ร็อก
ร็อก | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ร็อกแอนด์โรล, บลูส์, อิเล็กทริกบลูส์, แจ๊ส, ดนตรีโฟล์ก, คันทรี, ริทึมแอนด์บลูส์, โซล |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | คริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 ใน สหรัฐอเมริกา และ สหราชอาณาจักร |
เครื่องบรรเลงสามัญ | ร้อง, กีตาร์ไฟฟ้า, กีตาร์เบส, กีตาร์โปร่ง, กลองชุด, เปียโน, เครื่องสังเคราะห์เสียง, คีย์บอร์ด |
รูปแบบอนุพันธุ์ | นิวเอจ - ซินธ์ป็อป |
แนวย่อย | |
ไซเคเดลิกร็อก - อัลเทอร์เนทีฟร็อก - พังก์ร็อก - เฮฟวีเมทัล - อาร์ตร็อก - คริสเตียนร็อก - ดีเสิร์ตร็อก - ดีทรอยต์ร็อก - เอกซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก - การาจร็อก - แกลมร็อก - Group Sounds - กรันจ์ - ฮาร์ดร็อก - ฮาร์ตแลนด์ร็อก - อินสตรูเมนทอลร็อก -อินดีร็อก - แจงเกิลป็อป - เคราต์ร็อก - พาวเวอร์ป็อป - โปรโตพังก์ - ซอฟต์ร็อก - เซาเทิร์นร็อก - ดนตรีเสิร์ฟ - ซิมโฟนิกร็อก | |
แนวประสาน | |
แร็ปร็อก - บังก้าร็อก - อบอริจินอลร็อก - แอฟโฟร-ร็อก - อนาโตเลียนร็อก - บลูส์-ร็อก - บูกาลู - คันทรีร็อก - ฟลาเมนโก-ร็อก - โฟล์กร็อก - แกลมพังก์ - อินโด-ร็อก - พังก์ร็อก - แจ๊ซฟิวชัน - แมดเชสเตอร์ - เมอร์เซย์บีต - โพรเกรสซีฟร็อก - ปันตาร็อก - ราการ็อก - Raï rock - ร็อกอะบิลลี - Rockoson - Samba-rock - Space rock - สโตเนอร์ร็อก - Sufi rock | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
แบ็กบีต - ร็อกโอเปรา - วงร็อก - ร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม |
ร็อก (อังกฤษ: Rock) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[1][2] ดนตรีร็อกมีต้นกำเนิดจากร็อกแอนด์โรลของยุค 1940 และ 1950 มีอิทธิพลมาจากแนวเพลงบลูส์ ริทึมแอนด์บลูส์ และคันทรี ดนตรีร็อกยังนำมาสู่แนวเพลงอื่น ๆ ได้แก่อิเล็กทริกบลูส์ และโฟล์ก และมีอิทธิพลร่วมมาจากดนตรีแจ๊ส ดนตรีคลาสสิก และแหล่งดนตรีอื่น ๆ
ด้านดนตรี ดนตรีร็อกมีศูนย์กลางที่กีตาร์ไฟฟ้า มักจะเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีร็อกที่มีกีตาร์เบสไฟฟ้าและกลอง ปกติแล้ว เพลงที่เป็นดนตรีร็อกจะมีอัตราจังหวะ 4/4 ใช้รูปแบบท่อนเวิร์ส–คอรัส แต่เพลงประเภทนี้มีความหลากหลายมากขึ้น เนื้อเพลงมักเน้นย้ำเรื่องของความรักใคร่ เช่นเดียวกับเพลงป็อป แต่ก็กล่าวถึงเนื้อหาอื่นที่มักเน้นเรื่องสังคมหรือการเมือง นักดนตรีเพศชายผิวขาวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเนื้อหาต่าง ๆ มากมายในเพลงร็อก
ดนตรีร็อกมักเต็มไปด้วยเสียงกีตาร์แบบแบ็กบีตจากส่วนจังหวะของกีตาร์เบสไฟฟ้า กลองและคีย์บอร์ด อย่างออร์แกน เปียโน หรือตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็มีการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง ร่วมไปกับกีตาร์และคีย์บอร์ด ยังมีการใช้แซกโซโฟน และฮาร์โมนิกาในแบบบลูส์ก็มีใช้บ้างในท่อนโซโล ในรูปแบบร็อกบริสุทธิ์แล้ว ใช้ 3 คอร์ด จังหวะแบ็กบีตที่แข็งแรงและหนักแน่น รวมถึงมีเมโลดีติดหู[3]
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เพลงร็อกพัฒนาจนแตกแยกย่อยเป็นหลายแนวเพลง และเมื่อรวมกับเพลงโฟล์กแล้วจึงเป็น โฟล์กร็อก รวมกับบลูส์เป็น บลูส์-ร็อก รวมกับแจ๊ซเป็น แจ๊ซ-ร็อก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ร็อกยังเกี่ยวข้องกับเพลงโซล ฟังก์และละติน เช่นเดียวกันในยุคนี้ร็อกยังได้เกิดแนวเพลงย่อยอีกหลายแนวเช่น ซอฟต์ร็อก เฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก โพรเกรสซีฟร็อกและพังก์ร็อก ส่วนแนวเพลงย่อยร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น นิวเวฟ ฮาร์ดคอร์พังก์และอัลเทอร์เนทีฟร็อก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงย่อยที่เกิดเช่น กรันจ์ บริตป็อป อินดี้ร็อกและนูเมทัล
มีวงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี ในบางครั้งอาจเป็นวง 3 คนหรือวงดูโอซึ่งอาจมีนักดนตรีเสริมเข้ามาอย่างกีตาร์ริธึมหรือคีย์บอร์ด บางวงอาจมีการใช้เครื่องดนตรีสายอย่างไวโอลิน เชลโล หรือเครื่องเป่าอย่าง แซกโซโฟน ทรัมเปต หรือ ทรอมโบน แต่มีวงไม่มากนักที่ใช้
ดนตรีร็อกในช่วงแรก ๆ มีความเกี่ยวข้องต่อการเคลื่อนไหวของวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวในสหรัฐอย่างมากโดยมีเนื้อหาเสียดสีหรือสะท้อนการเมือง เพศ คติชน เชื้อชาติ ซึ่งถูกมองว่าเป็นการต่อต้านระบบทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง
อ้างอิง
- ↑ W. E. Studwell and D. F. Lonergan, The Classic Rock and Roll Reader: Rock Music from its Beginnings to the mid-1970s (Abingdon: Routledge, 1999), ISBN 0-7890-0151-9
- ↑ Pop/Rock ที่ออลมิวสิก
- ↑ allmusic - Rock and Roll