สมบัติทางเคมี
"สมบัติทางเคมี" (Chemical property) คือ ลักษณะหรือพฤติกรรมของสารที่สังเกตเห็นได้ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากการจัดเรียงอะตอมภายในสารตั้งต้น[1]เปลี่ยนไป ทำให้คุณสมบัติของสารเปลี่ยนไป อีกทั้งยังไม่สามารถเปลี่ยนกลับได้อีกด้วย สิ่งนี้แตกต่างจากคุณสมบัติทางกายภาพอย่างสิ้นเชิง คือ สารที่ได้จะเป็นสารใหม่ เช่น การเผาไหม้ การเกิดสนิม การเกิดตะกอน ในขณะที่คุณสมบัติทางกายภาพโดยสารต้องไม่เปลี่ยนสมบัติทางเคมี เช่น การละลาย หรือการหลอมเหลว การเปลี่ยนสถานะของสาร เป็นต้น[2]
ซึ่งตัวอย่างสมบัติทางเคมี มีดังนี้
- ความเป็นพิษ
- ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา
- ชนิดของพันธะเคมี
- เลขโคออร์ดิเนชัน
- เลขออกซิเดซัน
- ความไวไฟ
- ความร้อนจากการเผาไหม้
- เอนทาลปีของการเกิดปฏิกิริยา
- ความเสถียรของสารในสภาวะต่าง ๆ
- ความเป็นกรด-เบส
- กัมมันตภาพรังสี
การใช้คุณสมบัติทางเคมี
คุณสมบัติทางเคมีเป็นที่สนใจอย่างมากของวัสดุศาสตร์ สมบัติเหล่านี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำแนกประเภทตัวอย่าง ระบุวัสดุที่ไม่รู้จัก และทำให้สารบริสุทธิ์ การรู้คุณสมบัติช่วยให้นักเคมีคาดการณ์เกี่ยวกับประเภทของปฏิกิริยาที่คาดหวังได้[3]
ดูเพิ่ม
- Periodic table: Periodic table group, Ionic
- People: Linus Pauling
- Lists: List of chemistry topics, List of biochemistry topics
- Physical property
อ้างอิง
ตัวอย่างการอ้างอิง
- ↑ Emiliani, Cesare (1987). Dictionary of the Physical Sciences: Terms, Formulas, Data. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-503651-0.
- ↑ Masterton, William L.; Hurley, Cecile N. (2009). Chemistry: Principles and Reactions (6th edition). Brooks/Cole Cengage Learning.
- ↑ Meyers, Robert A. (2001). Encyclopedia of Physical Science and Technology (3rd ed.). Academic Press. ISBN 978-0-12-227410-7.