ลัทธิเค้าโครง (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)

ลัทธิเค้าโครงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ ลัทธิสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) คือ แนวคิดที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละรัฐทำประโยชน์ให้กับประเทศของตน โดยผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเป็นแบบที่สัจนิยม (realism) ว่าไว้ คือ ไร้ผู้ควบคุม (อนาธิปไตย) ต่างคนต่างชิงดี ผู้ใหญ่ข่มผู้น้อยจากพลังอำนาจที่เหนือกว่า แต่สภาพวุ่นวายไร้การควบคุมนั้นไม่ใช่ลักษณะที่ฝังตัวถาวร แต่ได้รับอิทธิพลมาจากการการก่อโครงสร้างของสังคม หรือกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นไม่ได้รับอิทธิพลแค่เฉพาะจากอำนาจและความมั่งคั่ง แต่ยังได้รับอิทธพลจากความคิดที่แตกต่างของแต่ละชาติซึ่งประสานกัน เช่น วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ เป็นต้น รัฐยังผู้เป็นผู้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เป็นความสัมพันธ์ในทางสังคม(คบค้าสมาคมกัน) มากกว่าการใช้ชั้นเชิงตอบโต้กัน

อ้างอิง

  • John Gerard Ruggie (1998). "What Makes the World Hang Together? Neo-utilitarianism and the Social Constructivist Challenge". International Organization 52 (4): 855. CUP.