ลิงบาร์บารี
ลิงบาร์บารี | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
สกุล: | Macaca |
สปีชีส์: | M. sylvanus |
ชื่อทวินาม | |
Macaca sylvanus (Linnaeus, 1758)[2] | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์: ปัจจุบันสถานะในตูนิเซียใกล้จะสูญพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ลิงบาร์บารี หรือ บาร์บารีเอป หรือ มาก็อต (อังกฤษ: Barbary macaque, Barbary ape, Magot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca sylvanus[3]) เป็นลิงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae)
จัดเป็นลิงประเภทลิงแม็กแคกชนิดหนึ่ง จัดเป็นลิงเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบกระจายพันธฺุ์อยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายสะฮารา บริเวณยิบรอลตา, โมร็อกโก และในพื้นที่อนุรักษ์ของลิเบีย รวมถึงอาจพบได้ในทวีปยุโรปทางตอนใต้ที่กับช่องแคบยิบรอลตาได้ด้วย ซึ่งก็จัดได้อีกว่าเป็นลิงเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในทวีปยุโรป ซึ่งตามปกติแล้ว ทวีปยุโรปจะไม่มีลิง สันนิษฐานว่า เกิดจากการนำเข้ามาในฐานะของสัตว์เลี้ยงหรือเพื่อการละเล่นละครสัตว์[4]
ลิงบาร์บารี มีลักษณะเหมือนลิงแม็กแคกชนิดอื่น ๆ มีขนตามลำตัวเป็นสีส้มฟูหนา เป็นลิงที่ไม่มีหาง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และสามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถพบได้ทั้งในทะเลทรายที่ร้อนระอุ รวมถึงสถานที่ ๆ อากาศเหน็บหนาวอุณหภูมิติดลบ มีหิมะและน้ำแข็งได้ด้วย กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืช, เนืิ้อสัตว์ และสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ
แต่ลิงบาร์บารี มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากลิงแม็กแคกชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้มักจะกระเตงลูกไปไหนมาไหนด้วย และจะปกป้องดูแลลูกลิงเป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่า เป็นไปเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับลิงตัวผู้ตัวอื่น ๆ โดยใช้ลูกลิงเป็นตัวเชื่อม บางครั้งจะพบลิงตัวผู้ตกแต่งขนให้กัน รวมทั้งดูแลลูกลิงซึ่งกันและกันด้วย
ลิงบาร์บารี นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยกลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่าจะจับลูกลิงประมาณ 300 ตัวจากป่าในโมร็อกโกเพื่อส่งไปขายยังตลาดสัตว์เลี้ยงในยุโรปที่เติบโตขึ้น ส่งผลเสียต่อความยั่งยืนของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีจำนวนประชากรอยู่เพียง 6,000 ตัว ในจำนวนนี้ 4,000-5,000 ตัวอยู่ในโมร็อกโก โดยหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ลิงบาร์รารีถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมานานนับพันปีมาแล้ว เพราะมีการพบโครงกระดูกของลิงชนิดนี้ใต้เถ้าถ่านของเมืองปอมเปอี, ลึกลงไปในสุสานใต้ดินของอียิปต์ รวมทั้งถูกฝังใต้ยอดเขาในไอร์แลนด์ที่ซึ่งกษัตริย์อัลส์เตอร์ในยุคสำริดเคยครองบัลลังก์อีกด้วย[5]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Butynski, T. M., Cortes, J., Water, S., Fa, J., Hobbelink, M. E., van Lavieren, E., Belbachir, F., Cuzin, F., de Smet, K., Mouna, M., de Iongh, H., Menard, N. & Camperio-Ciani, A. (2008). Macaca sylvanus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
- ↑ Linne´, Carl von (1758). Systema naturæ. Regnum animale (10 ed.). p. 25. สืบค้นเมื่อ 19 November 2012.
- ↑ "Magot, n.". Oxford English Dictionary. สืบค้นเมื่อ 15 May 2013.
- ↑ หน้า 171, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ "วานรน้อยแห่งโมร็อกโก". เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Macaca sylvanus ที่วิกิสปีชีส์