมิเลียน ลาร์โก หมายเลขหนึ่งของสเปกเตอร์ ซึ่งเป็นผู้รับคำสั่งโดยตรงจากโบลเฟลด์ หลังบอนด์ตามพวกเขาไปยังฝรั่งเศส บอนด์บอกดอมิโนว่าพี่ชายของเธอได้เสียชีวิตแล้ว และพบเพื่อนร่วมงานเอ็มไอ6 ของเขาถูกฆ่าโดย ฟาติมา บลุช สายลับของสเปกเตอร์ บอนด์สังหารเธอ บอนด์และเฟลิกซ์ ไลเทอร์ พยายามที่จะขึ้นเรือยอชต์ของลาร์โก เดอะฟลายอิงซอเซอร์ เพื่อค้นหาหัวรบนิวเคลียร์ที่หายไป บอนด์ติดกับและถูกนำตัวพร้อมกับดอมิโน ไปที่ ปาล์ไมรา ฐานปฏิบัติการในแอฟริกาเหนือของลาร์โก แต่บอนด์สามารถหนีไปพร้อมกับดอมิโน สายลับทั้งสองคนซุ่มโจมตีลาร์โกขณะที่เขากำลังวางระเบิดลูกหนึ่งอยู่
การตอบรับจากนักวิจารณ์และผู้ชมทั่วไป
ภาพยนตร์ | นักวิจารณ์ | ผู้ชมทั่วไป | |
---|---|---|---|
รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก | ซีนะมาสกอร์ | |
ภาพยนตร์สร้างโดยอีออน | |||
พยัคฆ์ร้าย 007 | 95% (60 บทวิจารณ์)[53] | 78 (8 บทวิจารณ์)[54] | |
เพชฌฆาต 007 | 95% (62 บทวิจารณ์)[55] | 83 (18 บทวิจารณ์)[56] | |
จอมมฤตยู 007 | 99% (69 บทวิจารณ์)[57] | 87 (12 บทวิจารณ์)[58] | |
ธันเดอร์บอลล์ 007 | 87% (52 บทวิจารณ์)[59] | 64 (9 บทวิจารณ์)[60] | |
จอมมหากาฬ 007 | 73% (52 บทวิจารณ์)[61] | 61 (14 บทวิจารณ์)[62] | |
007 ยอดพยัคฆ์ราชินี | 81% (54 บทวิจารณ์)[63] | 61 (12 บทวิจารณ์)[64] | |
007 เพชรพยัคฆราช | 64% (50 บทวิจารณ์)[65] | 59 (11 บทวิจารณ์)[66] | |
พยัคฆ์มฤตยู 007 | 65% (52 บทวิจารณ์)[67] | 55 (9 บทวิจารณ์)[68] | |
007 เพชฌฆาตปืนทอง | 39% (51 บทวิจารณ์)[69] | 43 (11 บทวิจารณ์)[70] | |
007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก | 80% (56 บทวิจารณ์)[71] | 55 (12 บทวิจารณ์)[72] | |
007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ | 60% (53 บทวิจารณ์)[73] | 66 (13 บทวิจารณ์)[74] | |
007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต | 73% (52 บทวิจารณ์)[75] | 54 (12 บทวิจารณ์)[76] | |
007 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ | 43% (49 บทวิจารณ์)[77] | 63 (14 บทวิจารณ์)[78] | |
007 พยัคฆ์ร้ายพญายม | 38% (61 บทวิจารณ์)[79] | 40 (20 บทวิจารณ์)[80] | |
007 พยัคฆ์สะบัดลาย | 74% (57 บทวิจารณ์)[81] | 60 (17 บทวิจารณ์)[82] | A[83] |
007 รหัสสังหาร | 78% (59 บทวิจารณ์)[84] | 58 (25 บทวิจารณ์)[85] | B+[83] |
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก | 79% (82 บทวิจารณ์)[86] | 65 (18 บทวิจารณ์)[87] | A−[83] |
007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย | 56% (90 บทวิจารณ์)[88] | 52 (38 บทวิจารณ์)[89] | A−[83] |
007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก | 52% (145 บทวิจารณ์)[90] | 57 (38 บทวิจารณ์)[91] | B+[83] |
ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ | 56% (222 บทวิจารณ์)[92] | 56 (43 บทวิจารณ์)[93] | A−[83] |
007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก | 94% (263 บทวิจารณ์)[94] | 80 (46 บทวิจารณ์)[95] | A−[83] |
007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก | 64% (298 บทวิจารณ์)[96] | 58 (48 บทวิจารณ์)[97] | B−[83] |
พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 | 92% (382 บทวิจารณ์)[98] | 81 (49 บทวิจารณ์)[99] | A[83] |
องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย | 63% (364 บทวิจารณ์)[100] | 60 (48 บทวิจารณ์)[101] | A–[83] |
007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ | 84% (289 บทวิจารณ์)[102] | 69 (60 บทวิจารณ์)[103] | A–[83] |
ภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างโดยอีออน | |||
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 | 25% (40 บทวิจารณ์)[104] | 48 (11 บทวิจารณ์)[105] | |
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ | 70% (53 บทวิจารณ์)[106] | 68 (15 บทวิจารณ์)[107] |
รางวัล
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ได้รับการเสนอชื่อในรางวัลต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาห้าสิบปี โดยภาพยนตร์ส่วนใหญ่ชนะเลิศในรางวัลแบฟตา, รางวัลลูกโลกทองคำและรางวัลออสการ์ นอกจากนี้ อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี ยังได้รับรางวัลอนุสรณ์เอิร์ฟวิง จี. ธัลเบิร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1982[108]
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ที่ไม่ได้เสนอชื่อเข้าชิงในรางวัลใด ๆ ได้แก่ 007 เพชฌฆาตปืนทอง, 007 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์, 007 พยัคฆ์สะบัดลาย, 007 รหัสสังหาร และ 007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก
ภาพยนตร์ | รางวัล |
---|---|
ภาพยนตร์ที่สร้างโดยอีออน | |
พยัคฆ์ร้าย 007 | ชนะเลิศ, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงหน้าใหม่แห่งปี – นักแสดงหญิง ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 21[109] |
เพชฌฆาต 007 | ชนะเลิศ, รางวัลแบฟตา สาขาการถ่ายทำภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสัญชาติอังกฤษ: ภาพสี ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 17[110] เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 22[111] |
จอมมฤตยู 007 | ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาเสียงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 37[112] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาทิศทางศิลปะยอดเยี่ยมสัญชาติอังกฤษ: ภาพสี ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 18[113] |
ธันเดอร์บอลล์ 007 | ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 38[114] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาทิศทางศิลปะยอดเยี่ยมสัญชาติอังกฤษ: ภาพสี ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 19[115] |
จอมมหากาฬ 007 | เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาทิศทางศิลปะยอดเยี่ยมสัญชาติอังกฤษ: ภาพสี ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 21[116] |
007 ยอดพยัคฆ์ราชินี | เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงหน้าใหม่แห่งปี – นักแสดงชาย ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 27[117] |
007 เพชรพยัคฆราช | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 44[118] |
พยัคฆ์มฤตยู 007 | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 46[119] |
007 เพชฌฆาตปืนทอง | |
007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ในสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, เพลงประกอบยอดเยี่ยมและออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 50[120] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาการออบแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 31[121] เข้าชิง, รางวัลแอนโธนี่ แอสควิธ ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 31[121] เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 35[122] เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 35[122] |
007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 52[123] |
007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 54[124] เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 39[125] |
007 เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ | |
007 พยัคฆ์ร้ายพญายม | เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 43[126] |
007 พยัคฆ์สะบัดลาย | |
007 รหัสสังหาร | |
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก | เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 49[127] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 49[128] |
007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย | เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 55[129] |
007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก | |
ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ | เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60[130] |
007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก | ชนะเลิศ, รางวัลแบฟตา สาขาเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[131] เข้าชิง, รางวัลอเล็กซานเดอร์ คอร์ดา สาขาภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[132] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[131] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[131] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาการดัดแปลงบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[131] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาการออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60s[131] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาการตัดต่อยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[133] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[133] เข้าชิง, รางวัลแอนโธนี่ แอสควิธ สำหรับความสำเร็จในเพลงประกอบภาพยนตร์ ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 60[133] |
007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก | เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 62[134] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 62[134] |
พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 | ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85[135] ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85[135] ชนะเลิศ, สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลสมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแอนเจลิส[136] ชนะเลิศ, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 70[137] ชนะเลิศ, รางวัลแบฟตา สาขาภาพยนตร์อังกฤษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 66[138] ชนะเลิศ, รางวัลแบฟตา สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 66[138] เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85[135] เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85[135] เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 85[135] |
องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย | ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 88 |
007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ | ชนะเลิศ, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 ชนะเลิศ, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 79 เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 |
ภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างโดยอีออน | |
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 | เข้าชิง, รางวัลออสการ์ สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 40[139] เข้าชิง, รางวัลแบฟตา สาขาทิศทางเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมสัญชาติอังกฤษ: ภาพสี ในงานประกาศรางวัลแบฟตา ครั้งที่ 21[116] |
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ | เข้าชิง, รางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม - ภาพยนตร์ ในงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 41[140] |
ดูเพิ่ม
- สาวบอนด์
- คาสิโนรอยาล (ไคลแมกซ์!), ละครโทรทัศน์คนแสดงที่ดัดแปลงจากนวนิยายของเอียน เฟลมมิงครั้งแรก
- เพลงเจมส์ บอนด์
- แผนผังของเจมส์ บอนด์
อ้างอิงและบรรณานุกรม
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Poliakoff, Keith (2000). "License to Copyright – The Ongoing Dispute Over the Ownership of James Bond". Cardozo Arts & Entertainment Law Journal. 18: 387–436.
- ↑
Shprintz, Janet (29 March 1999). "Big Bond-holder". Variety. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
Judge Rafeedie ... found that McClory's rights in the "Thunderball" material had reverted to the estate of Fleming
- ↑ Chapman 2009, p. 5.
- ↑ Chapman 2009, p. 43.
- ↑
Judge M. Margaret McKeown (27 August 2001). "Danjaq et al. v. Sony Corporation et al" (PDF). United States Court of Appeals for the Ninth Circuit. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 October 2006. สืบค้นเมื่อ 27 November 2006.
in 1962 ... Danjaq teamed up with United Artists to produce Bond films.
- ↑ "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
- ↑ "The 54th Academy Awards (1982)". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ Balio 1987, p. 255.
- ↑ "Casino Royale (1967)". Metro-Goldwyn-Mayer. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
- ↑ "The Lost Bond". Total Film. Future Publishing. 27 February 2008. สืบค้นเมื่อ 13 October 2011.
- ↑ "Metro-Goldwyn-Mayer Inc. announces acquisition of Never Say Never Again James Bond assets" (Press release). Metro-Goldwyn-Mayer. 4 December 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2008. สืบค้นเมื่อ 16 March 2008.
- ↑ Sterngold, James (30 March 1999). "Sony Pictures, in an accord with MGM, drops its plan to produce new James Bond films". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 March 2008.
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 13.16 13.17 13.18 13.19 13.20 13.21 Block & Autrey Wilson 2010, pp. 428–429.
- ↑ 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 14.11 14.12 14.13 14.14 14.15 Cork & Scivally 2002, pp. 300–303.
- ↑ "From Russia With Love (1963)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Goldfinger (1964)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Thunderball (1965)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "You Only Live Twice (1967)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Diamonds Are Forever (1971)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "The Man with the Golden Gun (1974)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "The Spy Who Loved Me (1977)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Moonraker (1979)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "The Living Daylights (1987)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Licence to Kill (1989)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "GoldenEye (1995)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Tomorrow Never Dies (1997)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "The World Is Not Enough (1999)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Die Another Day (2002)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Casino Royale (2006)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
- ↑ "Quantum of Solace (2008)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2009. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Skyfall (2012)". Box Office Mojo. IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ Smith, Grady (1 November 2012). "Box office update: 'Skyfall' blazes past $100 million internationally". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2012. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ Pamela McClintock (4 November 2015). "Box-Office Preview: 'Spectre' and 'Peanuts Movie' to the Rescue". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
- ↑ Anthony D'Alessandro (7 November 2015). "Spectre Now Targeting $73M to $74M Opening; The Peanuts Movie Cracking $40M-$45M – Updated". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
- ↑ Brent Lang (4 November 2015). "Box Office: Spectre Needs to Make $650 Million to Break Even". Variety. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
- ↑ Ben Fritz (8 November 2015). "Spectre, The Peanuts Movie Give Box Office a Welcome Boost". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
- ↑ Scott Mendelson (21 October 2015). "'Spectre' Doesn't Need To Top 'Skyfall' Because 'James Bond' Is A Bullet-Proof Franchise". Forbes. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
- ↑ Alicia Adejobi (25 October 2015). "Spectre movie in numbers: Daniel Craig salary, film budget and James Bond theme tune sales". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
- ↑ Anthony D'Alessandro (9 November 2015). "Even Shy Of Skyfall, Spectre Picked Up Sluggish Box Office; Will It Turn A Profit? – Monday Postmortem". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
- ↑ "Spectre (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "No Time to Die (2021)". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ Ford, Rebecca (6 November 2019). "Bond Women: How Rising Stars Lashana Lynch and Ana de Armas Are Helping Modernize 007". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
- ↑ Lang, Brent; Donnelly, Matt (30 October 2020). "Breaking Down MGM's Costly 'No Time to Die' Dilemma". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
- ↑ Munden 1997, p. 415.
- ↑ "Bond returns in Spectre". 007.com. Eon Productions. 4 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
- ↑ Martin, William (4 December 2014). "'SPECTRE': Poster and synopsis revealed for new Bond film". Cultbox. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
- ↑ "Sam Mendes: Spectre about Bond's childhood". BBC Entertainment. BBC. 27 February 2015. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
- ↑ "Bond 25 start of production". 007.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ "Box Office History for James Bond Movies". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ 5 October 2011.
- ↑ "Casino Royale (1967)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Never Say Never Again (1983)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
- ↑ "Dr. No (1962)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Dr. No Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "From Russia with Love (1963)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "From Russia with Love Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Goldfinger (1964)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Goldfinger Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Thunderball (1965)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Thunderball Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "You Only Live Twice (1967)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "You Only Live Twice Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "On Her Majesty's Secret Service (1969)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "On Her Majesty's Secret Service Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Diamonds Are Forever (1971)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Diamonds Are Forever Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Live and Let Die (1973)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Live and Let Die Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Man with the Golden Gun (1974)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Man with the Golden Gun Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Spy Who Loved Me (1977)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Spy Who Loved Me Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Moonraker (1979)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Moonraker Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "For Your Eyes Only (1981)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "For Your Eyes Only Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Octopussy (1983)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Octopussy Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "A View to a Kill (1985)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "A View to a Kill Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Living Daylights (1987)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The Living Daylights Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ 83.00 83.01 83.02 83.03 83.04 83.05 83.06 83.07 83.08 83.09 83.10 "CinemaScore". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Licence to Kill (1989)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Licence to Kill Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "GoldenEye (1995)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "GoldenEye Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Tomorrow Never Dies (1997)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Tomorrow Never Dies". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The World Is Not Enough (1999)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "The World Is Not Enough Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Die Another Day (2002)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Die Another Day Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Casino Royale (2006)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Casino Royale Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Quantum of Solace (2008)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Quantum of Solace Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Skyfall (2012)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Skyfall Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Spectre (2015)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Spectre Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "No Time to Die". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 9 October 2021.
- ↑ "No Time to Die". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
- ↑ "Casino Royale (1967)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Casino Royale (1967) Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Never Say Never Again (1983)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Never Say Never Again Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "Academy Awards Database". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 October 2012.
- ↑ "The 21st Annual Golden Globe Awards (1964)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "BAFTA Awards 1963". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 21st Annual Golden Globe Awards (1964)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 37th Academy Awards (1965) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "BAFTA Awards 1964". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 38th Academy Awards (1966) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "BAFTA Awards 1964". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 116.0 116.1 "BAFTA Awards 1967". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 27th Annual Golden Globe Awards (1970)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 44th Academy Awards (1971) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 26 September 2012.
- ↑ "The 46th Academy Awards (1974) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "The 50th Academy Awards (1978) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ 121.0 121.1 "BAFTA Awards 1977". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 122.0 122.1 "The 35th Annual Golden Globe Awards (1978)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 52nd Academy Awards (1979) Nominees and Winners". Oscar Legacy. Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 26 September 2012.
- ↑ "The 54th Academy Awards (1982)". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "The 39th Annual Golden Globe Awards (1982)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 43rd Annual Golden Globe Awards (1986)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "BAFTA Awards 1995". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "BAFTA Awards 1995". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 55th Annual Golden Globe Awards (1998)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "The 60th Annual Golden Globe Awards (2003)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 131.0 131.1 131.2 131.3 131.4 "BAFTA Awards 2006". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ "BAFTA Awards 2006". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 133.0 133.1 133.2 "BAFTA Awards 2006". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 134.0 134.1 "BAFTA Awards 2008". BAFTA Awards Database. British Academy of Film and Television Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
- ↑ 135.0 135.1 135.2 135.3 135.4 "The 85th Academy Awards (2013) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 25 February 2013.
- ↑ "LA Film Critics Vote Michael Haneke's 'Amour' Best Pic, Paul Thomas Anderson Best Director For 'The Master'". 9 December 2012. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.
- ↑ "The 70th Annual Golden Globe Awards (2013)". Golden Globe Awards. Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2013. สืบค้นเมื่อ 2 February 2013.
- ↑ 138.0 138.1 "Bafta Film Awards 2013: The winners". BBC News. 10 February 2013. สืบค้นเมื่อ 25 February 2013.
- ↑ "The 40th Academy Awards (1968) Nominees and Winners". Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS). สืบค้นเมื่อ 27 October 2011.
- ↑ "The 41st Golden Globes Winners and Nominees". Hollywood Foreign Press Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
บรรณานุกรม
- Balio, Tino (1987). United Artists: The Company That Changed the Film Industry. Madison: University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-11440-4.
- Block, Alex Ben; Autrey Wilson, Lucy (2010). George Lucas's Blockbusting: A Decade-by-Decade Survey of Timeless Movies Including Untold Secrets of Their Financial and Cultural Success. London: HarperCollins. ISBN 978-0-06-177889-6.
- Chapman, James (2009). Licence To Thrill: A Cultural History of the James Bond Films. London: I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-515-9.
- Cork, John; Scivally, Bruce (2002). James Bond: The Legacy. London: Boxtree. ISBN 978-0-7522-6498-1.
- Munden, Kenneth White (1997) [1976]. The American Film Institute Catalog of Motion Pictures Produced in the United States, Part 2. Berkeley and Los Angeles, California: University of California Press. ISBN 978-0-5202-0970-1.