วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน
หลังจากการปฏิวัติอิหร่านในปี 2522 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกากำหนดวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านและขยายวิธีการบังคับให้รวมบริษัทห้างร้านที่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลอิหร่านด้วยในปี 2538[1] ในปี 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 1696[2] และกำหนดวิธีการบังคับหลังอิหร่านไม่ยอมระงับโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของตน วิธีการบังคับของสหรัฐทีแรกมุ่งเป้าไปการลงทุนด้านน้ำมัน แก๊สและปิโตรเคมี การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น และธุรกิจที่ทำข้อตกลงกับเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ซึ่งรวมธุรกรรมการธนาคารและการประกันภัย (ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน) การขนส่งสินค้าทางเรือ บริการเว็บโฮสต์ติงในเชิงพาณิชย์ และบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน[3]
เมื่อเวลาล่วงไป วิธีการบังคับมีผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและประชาชนอิหร่าน นับแต่ปี 2522 สหรัฐเป็นผู้นำความพยายามนานาชาติในการใช้วิธีการบังคับเพื่อให้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอิหร่าน[4] ซึ่งรวมโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลตะวันตกเกรงว่าเจตนาพัฒนาขีดความสามารถเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อิหร่านตอบโต้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนเป็นไปเพื่อความมุ่งหมายทางพลเรือน ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าและวัตถุประสงค์ทางการแพทย์[5]
เมื่อการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและรัฐบาลตะวันตกสะดุดและถูกมองว่าล้มเหลว ยิ่งถูกอ้างเป็นเหตุผลการบังคับใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านที่หนักข้อขึ้น[6] วันที่ 2 เมษายน 2558 พี5+1 และอิหร่าน ซึ่งประชุมในโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ บรรลุความตกลงชั่วคราวเรื่องกรอบซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์และนำไปปฏิบัติแล้วจะยกเลิกวิธีการบังคับส่วนมากเพื่อแลกกับการจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบปี[7][8][9][10] ผลทำให้วิธีการบังคับของสหประชาชาติถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559
อ้างอิง
- ↑ Ariel Zirulnick (24 February 2011). "Sanction Qaddafi? How 5 nations have reacted to sanctions: Iran". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
- ↑ "Security Council demands Iran suspend uranium enrichment by 31 August, or face possible economic, diplomatic sanctions". United Nations. 31 July 2006.
- ↑ "31 CFR 560.540 – Exportation of certain services and software incident to Internet-based communications". Legal Information Institute, Cornell University Law School. United States Statutes at Large. 10 March 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
- ↑ Younis, Mohamed (7 February 2013). "Iranians Feel Bite of Sanctions, Blame U.S., Not Own Leaders". Gallup World. Gallup. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
- ↑ Michelle Nichols and Louis Charbonneau (5 October 2012). "U.N. chief says sanctions on Iran affecting its people". Reuters. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
- ↑ Timothy Alexander Guzman (10 April 2013). "New Economic Sanctions on Iran, Washington's Regime Change Strategy". Global Research. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
- ↑ "Iranian nuclear deal: Mixed reaction greets tentative agreement". 3 April 2015.
- ↑ Louis Charbonneau and Stephanie Nebehay (2 April 2015). "Iran, world powers reach initial deal on reining in Tehran's nuclear program". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ "Iran nuclear talks: 'Framework' deal agreed". BBC News.
- ↑ Elise Labott, Mariano Castillo and Catherine E. Shoichet, CNN (2 April 2015). "Iran nuclear deal framework announced – CNN.com". CNN.
{cite web}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)