วิศวนาถัน อานันท์

วิศวนาถัน อานันท์
อานันท์ในปี ค.ศ. 2016
ชื่อเต็มวิศวนาถัน อานันท์
ประเทศ อินเดีย
เกิด (1969-12-11) 11 ธันวาคม ค.ศ. 1969 (55 ปี)
เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
ตำแหน่งที่ได้รับแกรนด์มาสเตอร์ (ค.ศ. 1988)
แชมป์โลกค.ศ. 2000–02 (สมาพันธ์หมากรุกโลก)
ค.ศ. 2007–2013
ระดับสมาพันธ์หมากรุกโลก2775 (มกราคม 2025)
ระดับสูงสุด2817 (มีนาคม ค.ศ. 2011)
อันดับอันดับ 12 (กันยายน 2022)
อันดับสูงสุดอันดับ 1 (กรกฎาคม ค.ศ. 2008)

วิศวนาถัน อานันท์ (ฮินดี: विश्वनाथन आनंद; อังกฤษ: Viswanathan Anand; 11 ธันวาคม ค.ศ. 1969 – ) เป็นนักหมากรุกสากลระดับแกรนด์มาสเตอร์ชาวอินเดีย อานันท์เป็นผู้ชนะหมากรุกชิงแชมป์โลกห้าสมัย[1] (ค.ศ. 2000, 2007, 2008, 2010 และ 2012) และเป็นผู้ครองแชมป์โลกโดยปริยายตั้งแต่ ค.ศ. 2007 อานันท์เป็นแชมป์โลกหมากรุกสากลประเภทแรพิดของสมาพันธ์หมากรุกโลกใน ค.ศ. 2003 และเป็นที่ยอมรับโดยแพร่หลายในฐานะเป็นผู้เล่นเกมเร็วที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งยุค[2][3]

อานันท์กลายเป็นแกรนด์มาสเตอร์คนแรกของอินเดียใน ค.ศ. 1987[4] เขายังเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลราชีพคานธีเขละรตนะ ใน ค.ศ. 1991–92 ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดในด้านกีฬาของอินเดีย ใน ค.ศ. 2007 เขาได้รับรางวัลพลเรือนสูงสุดขั้นสองของอินเดียซึ่งมีชื่อว่าปทมะวิภูษณะ ส่งผลให้เขาเป็นนักกีฬาคนแรกที่ได้รับรางวัลคนแรกในประวัติศาสตร์ของอินเดีย นอกจากนี้ อานันท์ยังได้รับรางวัลเชสออสการ์หกสมัย (ค.ศ. 1997, 1998, 2003, 2004, 2007 และ 2008)

เขายังเป็นผู้ครองแชมป์หมากรุกสากลชิงแชมป์โลกของสมาพันธ์หมากรุกโลกตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ถึง 2002 เมื่อครั้งที่รายการระดับโลกได้แยกออกจากกัน เขาได้กลายเป็นแชมป์หมากรุกสากลอย่างไร้ข้อโต้แย้งใน ค.ศ. 2007 และป้องกันตำแหน่งในรายการดังกล่าวเมื่อครั้งที่เผชิญกับวลาดีมีร์ ครัมนิค ใน ค.ศ. 2008 จากนั้น เขาก็ประสบความสำเร็จในการป้องกันตำแหน่งในหมากรุกสากลชิงแชมป์โลก 2010 เมื่อครั้งที่พบกับเวเซลิน โทปาลอฟ และในหมากรุกสากลชิงแชมป์โลก 2012[5] เมื่อครั้งที่พบกับบอริส เกลแฟนด์ ในฐานะผู้ครองแชมป์สูงสุด เขาจะต้องพบกับผู้ชนะจากรายการแคนดิเดตทัวร์นาเมนต์ที่กำลังจะจัดขึ้นสำหรับรายการหมากรุกสากลชิงแชมป์โลก 2013

อานันท์เป็นหนึ่งในหกผู้เล่นของประวัติศาสตร์ที่สามารถทำลายการให้คะแนนที่ 2,800 ของรายการจัดอันดับจากสมาพันธ์หมากรุกโลก และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 เมื่อเขามีอายุได้ 37 ปี เขาได้กลายเป็นหมายเลขหนึ่งของโลกเป็นครั้งแรก เขาได้รับการจัดอันดับสูงสุดของโลกห้าครั้งในหกสมัย ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2007 ถึงกรกฎาคม ค.ศ. 2008 โดยเป็นผู้ครองอันดับหนึ่งรวมระยะเวลา 15 เดือน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เขาได้ตกสามอันดับแรกของโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 ก่อนที่อานันท์จะหวนกลับคืนสู่ที่หนึ่งของโลกอีกครั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 หลังจากเป็นฝ่ายชนะต่อผู้ท้าชิงอันดับหนึ่งของโลกอย่างมังนึส คาลเซิน ในรายการบิลบาโอมาสเตอร์ แต่เขาก็ได้ยอมรับในฝีมือเมื่อครั้งที่อันดับสูงสุดกลับไปเป็นของคาลเซินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011

อ้างอิง

  1. "Viswanathan Anand shows the heart of a champion in winning fifth world title". 30 May 2012.
  2. "Vishy Anand: World Chess Champion - Jeremysilman.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-12-13.
  3. Mainz 2008: Anand on Carlsen, Morozevich and Polgar - ChessBase
  4. More questions than answers, research.ibm.com
  5. As of May, 2012 – Official FIDE World Championship 2012 site. Moscow2012.fide.com. Retrieved on 2012-05-31.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น