ราเนเฟอร์
ราเนเฟอร์ ในไฮเออโรกลีฟ | ||||
---|---|---|---|---|
Rˀ-nfr รา-เนเฟอร์ ความงามแห่งรา |
ราเนเฟอร์ (หรือ ราโนเฟอร์) เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ที่สี่ (ราชอาณาจักรอียิปต์เก่า)[1] พระนามของพระองค์ หมายถึง "ความงามแห่งรา"
ราเนเฟอร์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู[2] เป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สี่[3] พระมารดาของพระองค์ อาจจะเป็นพระมเหสีหรือพระสนมของฟาโรห์สเนเฟรู ซึ่งยังไม่ทราบพระนามของพระมารดาของพระองค์ พระเชษฐาของราเนเฟอร์คือ เจ้าชายเนเฟอร์มาอัตที่ 1 และเจ้าชายราโฮเทป[4][5] พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระบิดาของพระองค์ และก่อนที่ฟาโรห์คูฟู (พระเชษฐาร่วมพระบิดา) ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์สเนฟรู[6]
ราเนเฟอร์มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลพระบิดาของพระองค์[7] และพระองค์ได้ถูกฝังอยู่ภายในสุสานมาสตาบาที่ไมดุม[8] ในหลุมฝังพระศพได้มีการค้นพบซากศพที่ยังเหลืออยู่ในผ้าลินิน[9] มัมมี่ของพระองค์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของเทคนิคการทำมัมมี่ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยอาณาจักรเก่า[10] ร่างมัมมี่ของพระองค์หันหน้าไปทางทิศตะวัน ซึ่งมีการตกแต่งมัมมี่ โดยผมของมัมมี่ถูกทาสีดำ คิ้วและดวงตาเป็นสีเขียว[11] ขณะที่ปากทาเป็นสีแดง สมองยังคงอยู่ในกะโหลกศีรษะและอวัยวะภายในถูกพบในโถคาโนปิกในหลุมฝังพระศพ[12]
อ้างอิง
- ↑ Aidan Dodson and Dyan Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt: A Genealogical Sourcebook of the Pharaohs, 2004, Thames & Hudson
- ↑ "Bart, Anneke, Seneferu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
- ↑ Hill, Jenny. "Children and grandchildren of Sneferu".
- ↑ The California Institute for Ancient Studies. "The Kings of the 4th Dynasty".
- ↑ Old Kingdom Monuments Organized by Ruler, Wikiversity
- ↑ Snofru, Ranefer's father
- ↑ Justine Victoria Way, From Privilege to Poverty: The Life-cycle of Pyramid Settlements During the Old Kingdom
- ↑ Marsh, Cynthia. "Egyptian Pharaoh Sneferu and His Overachieving Children".
- ↑ "Death and the afterlife in ancient Egypt". Preservation of the viscera.
{cite web}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Ikram & Dodson 1998:110-111
- ↑ Petrie, William Matthew Flinders. "Medum".
- ↑ McArthur, Riana (31 August 2011). The Evolution of the Technique of Human Mummification (ca.5000 BCE – ca.395 CE). p. 17.