สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต (ค.ศ. 1871)
สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต | |
---|---|
สร้าง | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 |
ที่ตั้ง | Archiv der Otto-von-Bismarck-Stiftung ที่ฟรีดริชรูฮ์ |
วัตถุประสงค์ | ยุติสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย |
สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต (ฝรั่งเศส: Traité de Francfort; เยอรมัน: Friede von Frankfurt; อังกฤษ: Treaty of Frankfurt) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 กับจักรวรรดิเยอรมัน ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นการยุติสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สาระสำคัญ
สาระสำคัญของสนธิสัญญามีดังนี้:
- รับรองแนวพรมแดนใหม่ของฝรั่งเศส-จักรวรรดิเยอรมัน แนวพรมแดนใหม่นี้ได้ขีดให้ 1,694 หมู่บ้านและเมืองของฝรั่งเศสตกอยู่ในอาณาเขตจักรวรรดิเยอรมัน อันได้แก่:
- แคว้นอาลซัส: จังหวัดบา-แร็ง (Bas-Rhin) กับจังหวัดโอ-แร็ง (Haut-Rhin) ยกเว้นอาณาเขตของเมืองแบลฟอร์ (Belfort)
- แคว้นลอแรน: จังหวัดมอแซล (Moselle), หนึ่งในสามของจังหวัดเมิร์ต (Meurthe) ซึ่งรวมถึงเมืองชาโต-ซาแล็ง (Château-Salins) และซาร์บูร์ (Sarrebourg), อำเภอซาล (Saales) และอำเภอชีร์เม็ก (Schirmeck) ในจังหวัดโวฌ (Vosges)
- ให้สิทธิแก่พลเมืองอาลซัส-ลอแรนในการย้ายออกจากดินแดนที่ว่านี้ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 1872 หลังจากนั้นจะถือว่าพลเมืองเหล่านี้เป็นพลเมืองเยอรมัน
- ตั้งแผนให้ถอนกำลังทัพเยอรมันจากบางพื้นที่
- ค่าปฏิกรรมสงครามที่ฝรั่งเศสต้องจ่ายแก่เยอรมันจำนวนห้าพันล้านฟรังค์ภายในกำหนดห้าปี (ทั้งจำนวนให้จ่ายเป็นทองคำ)
- ให้การยอมรับนับถือพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย เป็นจักรพรรดิเยอรมัน
- ทหารเยอรมันจะยังคงประจำการอยู่ในดินแดนที่ว่านี้จนกว่าฝรั่งเศสจะชำระค่าปฏิกรรมสงครามครบถ้วน (ฝรั่งเศสจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเสร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนด)
สนธิสัญญานี้ยังได้กล่าวถึงเงื่อนไขเพิ่มเดิม ดังนี้:
- การใช้น่านน้ำการเดินเรือเชื่อมเข้ากับอาลซัส-ลอแรน
- การค้าระหว่างสองประเทศ
- คืนเชลยศึก
ฝรั่งเศสได้รับอาลซัส-ลอแรนคืนหลังทำสนธิสัญญาแวร์ซายใน ค.ศ. 1919
ปัจจัยที่ส่งผลต่อชายแดน
ยุทธวิธี
กองทัพเยอรมันพูดถึงการควบคุมภูมิภาคอาลซัลจนถึงโวฌ (เทือกเขา) และพื้นที่ระหว่างตียงวีล (ดีเดินโฮเฟิน) ถึงแม็สต้องได้รับความคุ้มครองจากเยอรมนี และที่สำคัญที่สุด กองทัพเยอรมันถือว่าเส้นทางระหว่างตียงวีลกับแม็สเป็นพื้นที่ควบคุมที่สำคัญที่สุดถ้าเกิดมีสงครามในอนาคตต่อฝรั่งเศส[1]
เศรษฐกิจ
อ้างอิง
- ↑ Hawthorne, 217
ข้อมูล
- Hartshorne, Richard (Jan, 1950). "The Franco-German Boundary of 1871", World Politics, pp. 209–250.
- Eckhardt, C.C. (May, 1918). "The Alsace-Lorraine Question", The Scientific Monthly, Vol. 6, No. 5, pp. 431–443.