วันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่ | |
---|---|
พลุในเม็กซิโกซิตีเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันปีใหม่ ค.ศ. 2013 | |
จัดขึ้นโดย | ประเทศส่วนใหญ่บนโลกที่ใช้ปฏิทินกริกอเรียน |
ประเภท | วันหยุดสากล |
ความสำคัญ | วันแรกของปีปฏิทินกริกอเรียน |
การเฉลิมฉลอง | เขียนปณิธานในวันขึ้นปีใหม่, เชิร์ชเซอร์วิส, ขบวนแห่, กิจกรรมแข่งขันกีฬา, พลุ |
วันที่ | 1 มกราคม |
ความถี่ | ทุกปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วันสิ้นปี, คริสต์มาส |
วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินกริกอเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม
อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน[1][2][3]
ประวัติ
วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวเซมิติก ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอะเลกซานเดรียชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต
แต่ในปี ค.ศ. 1582 (ตรงกับ พ.ศ. 2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขโดยหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
การเฉลิมฉลองและประเพณีทั้งดั้งเดิมและสมัยใหม่
วันสิ้นปี
วันแรกของเดือนมกราคมหมายถึงการเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงปีที่ผ่านมา รวมถึงทางวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนธันวาคม ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มีบทความส่งท้ายปลายปีที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่แล้ว ในบางกรณี สื่อสิ่งพิมพ์อาจกำหนดงานตลอดทั้งปีด้วยความหวังว่าควันที่ปล่อยออกมาจากเปลวไฟจะนำชีวิตใหม่มาสู่บริษัท นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามแผนหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองทางศาสนา แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นโอกาสเฉลิมฉลองในคืนวันสิ้นปี ในวันที่ 31 ธันวาคม โดยมีงานเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแสดงดอกไม้ไฟ) และประเพณีอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เวลาเที่ยงคืนและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง บริการยามค่ำคืนยังคงเป็นที่สังเกตในหลายครั้ง[4]
วันขึ้นปีใหม่
การเฉลิมฉลองและกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยทั่วไป เช่น การเดินขบวนพาเหรดสำคัญในหลายแห่ง การกระโดดแบบหมีขั้วโลก โดยชมรมหมีขั้วโลกในเมืองทางซีกโลกเหนือหลายแห่ง และการแข่งขันกีฬาสำคัญในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ
วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินอื่น ๆ
- สงกรานต์ เดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ คือวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ตกประมาณวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน
- ตรุษไทย เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติไทย แต่ยกเลิกลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกำหนดให้ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน
- ตรุษจีน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
- ตรุษญี่ปุ่น เดิมใช้วันเดียวกับตรุษจีน แต่เมื่อ ค.ศ. 1873 ได้รับเอาปฏิทินเกรโกเรียนมาใช้ จึงเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคมแทน
- ตรุษญวน เป็นวันที่เริ่มต้นเดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเวียดนาม ตกประมาณวันที่ 20 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์
- เราะอส์ อัสซะนะฮ์ อัลฮิจญ์ริยะฮ์ (อาหรับ: رأس السنة الهجرية) เป็นวันที่เริ่มต้นเดือนมุฮัรรอม (เดือน 1) ตามปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ของอิสลาม วันที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ามีคนมองเห็นดวงจันทร์หรือไม่ ตามสถิติเมื่อเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนพบว่าวันนั้นร่นเข้าไปประมาณ 10 วันทุกปี
อ้างอิง
- ↑ "New Year's Day: Julian and Gregorian Calendars". Sizes.com. 8 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2016. สืบค้นเมื่อ 7 January 2021.
- ↑ Poole, Reginald L. (1921). The Beginning of the Year in the Middle Ages. Proceedings of the British Academy. Vol. X. London: British Academy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 November 2021 – โดยทาง Hathi Trust.
- ↑ Bond, John James (1875). Handy Book of Rules and Tables for Verifying Dates With the Christian Era Giving an Account of the Chief Eras and Systems Used by Various Nations...'. London: George Bell & Sons. p. 91.
- ↑ "Watch Night services provide spiritual way to bring in New Year". The United Methodist Church. pp. 288–294. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2011.
The service is loosely constructed with singing, spontaneous prayers, and testimonials, and readings, including the Covenant Renewal service from The United Methodist Book of Worship