วงศ์นกพิราบและนกเขา
นกเขา และ นกพิราบ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนต้น – ปัจจุบัน | |
---|---|
นกพิราบ (Columba livia) ขณะบิน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Columbiformes |
วงศ์: | Columbidae Illiger, 1811 |
วงศ์ย่อยและสกุล | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
วงศ์นกพิราบและนกเขา[1] เป็นวงศ์ของนกที่อยู่ในอันดับ Columbiformes ซึ่งมีอยู่เพียงวงศ์เดียว คือ Columbidae
เป็นนกที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ (15-120 เซนติเมตร) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ อ้วนกลม คอสั้น ปากเรียวมีปุ่มเนื้อเหนือปาก ปากเล็ก สันปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลาง ปลายหางมนกลมหรือแหลม ขนหางมี 12-20 เส้น ปีกยาวปานกลาง ขนปลายปีกมี 11 เส้น (10 เส้นทำหน้าที่ในการบิน) ขนกลางปีกมี 11-15 เส้น และมักไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขาสั้น หน้าแข้งเป็นเกล็ดแบบซ้อน บริเวณอื่นเป็นเกล็ดแบบร่างแห
ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนไม่มีแกนขนรองหรือมีแต่เล็กมาก ต่อมน้ำมันไม่มีขนปกคลุมหรือไม่มีต่อมน้ำมัน ผิวหนังบอบบาง
เป็นนกที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะ เมล็ดพืชและธัญพืช สร้างรังจากกิ่งไม้ บนต้นไม้ เชิงผา หรือบนพื้นดินขึ้นกับชนิด วางไข่ 1-2 ใบ พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงลูก ลูกอ่อนยังเดินไม่ได้ มีระยะเวลาออกจากรัง 7-28 วัน โดยพ่อแม่นกจะเลี้ยงลูกด้วยการสำรอกอาหารที่เป็นของเหลวออกจากกระเพาะพักป้อนให้ลูก ที่มีลักษณะคล้ายน้ำนม มีโครงสร้างทางและองค์ประกอบเคมีคล้ายน้ำนมของกระต่าย ซึ่งมีด้วยกันทั้งสองเพศ[2] [1]
นกในวงศ์และอันดับนี้ มีอยู่ประมาณ 40 สกุล 310 สปีชีส์ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ในประเทศไทยพบราว 28 สปีชีส์ ใน 9 สกุล[1] โดยมีสปีชีส์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปนานกว่า 350 ปีแล้วและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ นกโดโด[3]
เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาทิ ในการสื่อสารในสมัยโบราณ ที่ใช้นกพิราบสื่อสาร ที่จะบินกลับถิ่นฐานที่เป็นที่จากมาแม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ด้วยสนามแม่เหล็กโลก[4] หรือใช้สำหรับแข่งขันกันในการบิน[5] หรือใช้เลี้ยงเป็นอาหาร, เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม หรือฟังเสียงร้อง ที่สามารถต่อยอดแตกเป็นอาชีพต่าง ๆ ได้[6] [7]
การอนุกรมวิธาน
วงศ์ Columbidae
- วงค์ย่อย Columbinae
- สกุล Columba รวมถึง Aplopelia (33-34 สปีชีส์ที่ยังอยู่, 2-3 สปีชีส์สูญพันธุ์แล้ว)
- สกุล Streptopelia รวมถึง Stigmatopelia และ Nesoenas (14-18 สปีชีส์ที่ยังอยู่)
- สกุล Patagioenas เดิมรวมอยู่ใน Columba (17 สปีชีส์)
- สกุล Macropygia (10 สปีชีส์)
- สกุล Reinwardtoena (3 สปีชีส์)
- สกุล Turacoena (2 สปีชีส์)
- วงค์ย่อย N.N.
- สกุล Turtur (5 สปีชีส์; ไม่แน่นอน)
- สกุล Oena ( ไม่แน่นอน)
- สกุล Chalcophaps (2 สปีชีส์)
- สกุล Henicophaps (2 สปีชีส์)
- สกุล Phaps (3 สปีชีส์)
- สกุล Ocyphaps
- สกุล Geophaps (3 สปีชีส์)
- สกุล Petrophassa (2 สปีชีส์)
- สกุล Geopelia (3–5 สปีชีส์)
- วงค์ย่อย Leptotilinae
- สกุล Zenaida (7 สปีชีส์)
- สกุล Ectopistes – (สูญพันธุ์; 1914)
- สกุล Leptotila (11 สปีชีส์)
- สกุล Geotrygon (16 สปีชีส์)
- สกุล Starnoenas
- วงค์ย่อย Columbininae
- สกุล Columbina (7 สปีชีส์)
- สกุล Claravis (3 สปีชีส์)
- สกุล Metriopelia (4 สปีชีส์)
- สกุล Scardafella อาจเป็นส่วนหนึ่งของ Columbina (2 สปีชีส์)
- สกุล Uropelia
- วงค์ย่อย N.N.
- สกุล Gallicolumba (16-17 สปีชีส์ที่ยังอยู่, 3-4 สปีชีส์สูญพันธุ์แล้ว)
- สกุล Trugon
- วงค์ย่อย Otidiphabinae
- สกุล Otidiphaps
- วงค์ย่อย Didunculinae
- สกุล Didunculus
- วงค์ย่อย Gourinae
- สกุล Goura (3 สปีชีส์)
- วงค์ย่อย N.N. ("Treroninae")
- สกุล Ducula (36 สปีชีส์)
- สกุล Lopholaimus
- สกุล Hemiphaga (2 สปีชีส์)
- สกุล Cryptophaps
- สกุล Gymnophaps (3 สปีชีส์)
- สกุล Ptilinopus (ราว 50 สปีชีส์ที่ยังอยู่, 1-2 สปีชีส์สูญพันธุ์แล้ว)
- สกุล Natunaornis
- สกุล Drepanoptila
- สกุล Alectroenas (3 สปีชีส์ที่ยังอยู่)
- วงค์ย่อย Raphinae
- ยังไม่ได้จัด
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 (อันดับนกพิราบ-วงศ์นกพิราบ)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 Crome, Francis H.J. (1991). Forshaw, Joseph (บ.ก.). Encyclopaedia of Animals: Birds. London: Merehurst Press. pp. 115–116. ISBN 1-85391-186-0.
- ↑ "โดโด : ถึงจะสูญพันธุ์ แต่ยังอยู่ในความทรงจำ จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-28. สืบค้นเมื่อ 2012-11-06.
- ↑ นกพิราบสื่อสารหาทางกลับบ้านได้อย่างไร?[ลิงก์เสีย]
- ↑ [ลิงก์เสีย] อึ้ง! เศรษฐีจีนซื้อนกพิราบแข่งขันกว่า 50 ล้าน จากสนุกดอตคอม
- ↑ นกพิราบพาสเซนเจอร์ (Passenger pigeon)
- ↑ "กรงนกเขาชวาทำมือ!ขายตลาดอาเซียน จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-06.