วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า

วลี ขอให้กล้า อธิบายได้อีกอย่างว่า "ลงมือทำเลย" ชุมชนวิกิพีเดียส่งเสริมให้ผู้ใช้มีความกล้าเมื่อปรับสารานุกรมให้ทันสมัย วิกิของเราพัฒนาได้เร็วกว่าถ้าทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหา แก้ไขไวยากรณ์ เพิ่มข้อเท็จจริง และตรวจดูว่าการใช้ถ้อยคำมีความถูกต้องแม่นยำ ฯลฯ การแก้วิกิพีเดียก็เหมือนดังชื่อ วิกิ ที่มีความหมายว่า เร็ว ๆ ไว ๆ (ในภาษาฮาวาย) คิดได้เมื่อไร ก็เขียนเลยเมื่อนั้น จะช่วยให้วิกิพีเดียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เราอยากให้ทุกคนมีความกล้าและช่วยให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ดีขึ้นกว่าเดิม คุณเคยอ่าน ๆ อยู่แล้วคิดว่า "ทำไมหน้านี้จึงมีการสะกดคำ ไวยากรณ์หรือการจัดผังดีกว่านี้ไม่ได้" หรือเปล่า วิกิพีเดียไม่เพียงเปิดโอกาสให้คุณเพิ่มและแก้ไขบทความเท่านั้น วิกิพีเดียยังอยากให้คุณทำเสียด้วย แต่ขอให้ทำเช่นนั้นอย่างสุภาพนะ แน่นอนว่าผู้เขียนคนอื่นในนี้จะแก้สิ่งที่คุณเขียนด้วยเหมือนกัน อย่าถือโทษโกรธกัน! เพราะคนอื่นก็อยากให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เหมือนกัน นอกจากนี้ เมื่อคุณเห็นข้อพิพาทในหน้าอภิปราย อย่าเป็นเพียงคนผ่านไปมา หรือ "เข้ามาดู" เท่านั้น ขอให้กล้าแล้วช่วยออกความเห็นได้เลย

แก้เองเลยถ้าทำได้ เพราะบ่นไปไม่ช่วยอะไร ถ้าคุณไปพบเจอข้อผิดพลาดหรือปัญหากำกวมซึ่งคนที่มีเหตุผลคนไหนเห็นแล้วก็น่าจะแนะนำให้แก้ไขนั้น ทางที่ดีที่สุดอาจเป็นการใช้ความกล้าแก้ไขปัญหานั้นเอง มากกว่าออกความเห็นหรือบ่นให้ผู้อื่น เพราะคุณควรเอาเวลาเขียนถึงปัญหามาพัฒนาสารานุกรมดีกว่า ถ้าไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงคุณเกินไปนัก

อย่าโกรธเคืองกันถ้าการแก้ไขของคุณถูกย้อนหรือลบ เป็นธรรมดาที่คุณรู้สึกภูมิใจหรือยึดติดในงาน "ของคุณ" แต่ขออย่าเก็บความรู้สึกนั้นมาใช้ในวิกิพีเดีย กรุณาอ่าน วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจ และ วิกิพีเดีย:มารยาท เพราะอย่าลืมว่าวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมกันแก้ ถ้าคุณข้องใจ ขอให้กล้าตั้งกระทู้ในหน้าอภิปรายเพื่อไม่ให้เกิดสงครามแก้ไข โดยเฉพาะหน้าที่เขียนดีแล้วหรือหน้าที่มีคนเข้าชมมาก หรือจะคิดแบบนี้ก็ได้ว่าถ้าการแก้ไขคุณยังไม่เจอย้อน บางทีคุณอาจกล้าไม่พอหรือเปล่า

สุดท้าย ขอย้ำเตือนให้คุณปฏิบัติตามกฎสำคัญของวิกิพีเดียเมื่อแก้ไขด้วยทุกครั้ง หรือแก้ไขตามตัวอย่างที่ดี และควรฟังคำตักเตือนที่สมเหตุสมผลของผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มากกว่า

แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้า
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า

เนื้อหาบางประเด็นในวิกิพีเดียผ่านกระบวนการที่ยืดเยื้อและยาวนาน

ผู้ใช้ใหม่นั้น มักตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของวิกิพีเดียและกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ขอให้กล้า ยังรวมถึงการใส่ใจสิ่งดีร่วมกัน และไม่แก้ไขแบบรบกวนหรือสะเพร่า แน่อนว่าการเปลี่ยนแปลงที่สุดท้ายไม่ได้ทำให้วิกิพีเดียดีขึ้นกว่าเดิมอาจถูกย้อนได้ง่ายและไม่มีผลเสียระยะยาว สำคัญที่คุณไม่ควรรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นถ้าเกิดเหตุการณ์เ่ช่นนี้ขึ้น ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ถามได้เสมอ

สำหรับการเปลี่ยนแปลงบทความที่เป็นเรื่องซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง มีประวัติไม่ลงรอยกันอย่างยาวนาน รวมทั้งบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ คุณอาจต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพราะหลายกรณีนั้น ข้อความในหน้าดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจรจาอย่างยาวนานและดุเดือดระหว่างชาววิกิพีเดียที่มีภูมิหลังและทัศนะต่างกัน การทะเล่อทะล่าแก้ไขโดยไม่ระวังอาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และคนอื่นที่เคยมีประเด็นกับเรื่องนี้อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ คุณควรเคารพใน ระบบที่เป็นอยู่ บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงการแก้ไขบทความ ถ้าในขณะนั้นกำลังมีการลงความเห็นอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีความเห็นพ้องกันของฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ในกรณีนี้ถ้าไม่ใช่การแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไวยากรณ์หรือการสะกดคำ ขอให้อ่านทั้งบทความและดูความเห็นในหน้าคุยก่อน และการขอความเห็นพ้องก่อนการแก้ไขที่อาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ ก็เป็นความคิดที่ดี ขอให้ใช้วิจารณญาณอย่างบรรณาธิการอย่างดีที่สุดเสมอ ส่วนถ้าคุณเป็นชาววิกิพีเดียผู้ช่ำชอง คุณน่าจะพอทราบได้จากประสบการณ์ว่าการแก้ไขใดเป็นสิ่งที่ผู้อื่นยอมรับ และสิ่งใดควรสอบถามก่อน

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้มือใหม่และไม่แน่ใจว่าคนอื่น ๆ จะมองการแก้ไขของคุณว่าอย่างไร แต่คุณก็ต้องการจะแก้ไขหรือลบบางส่วนของบทความ เราแนะนำว่าคุณควรจะ

  1. คัดลอกข้อความดังกล่าวไปยังหน้าอภิปราย และเขียนความเห็นขัดแย้งของคุณไว้ (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวเป็นประโยค หรือมีความยาวระดับประโยค)
  2. เขียนความเห็นของคุณไว้ในหน้าอภิปราย แต่เก็บหน้าบทความไว้เช่นเดิม (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวมีความยาวค่อนข้างมาก)

หลังจากนั้นรอคำตอบสักระยะ ถ้าไม่มีใครมีความเห็นขัดแย้ง คุณก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่อย่าลืมที่จะย้ายส่วนที่ลบที่มีขนาดใหญ่ ไปไว้ที่หน้าอภิปราย และเขียนความเห็นของคุณกำกับไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ จะได้เข้าใจการแก้ไขของคุณ และสามารถเข้าใจประวัติของบทความนั้นได้ และอย่าลืมที่จะใส่คำอธิบายอย่างย่อของการแก้ไขของคุณลงไปด้วย

ทั้งนี้ขอให้กล้าไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างละเมิดนโยบายเนื้อหาบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แม้เพียงชั่วคราว

แต่อย่าเพิ่งกลัวไป

อย่างไรก็ดี สำหรับบทความอื่น ๆ อีกมากมายนั้น คุณสามารถจะเข้าไปแก้ไขเช่นใดก็ได้ตามที่คุณเห็นว่าดี เฉพาะบางเรื่องที่อ่อนไหวเท่านั้นที่คุณจะต้องระมัดระวัง และโดยมากคุณก็น่าจะรู้ได้ในทันที ส่วนในกรณีที่คุณไม่ทราบ ถ้าคุณชอบที่จะโต้เถียง ส่วนใหญ่แล้ว ความกล้า ของคุณก็มักจะเป็นจุดยืนที่พออธิบายได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณก็ไม่น่าจะเป็นคนแรกที่เข้าไปแก้ไขบทความที่มีการโต้เถียงเหล่านั้น และแน่นอน คุณคงจะไม่ใช่คนสุดท้าย พูดง่าย ๆ ก็คือการปรับปรุงที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาและข้อมูลมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ มากกว่าการปรับปรุงที่ลบ หรือตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้ง

เราขอแค่อย่าทำพลาดในเรื่องเดิมซ้ำบ่อย ๆ

คอยปรับปรุงโดยดูตัวอย่างที่ดี

คุณสามารถพัฒนาทักษะในการเขียนของคุณได้โดยการเรียนรู้จากการเขียนของคนอื่น บางทีคุณอาจเรียนรู้จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของบทความที่คุณเขียน (หรือบทความอื่น ๆ ที่คุณสนใจ) เฝ้าดูว่าคนอื่นเขาปรับแต่งบทความที่คุณเขียนไว้อย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วทีเดียว นอกจากนี้ เมื่อมีผู้ใช้ประสบการณ์มากกว่ามาให้คำแนะนำที่สมเหตุสมผลแก่คุณ ขอให้คุณปฏิบัติตาม อย่าดึงดันแก้ไขตามความคิดของคุณฝ่ายเดียว เพราะอย่าลืมว่าวิกิพีเดียมีกรอบกฎเกณฑ์บางอย่างที่คุณไม่พึงละเมิดหากคุณยังต้องการเข้าร่วมในชุมชนแห่งนี้อยู่

การกระทำและการแก้ไขที่มีผลกระทบในวงกว้าง

เราแนะนำให้คุณระมัดระวังเป็นพิเศษในกรณีที่การแก้ไขของคุณจะกระทบกับหน้าหลาย ๆ หน้า เช่น การแก้แม่แบบ หรือการย้ายหน้าที่ถูกเชื่อมโยงมาเป็นจำนวนมาก     แม้จะไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เราแนะนำว่าคุณควรศึกษาและทำความคุ้นเคยกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ) ก่อนจะเริ่มย้ายหน้า นอกจากนี้ จะเป็นมารยาทที่ดี ถ้าคุณยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าที่ถูกผลกระทบจากการแก้ไขของคุณด้วย

ดูเพิ่ม