วิมานไฟ

วิมานไฟ
ผู้ประพันธ์กฤษณา อโศกสิน
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ประเภทชีวิต, โศกนาฏกรรม
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2510-2511 (พิมพ์เป็นตอน ๆ)
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์

วิมานไฟ เป็นบทประพันธ์ของ กัญญ์ชลา หรือคุณกฤษณา อโศกสิน ศิลปินแห่งชาติเจ้าของบทประพันธ์ชื่อดัง เมียหลวง และ สวรรค์เบี่ยง ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ลงในนิตยสารสตรีสาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2511 เป็นเรื่องราวของสามพี่น้อง ทาทอง, โรยทองและรินทอง สามพี่น้องตระกูลวรทิพย์ที่เคยปรองดองรักใคร่กัน ต้องมาห้ำหั่นกันเองเพื่อครอบครองผู้ชายคนเดียวนั้นก็คือภุมเรศ เพราะความร้าวฉานที่เกิดขึ้นภายในบ้านวรทิพย์ได้เปลี่ยนวิมานที่แสนสุขของบ้านวรทิพย์ให้แปรเปลี่ยนเป็นวิมานไฟ เพราะชายหนุ่มเพียงคนเดียวนั้นคือ "ภุมเรศ" และบทประพันธ์ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ละครโทรทัศน์หลายครั้งเลยทีเดียว

เนื้อเรื่อง

ภุมเรศ ภมรชัย ชายหนุ่มหน้าตาดี มีเสน่ห์อย่างร้ายกาจ ทายาทของนายพงศ์ ภมรชัย เป็นศัตรูเก่าทางธุรกิจของนายสุวรรณ วรทิพย์ แต่นายพงศ์พ่ายแพ้ในการฟ้องร้องคดีจนทำให้ครอบครัวภมรชัยต้องล้มละลาย ถึงแม้เหตุการณ์นั้นนายพงศ์จะเป็นฝ่ายผิด แต่ก็ไม่สำนึกจึงพกความแค้นจากกรุงเทพฯ กลับไปอยู่สงขลา กลับเสี้ยมสอนลูกชายให้ผูกพยาบาทตระกูลวรทิพย์มาตั้งแต่เด็ก ๆ ส่วนแม่ของภุมเรศเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ และเมื่อข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของนายสุวรรณแพร่สะพัด นายพงศ์จึงสั่งภุมเรศให้ทำหน้าที่ลูกกตัญญู เป้าหมายคือเพื่อทำลายตระกูลวรทิพย์ และทวงความมั่งคั่งกลับคืนมา

และแล้วบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้เปลี่ยนมือผู้บริหารหลังจากการเสียชีวิตของประธานบริหาร นายสุวรรณ วรทิพย์ ซึ่งมีลูกสาว 3 คน ได้แก่ทาทอง วรทิพย์ พี่สาวคนโตอายุเกือบ 30 ปี ที่มีนิสัยจริงจัง เอาการเอางานและเด็ดขาดเหมือนพ่อและเป็นประธานบริหารต่อจากพ่อ โดยมี โรยทอง วรทิพย์ บุตรสาวคนรอง เป็นมือขวาในการบริหาร ทั้งสองคนมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ รินทอง วรทิพย์ น้องสาวคนเล็กอายุเพิ่ง 20 ปี ที่เรียบร้อย อ่อนไหวและเป็นแม่บ้านแม่เรือน ความปรองดองของสามพี่น้องเป็นที่ชื่นชมและรับรู้กันดีในวงสังคม

เขาได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อแก้แค้น ซึ่งภุมเรศปรากฏตัวในฐานะลูกชายของเพื่อนเก่าพ่อ ภุมเรศได้ก้าวเข้ามาสู่บ้านศัตรูของพ่อได้อย่างสะดวกง่ายดายเพราะการชักนำของนฤชา แรงพยาบาทของพ่อก็ตามที่สามพี่น้อง เกิดสนใจในอัธยาศัยและเสน่ห์ในตัวภุมเรศจนทำให้รับเขาเข้ามาทำงานในบริษัท ภายหลังงานศพเสร็จสิ้นไป และแล้วสามพี่น้อง ทาทอง, โรยทองและรินทอง ตกหลุมรักผู้ชายคนเดียวนั้นก็คือภุมเรศ โรยทองเป็นคนที่เฉลียวใจในสิ่งที่นายชม ทนายประจำตระกูลพูดมากที่สุด จากการที่เธอพบปะผู้คนมามากมาย ทำให้เธอนึกระแวงถึงเหตุผลในการมาของภุมเรศที่ดูจะรู้เท่าทันภุมเรศ แต่ก็ไม่กล้าจะแสดงออกเพราะใจหนึ่งก็ยังแอบชอบ

ภุมเรศใช้ความรักทำให้ทาทองตาบอดสนิทอย่างง่ายดายจนทำให้ทาทองตกหลุมรักอย่างโงหัวไม่ขึ้น ทาทองยกให้ภุมเรศเป็นที่ปรึกษาของบริษัทมีโต๊ะทำงานอยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นหน้ากันตลอดเวลา ให้เงินเดือนสูง ๆ ยังให้มาพักอยู่ในบ้านเดียวกัน ทาทองทุ่มเทให้ภุมเรศยอมพลีทุกอย่างแก่เขา เธอเป็นหามาประเคนให้เพราะคิดว่า ภุมเรศรักตน กระทั่งภุมเรศกอดกระซิบบอกว่ารักเท่านั้น ทาทองก็ถึงกับประกาศโพล่งในหมู่พี่น้องว่าจะแต่งงานกับภุมเรศโดยไม่สนใจเสียงคัดค้านของนายชม ทนายความเก่าแก่ที่รู้จักตระกูลภมรชัยเป็นอย่างดี

ภุมเรศมักถือโอกาสเอาเวลาว่างที่ทาทองงานยุ่งและโรยทองไม่อยู่บ้านเพื่อที่ภุมเรศแวะเข้าไปหารินทอง เธอจึงเคลิบเคลิ้มและเชื่อภุมเรศสนิทใจ ทำให้เขากล่อมเสียจนรินทองหมดความเคารพนับถือพี่สาวและยอมเป็นเมียเขาอย่างเต็มใจอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่ภุมเรศจะแต่งงานกับทาทองด้วยซ้ำ ต่อมาโรยทองแอบศึกษาพฤติกรรมของภุมเรศอย่างเงียบ ๆ ตลอดเวลา จนกระทั่งวันแต่งงาน ภุมเรศจึงไปสารภาพรักกับโรยทอง โรยทองจึงตบหน้าแล้วจากไปด้วยความเสียใจ ทาทองนั้นน้อยใจต่อภุมเรศมาก ภุมเรศเมาอย่างหนักยิ่งเพิ่มความแค้นให้ภุมเรศมากขึ้น

หลังพิธีแต่งงานผ่านไป รินทองเกิดอาการแพ้ท้องขึ้นมา เธอจึงอ้างว่าพี่สาวแย่งผัวของตนจึงอ้างเอาทะเบียนสมรสเป็นพยาน จัดแจงพารินทองจะหนีออกจากบ้านก็พอดี ทาทองจึงโกรธ จึงคว้าปืนมาไล่ยิงภุมเรศแต่ภุมเรศแย่งปืนไว้ทัน ทาทองเห็นมีดปลายแหลมจึงหยิบและวิ่งไล่แท่งรินทองเสียอย่างไม่นับ และหันกลับมาจะฆ่าภุมเรศตายตามบ้าง แต่เธอทำไม่ลงเธอจึงเอาแต่ร้องไห้แล้วก็หัวเราะและวิ่งออกนอกบ้านไปอย่างเป็นคนเสียสติ ตำรวจจึงมาถึงบ้านแล้วพร้อมเก็บศพของรินทอง ภุมเรศได้รู้สำนึกตัวเองว่าตัวเองได้สังหารคนไปแล้วถึงสามคน ทาทองเป็นคนบ้าเสียสติทันที รินทองเสียชีวิต และโรยทองเป็นโรคเบื่อผู้ชายไปตลอดชาติจะไม่แต่งงานชั่วชีวิต แต่กฎหมายไม่สามารถเอาผิดภุมเรศได้ ภุมเรศได้จากไปอยู่จังหวัดสงขลากับพ่อตนเองด้วยความเสียใจ เขาสำนึกต่อบาปที่ได้กระทำพี่น้องต่อตระกูลนี้ จึงคิดจะบวชล้างบาป แล้วจะไม่สึก

ภาพยนตร์

วิมานไฟ
แนวภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์
บทประพันธ์กฤษณา อโศกสิน (บทประพันธ์)
แสดงนำละคร พ.ศ. 2511
สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์
นันทวัน เมฆใหญ่
อาพันธ์ชนิตร สุวรรณกร
กนกวรรณ ด่านอุดม
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2512
มิตร ชัยบัญชา
เพชรา เชาวราษฎร์
เมตตา รุ่งรัตน์
ศศิธร เพชรรุ่ง
ละคร พ.ศ. 2515
นิรุตติ์ ศิริจรรยา
กนกวรรณ ด่านอุดม
นันทวัน เมฆใหญ่
ศันสนีย์ สมานวรวงศ์
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2522
สรพงศ์ ชาตรี
เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์
อรัญญา นามวงศ์
พรพรรณ เกษมมัสสุ
ละคร พ.ศ. 2523
พิศาล อัครเศรณี
เดือนเต็ม สาลิตุล
พิราวรรณ ประสพศาสตร์
ศรีอาภา บางนารถ
ละคร พ.ศ. 2533
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
จริยา สรณะคม
ชุดาภา จันทเขตต์
รัชนก พูลผลิน
ละคร พ.ศ. 2548
ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์
พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร
นุสบา ปุณณกันต์
อรจิรา แหลมวิไล
ละคร พ.ศ. 2567
ธนภัทร กาวิละ
เดียร์น่า ฟลีโป
ศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์
พิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์พ.ศ. 2511 - ช่อง 4 บางขุนพรหม
พ.ศ. 2515 - ช่อง 4 บางขุนพรหม
พ.ศ. 2523 - ช่อง 9
พ.ศ. 2533 - ช่อง 3
พ.ศ. 2548 - ช่อง 5
พ.ศ. 2567 - ช่องวัน 31
  • พ.ศ. 2512 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 16 มม. กำกับโดย "ครูเนรมิต" สร้างโดย นพรัตน์ภาพยนตร์ ของ นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง [1] ออกฉายเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง[1][2] นำแสดงโดย
  • พ.ศ. 2522 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มม. กำกับโดย วินิจ ภักดีวิจิตร สร้างโดย เอแพ็กซ์โปรดักชั่น ของ นันทา ตันสัจจา เป็นผู้อำนวยการสร้าง ออกฉายเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2522 ที่โรงหนังโคลีเซียม, วอชิงตัน, ออสการ์, อินทรา[1][3] นำแสดงโดย

นักแสดง

ปี พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2512 พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2567
ชื่อเรื่อง วิมานไฟ เล่ห์ภุมเรศ วิมานสีทอง
หมายเหตุ ละครโทรทัศน์ไทย ภาพยนตร์ 16 มม ละครโทรทัศน์ไทย ภาพยนตร์ 35 มม ละครโทรทัศน์ไทย
สถานีออกอากาศ ช่อง 4 โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ช่อง 4 โรงหนังโคลีเซียม, วอชิงตัน, ออสการ์, อินทรา ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ช่อง 3 เอชดี ช่อง 5 ช่องวัน 31
บริษัทผู้ผลิต รำยง สาครพันธุ์ นพรัตน์ภาพยนตร์ ของ นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ รำยง สาครพันธุ์ เอแพ็กซ์โปรดักชั่น ของ นันทา ตันสัจจา อรวรรณ โปร่งมณี ชนะ คราประยูร เอ็กแซ็กท์ บริษัท พอดีคำ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
บทประพันธ์ กฤษณา อโศกสิน กฤษณา อโศกสิน
บทโทรทัศน์ ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์, นริดา, ตุณย์ เบญจมาศ ดาลหิรัญรัตน์
ผู้กำกับการแสดง ครูเนรมิต วินิจ ภักดีวิจิตร วิศเวศ บูรณวิทยวุฒิ สยาม น่วมเศรษฐี
ออกอากาศ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 29 กันยายน พ.ศ. 2522 3 มิถุนายน - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 22 มกราคม - 12 มีนาคม พ.ศ. 2567
บทบาท นักแสดงหลัก
ภุมเรศ ภมรชัย สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ มิตร ชัยบัญชา นิรุตติ์ ศิริจรรยา สรพงศ์ ชาตรี พิศาล อัครเศรณี ฉัตรชัย เปล่งพานิช ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ ธนภัทร กาวิละ
ทาทอง วรทิพย์ (นิด)2548

(หนึ่ง)2567

นันทวัน เมฆใหญ่ เมตตา รุ่งรัตน์ นันทวัน เมฆใหญ่ อรัญญา นามวงศ์ พิราวรรณ ประสพศาสตร์ ชุดาภา จันทเขตต์ นุสบา ปุณณกันต์ พิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์
โรยทอง วรทิพย์ (น้อย)2548

(สอง)2567

อาพันธ์ชนิตร สุวรรณกร เพชรา เชาวราษฎร์ กนกวรรณ ด่านอุดม เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ เดือนเต็ม สาลิตุล จริยา แอนโฟเน่ พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร เดียร์น่า ฟลีโป
รินทอง วรทิพย์ (หน่อย)2548

(น้องเล็ก)2567

กนกวรรณ ด่านอุดม ศศิธร เพชรรุ่ง ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ พรพรรณ เกษมมัสสุ ศรีอาภา เรือนนาค รัชนก แสง-ชูโต อรจิรา แหลมวิไล ศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์
บทบาท นักแสดงสมทบ
สุกัญญา (ป้าของตระกูลวรทิพย์) ดวงตา ตุงคะมณี
พงศ์ ภมรชัย (พ่อของภุมเรศ) มนตรี เจนอักษร พลวัฒน์ มนูประเสริฐ
ชม ดุริยพร (คนสนิทของสุกัญญา) สมภพ เบญจาธิกุล จักรกฤษณ์ อำมรัตน์
สุรีย์ (คนสนิทของสุกัญญา) นาตยา จันทร์รุ่ง
นฤชา (เพื่อนสนิทของโรยทอง) รุ่งเรือง อนันตยะ ยูจีน ธนาณัติ
ชีวีวัฒน์ (คนในบริษัทของวรทิพย์) ศราวุธ นวแสงอรุณ คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ์
อนุวดี (แนท) (ศัตรูของทาทอง) พลอยไพลิน ลิมปนเวทยานนท์
มัทธิยา (เมียเก็บของสุวรรณ) รชยา รักกสิกรณ์
เขมสิริ (เพื่อนสาวคนสนิทของโรยทอง) อัฐริญญา อึ้งศิลป์ศรีกุล
ลูกน้ำ (เพื่อนสาวคนสนิทของโรยทอง) รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น
กรุณย์ ติณณภพ ผดุงธรรม
การันต์ ชรัณ รัตนเมธานนท์
วัชรารัศมี สุนทรพนาเวช
ปวิศร์ จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม
สุวิมล วัชรารัศมี สุนทรพนาเวช อิศราวรรณ เจริญเชื้อ
ปริยา วงษ์ระเบียบ
พรพรรณ อัครขจรฤทธิ์
จันทร์จวง พรพรรณ ฤกษ์อัตการ
ชมนา สรารัตน์ แซ่จิ๋ว
เอก สร้อย สารคาม
แหวน (คนใช้ตระกูลวรทิพย์) เมตตา รุ่งรัตน์ อุ่นเรือน ราโชติ
พร (คนใช้ตระกูลวรทิพย์) จอย ชวนชื่น จุฑามณี ไชยมงคล
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
สุวรรณ วรทิพย์ (พ่อของ 3 สาวตระกูลวรทิพย์) ดิลก ทองวัฒนา ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
เชฟชิน (แฟนเก่ารินทอง) อองตวน ปินโต
กิ่งกาญจน์ (แม่ของภุมเรศกับภรรยาของพงศ์) นุศรา ประวันณา
เฮเลน หว่อง วรรณษา ทองวิเศษ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ วิมานไฟ.. ใครถูก ใครผิด โดย มนัส กิ่งจันทร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29.
  2. ภาพยนตร์ไทยในอดีต เรื่อง..วิมานไฟ (2512)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-18.

แหล่งข้อมูลอื่น