สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University
ชื่อเดิมสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปนา5 ธันวาคม พ.ศ. 2530; 37 ปีก่อน (2530-12-05)
สังกัดการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีศ.ดร.เอียน เฟนวิค
ที่อยู่
อาคารศศปาฐศาลา ซอยจุฬาลงกรณ์ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
สี   สีฟ้า–สีเหลือง
เว็บไซต์www.sasin.edu
อาคารจามจุรี 10 และศศินทร์

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ Sasin School of Management เป็นสถาบันที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (นานาชาติ) ทางด้านบริหารธุรกิจ การตลาด การจัดการ และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกันระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย The Kellogg School of Management ของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น และ Wharton School ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย นอกจากนี้ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ยังเป็นสถาบันแห่งแรกในไทยที่ได้รับการรับรองจากสมาคมเพื่อพัฒนาวิทยาลัยธุรกิจ (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ด้วย[1]

ประวัติ

ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2525 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีมติให้จัดตั้ง "สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น ต่อมา ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "ศศินทร์" เป็นชื่อสถาบัน โดยมีที่มาจากคำในภาษาสันสกฤต 2 คำ ได้แก่ "ศศ" หมายถึง กระต่าย ซึ่งเป็นปีนักษัตรที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพ และ "อินทร์" หมายถึง หัวหน้าหรือผู้เป็นใหญ่ ดังนั้น ศศินทร์ จึงหมายความว่า หัวหน้าของเหล่ากระต่าย นอกจากนี้ ยังพระราชทานนาม "ศศปาฐศาลา" เป็นชื่ออาคารเรียน และ "ศศนิเวศ" เป็นชื่อหอพักนานาชาติด้วย

นอกจากนี้ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ยังเปิดศูนย์การเรียนรู้นานาชาติขึ้นซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า "ศศภูมิ" ซึ่งหมายความว่า ที่อยู่หรือแผ่นดินของกระต่าย[2]

หลักสูตร

ศศปาฐศาลา ที่ทำการของศศินทร์
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : Master of Business Administration (MBA) แบบเรียนเต็มเวลา (Full–time)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : Master of Business Administration (MBA) แบบเรียนนอกเวลา (Part–time)
  • หลักสูตรสองปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต : Dual-degree Master of Business Administration (MBA) and Master of Engineering (M.Eng.)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตการจัดการ : Master of Business Administration(Executive) (EMBA)
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ : Graduate Diploma in Human Resource Management (Grad Dip in HRM)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ : Master of Science in Human Resource Management (M.Sc. in HRM)
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง : Senior Executive Program (SEP)
  • หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ : Management Communication in English (MCE)
  • Executive Education Programs (Exec Ed)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต : Phd in Finance & Phd in Marketing

Sasin Japan Center (SJC)

Sasin Japan Center (SJC) เป็นศูนย์ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ด้านการจัดการในรูปแบบของการจัดอบรม สัมมนา การศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้ของการตลาด และการลงทุนของธุรกิจทุกประเภท รวมทั้งบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักลงทุนญี่ปุ่นกับภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย สำหรับการวิจัยและพัฒนานั้น SJC ได้รับความร่วมมือจาก JMAC (Japan Management Association Consulting) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น


Sasin Sustainability and Entrepreneurship Center (SEC)

Sasin Sustainability and Entrepreneurship Center (SEC) เป็นศูนย์สนับสนุนการสร้างธุรกิจ และพัฒนาผู้นำอย่างยั่งยืน ตามแนวนโยบานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "The Assocication to Advace Collegiate Schools of Business: Schools Accredited in Business". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-24.
  2. พระราชทานชื่อศูนย์ "ศศภูมิ"

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′33″N 100°31′38″E / 13.742580°N 100.527207°E / 13.742580; 100.527207