วงศ์ปลากะรัง
วงศ์ปลากะรัง | |
---|---|
![]() | |
ปลากะรังหน้างอน (Cromileptes altivelis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Serranidae Innamura & Yabe, 2002 |
วงศ์ย่อย | |
| |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (อังกฤษ: Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae
เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก[1]
มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้
ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้
สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง
มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก" [2]
การจำแนก
ปัจจุบันจำแนกได้ราว 450 ชนิด ใน 64 สกุล โดยแบ่งออกได้ดังนี้
- วงศ์ย่อย Anthiinae (ปลาทองทะเล, ปลากะรังจิ๋ว)
- Anatolanthias
- Anthias
- Caesioperca
- Caprodon
- Dactylanthias
- Giganthias
- Hemanthias
- Holanthias
- Hypoplectrodes
- Lepidoperca
- Luzonichthys
- Meganthias
- Nemanthias
- Odontanthias
- Othos
- Plectranthias
- Pronotogrammus
- Pseudanthias
- Rabaulichthys
- Sacura
- Selenanthias
- Serranocirrhitus
- Tosana
- Tosanoides
- Trachypoma
- วงศ์ย่อย Epinephelinae (ปลากะรัง, ปลาเก๋า, ปลากุดสลาด)
- Aethaloperca
- Alphestes
- Anyperodon
- Aulacocephalus
- Cephalopholis
- Chromileptes
- Dermatolepis
- Epinephelides
- Epinephelus
- Gonioplectrus
- Gracila
- Grammistops
- Mycteroperca
- Niphon
- Paranthias
- Plectropomus
- Pogonoperca
- Saloptia
- Triso
- Variola
- วงศ์ย่อย Grammistinae
- Belonoperca
- Rypticus
- Diploprion
- Aporops
- Pseudogramma
- Suttonia
- Grammistes
- วงศ์ย่อย Liopropomatinae
- Bathyanthias
- Jeboehlkia
- Liopropoma
- Rainfordia
- วงศ์ย่อย Serraninae
- Acanthistius
- Bullisichthys
- Centropristis
- Chelidoperca
- Cratinus
- Diplectrum
- Hypoplectrus
- Paralabrax
- Parasphyraenops
- Schultzea
- Serraniculus
- Serranus
- ไม่ได้รับการจัดลำดับ
- Caesioscorpis
- Hemilutjanus
- †Palaeoperca (อีโอซีน, เยอรมนี)
อ้างอิง
- ↑ "มีนวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
- ↑ http://www.fishbase.org/Summary/FamilySummary.cfm?ID=289 "Serranidae"] FishBase Ed. Rainer Froese และ Daniel Pauly
- ↑ Schoelinck, C.; Hinsinger, D. D.; Dettaï, A.; Cruaud, C.; Justine, J.-L. (2014). "A phylogenetic re-analysis of groupers with applications for ciguatera fish poisoning". PLoS ONE. 9: e98198. doi:10.1371/journal.pone.0098198.
แหล่งข้อมูลอื่น
