สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

Rheinische Bundesstaaten (เยอรมัน)
États confédérés du Rhin (ฝรั่งเศส)
ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1813
ของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์
ตราแผ่นดิน
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ในปี ค.ศ. 1812
สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ในปี ค.ศ. 1812
สถานะรัฐบริวารของฝรั่งเศส
เมืองหลวงแฟรงก์เฟิร์ต
ศาสนา
คาทอลิก โปรเตสแตนต์
การปกครองสมาพันธรัฐฝรั่งเศส รัฐบริวาร
ผู้อารักขา 
• ค.ศ. 1806-1813
นโปเลียนที่ 1
เจ้าชาย-ไพรเมต 
• ค.ศ. 1806-1813
คาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก
• ค.ศ. 1813
เออแฌน เดอ โบอาร์เนส์
ยุคประวัติศาสตร์สงครามนโปเลียน
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806
6 สิงหาคม ค.ศ. 1806
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1813
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สมาพันธรัฐเยอรมัน

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์[1] หรือ สมาพันธรัฐแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbund; ฝรั่งเศส: États confédérés du Rhin (ชื่ออย่างเป็นทางการ) Confédération du Rhin (ชื่อในทางพฤตินัย)) เป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ก่อตั้งจากรัฐเยอรมันทั้ง 16 รัฐ โดยจักรพรรดินโปเลียนหลังจากรบชนะจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ การลงนามในสนธิสัญญาเพรซเบิร์กได้นำไปสู่การก่อตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1806 ถึงปี ค.ศ. 1813

สมาชิกของสมาพันธ์คือเจ้าผู้ครองนครรัฐเยอรมัน (Fürsten) ในความปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ 16 รัฐ ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว เจ้าเหล่านี้ล้วนมิใช่ประมุขของรัฐซึ่งตนเองปกครองอยู่ ภายหลังได้มีรัฐอื่นอีก 19 รัฐเข้าร่วมในสมาพันธรัฐ ทำให้เมื่อรวมกันแล้วทำให้มีประชากรภายใต้การปกครองมากกว่า 15 ล้านคน ก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์อย่างมากต่อจักรวรรดิฝรั่งเศสในแนวรบด้านตะวันออก

การก่อตั้ง

ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 นครรัฐ 16 รัฐ ซึ่งรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ได้ลงนามในสนธิสัญญาสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbundakte) เพื่อแยกตัวจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และรวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐในชื่อ "สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์" (états confédérés du Rhin) โดยอิงตามชื่อของกลุ่มรัฐเยอรมันในยุคก่อนหน้าที่เรียกว่า "สันนิบาตแห่งแม่น้ำไรน์" มีจักรพรรดินโปเลียนเป็นดำรงตำแหน่ง "ผู้อารักขา" แห่งสมาพันธรัฐ หลังจากนั้นในวันที่ 6 สิงหาคม ด้วยการยื่นคำขาดของนโปเลียน จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จึงได้สละตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และประกาศล้มเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บรรดารัฐเยอรมันมากกว่า 23 รัฐก็เข้าร่วมสมาพันธรัฐ โดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จะปกครองส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิในชื่อจักรวรรดิออสเตรีย มีเฉพาะออสเตรีย ปรัสเซีย ฮ็อลชไตน์ส่วนที่เป็นของเดนมาร์ก และปอมเมอเรเนียของสวีเดนเท่านั้นที่อยู่นอกสมาพันธรัฐ ไม่นับรวมดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และราชรัฐเออร์เฟิร์ตซึ่งถูกยึดครองโดยจักรวรรดิฝรั่งเศส

ตามสนธิสัญญาดังกล่าว สมาพันธรัฐจะดำเนินการโดยผู้แทนร่วมตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐใหญ่ ต่างก็ต้องการมีอำนาจอธิปไตยอย่างไม่จำกัด

สมาพันธรัฐนี้มิได้มีประมุขเป็นกษัตริย์ตามอย่างที่เคยใช้ในจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำแหน่งสูงสุดในสมาพันธรัฐนี้เป็นของคาร์ล เทโอดอร์ ฟอน ดัลแบร์ก อดีตอัครมหาเสนาบดีผู้ที่เบื่อตำแหน่งเจ้าชาย-ไพรเมตของสมาพันธรัฐ ในฐานะดังกล่าวเขาเป็นประธานของคณะพระมหากษัตริย์ (College of Kings) และมีอำนาจเหนือ สภานิติบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐ (Diet of the Confederation) ซึ่งมีลักษณะองค์กรคล้ายกับรัฐสภา (Parliament) อย่างไรก็ตาม องค์กรดังกล่าวนี้ไม่เคยมีการประชุมแต่อย่างไร ส่วนประธานสภาของเจ้าผู้ครองนครคือเจ้าชายแห่งนัสเซา-อูซินเงน

ในความเป็นจริงแล้ว สมาพันธรัฐมีสถานะเป็นพันธมิตรทางการทหาร กล่าวคือ รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐจะต้องส่งกำลังทหารสนับสนุนจำนวนมากให้แก่ฝรั่งเศส โดยที่ผู้ปกครองรัฐจะได้รับการยกสถานะดินแดนของตนขึ้นเป็นการตอบแทน เช่น บาเดิน (ปัจจุบันดินแดนส่วนตะวันตกอยู่ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค) เฮ็สเซิน คลีฟส์ (Cleves) และเบิร์ก (ทั้งสองแห่งปัจจุบันอยู่ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน) ได้ยกฐานะขึ้นเป็นแกรนด์ดัชชี ส่วนเวือร์ทเทิมแบร์คและบาวาเรีย ได้ยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักร นอกจากนี้บางรัฐยังมีอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นโดยได้รับเอา "Kleinstaaten" หรือรัฐขนาดเล็กหลาย ๆ แห่งที่เคยเป็นสมาชิกของจักรวรรดิมาควบรวมเข้าไป

หลังปรัสเซียพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1806 รัฐขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากก็เข้าร่วมกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ โดยขยายตัวมากที่สุดในปี ค.ศ. 1808 ประกอบด้วย 4 ราชอาณาจักร 5 แกรนด์ดัชชี 13 ดัชชี 17 พรินซิพาลิตี และนครรัฐอิสระฮันเซียติค ได้แก่ เมืองฮัมบวร์ค ลือเบค และ เบรเมิน

ในปี ค.ศ. 1810 ส่วนใหญ่ของเยอรมนีตะวันออกเฉียงเหนือก็รวมเข้ากับจักรวรรดินโปเลียนอย่างเร่งด่วน ตามคำสั่งการห้ามค้าขายระหว่างประเทศกับสหราชอาณาจักร ตามนโยบายการปิดล้อมภาคพื้นทวีป ซึ่งบังคับให้ชาวยุโรปค้าขายกันเองโดยไม่ต้องพึ่งอังกฤษ

สมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์สลายตัวในปี ค.ศ. 1813 อันเนื่องมาจากการที่จักรพรรดินโปเลียนพ่ายสงครามแก่จักรวรรดิรัสเซีย สมาชิกจำนวนมากย้ายฝ่ายหลังจากสิ้นสุดยุทธการที่ไลพ์ซิก เมื่อการณ์ปรากฏชัดว่าจักรพรรดินโปเลียนจะแพ้ในสงครามประสานมิตรครั้งที่หก อย่างแน่นอนแล้ว

รัฐที่เป็นสมาชิก

ตารางต่อไปนี้แสดงรายนามรัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐและวันที่เข้าร่วม พร้อมทั้งจำนวนกำลังทหารในความปกครอง (แสดงด้วยตัวเลขในวงเล็บ)[2]

สมาชิกที่เป็นกษัตริย์

ร้ฐสมาชิก เข้าร่วมเมื่อ หมายเหตุ
แกรนด์ดัชชี่บาเดน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นรัฐมาร์เกรฟ (8,000)
ราชอาณาจักรบาวาเรีย 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดัชชี (30,000)
แกรนด์ดัชชี่เบิร์ก 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; รวมทั้งดัชชีเคลเวอ ในอดีตทั้งคู่เป็นดัชชี (5,000)
แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน-ดาร์มสตัดท์ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นเคาน์ตี (4,000)
ราชรัฐเรเกนสบวร์ก 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นราชรัฐอัครมุขนายก(4,000)
ราชอาณาจักรซัคเซิน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 ในอดีตเป็นดัชชี (20,000)
ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1807 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นใหม่ (25,000)
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นดัชชี (12,000)
แกรนด์ดัชชี่เวิร์ซบวร์ก 23 กันยายน ค.ศ. 1806 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นใหม่ (2,000)

สมาชิกที่เป็นเจ้าชาย

รัฐสมาชิก เข้าร่วมเมื่อ หมายเหตุ
ดัชชีอันฮัลท์-แบร์นบูร์ก 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (700)
ดัชชีอันฮัลท์-เดสเซา 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (700)
ดัชชีอันฮัลท์-เคอเทิน 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (700)
ดัชชีอาเรนแบร์ก 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐโฮเฮนซอลเลิร์น-เฮชิงเงิน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐไอเซนบูร์ก 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐไลเอิน 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ในอดีตเป็นดินแดนชั้นเกรฟ (Graf) (4,000)
ราชรัฐลิคเตนสไตน์ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (4,000)
ราชรัฐลิพเพอ-เดทมอลด์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (650)
ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน 22 มีนาคม ค.ศ. 1808 (1,900)
ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1808 (400)
ดัชชีนัสเซา (อูซิงเงินและเวลบูร์ก) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1806* ร่วมอยู่ในสหภาพแห่ง Nassau Usingen นัสเซา-อูซิงเงิน และ Nassau-Weilburg นัสเซา-เวลบูร์ก ทั้งสองรัฐเป็นรัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง (อย่างละ 4,000)
แกรนด์ดัชชีอ็อลเดินบวร์ค 14 ตุลาคม ค.ศ. 1808 ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเสษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1810 (800)
ราชรัฐรอยสส์-เอเบิร์สดอร์ฟ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (400)
ราชรัฐรอยสส์-ไกรซ์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (400)
ราชรัฐรอยสส์-โลเบนสไตน์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (400)
ราชรัฐรอยสส์-ชไลซ์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (400)
ราชรัฐซัล์ม (ซัล์ม-ซัล์ม และ ซาล์ม-คีร์บูร์ก) 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้ง; ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเสษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1810 (4,000)
ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์ก 15 ธันวาคม ค.ศ. 1806 (เป็นส่วนหนึ่งในกองกำลังแกรนด์ดัชชี่ซัคเซิน 2,000)
ดัชชีซัคเซิน-โกทา 15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ฮิลด์บูร์กเฮาเซิน 15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ไมนิงเงิน 15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1806
ราชรัฐชอมบวร์ก-ลิพเพอ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (650)
ราชรัฐชวาร์ซบวร์ก-รูดอลสตัดท์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (650)
ราชรัฐชวาร์ซบวร์ก-ซอนเดอร์สเฮาเซ่น 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (650)
ราชรัฐวาลเดิก-พีร์มอนต์ 11 เมษายน ค.ศ. 1807 (400)

เหตุการณ์ในช่วงหลัง

ฝ่ายประสานมิตรได้คัดค้านจักรพรรดินโปเลียนในการยุบสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1813 แต่ไม่เป็นผล ต่อมาหลังการเลิกล้มสมาพันธรัฐ ก็มีความพยายามที่จะรวมชาติเยอรมนีอีกครั้ง กระทั่งเมื่อมีการสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1815 โดยองค์กรบริหารของสมาพันธรัฐนี้เรียกว่าสภาการปกครองส่วนกลาง (เยอรมัน: Zentralverwaltungsrat) โดยประธานสภาได้แก่ ไฮน์ริช ฟรีดริช คาร์ล ไรช์สไฟรเฮอร์ ฟอม อุนด์ ซุม สไตน์ (ค.ศ. 1757 – 1831) ซึ่งต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ล้มเลิกไปในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1815

สนธิสัญญาปารีสได้ประกาศให้บรรดารัฐเยอรมันได้รับเอกราชในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1814

ในปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ร่างแผนที่รัฐกิจของยุโรปภาคพื้นทวีปขึ้นใหม่ รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ที่เหลืออยู่ส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนเพียงเล็กน้อย และมีผลทำให้เกิดสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกจำนวนใกล้เคียงใกล้เคียงกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 209
  2. "Creation of the Confederation of the Rhine, 12 July, 1806". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-09-26.