สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9
สมเด็จพระสันตะปาปา บุญราศี ปิอุสที่ 9 Pius IX | |
---|---|
บิชอปเเห่งโรม | |
สมณนาม | Papa Pius Nonus (ละติน) |
เริ่มวาระ | 16 มิถุนายน 1846 |
สิ้นสุดวาระ | 7 กุมภาพันธ์ 1878 |
องค์ก่อน | เกรกอริอุสที่ 16 |
องค์ถัดไป | เลโอที่ 8 |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
พระนามเดิม | จีโอวันนี มารีอา มัสตาอี แฟร์เร็ตติ |
ประสูติ | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1792 เซนิญกาลีอา รัฐสันตะปาปา |
สิ้นพระชนม์ | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 |
ข้อมูลอื่น |
สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 พระนามเดิม จีโอวันนี มารีอา มัสตาอี แฟร์เร็ตติ (อิตาลี: Giovanni Maria Mastai Ferretti) เป็นประมุขแห่งคริสตจักรคาทอลิกระหว่างปี 1846 ถึง 1878 รวมระยะเวลาถึงสามสิบเอ็ดปีเจ็ดเดือน ถือเป็นพระสันตะปาปาที่อยู่ในสมณสมัยยาวนานเป็นลำดับสองรองจากซีโมนเปโตร พระสันตะปาปาองค์แรก
พระองค์มีเป็นที่จดจำจากการเรียกประชุมคณะสังฆมนตรีแห่งวาติกันครั้งแรกในปี 1868 นอกจากนี้ ในสมัยของพระองค์ วาติกันยังสูญเสียอำนาจเหนือดินแดนของรัฐสันตะปาปาให้แก่ประเทศอิตาลีอย่างถาวรในปี 1870 ซึ่งนับแต่นั้น พระองค์ก็ไม่ยอมเสด็จออกจากวาติกันอีกเลย และประกาศว่าพระองค์เป็น "นักโทษแห่งวาติกัน"
ในช่วงที่พึ่งได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ถูกมองว่าเป็นนักอิสรนิยมและนักปฏิรูป แต่แล้วการปฏิวัติในปี 1848 โดยกลุ่มหัวใหม่และผู้เรียกร้องประชาธิปไตย[1] ก็ทำให้พระองค์เปลี่ยนนโยบายเป็นแนวอนุรักษนิยม ในเหตุการณ์นั้น นายกรัฐมนตรีของวาติกันถูกลอบสังหาร ทหารสวิสถูกปลดอาวุธ พระองค์จึงเหมือนถูกคุมขังในวาติกัน[2] แต่แล้วก็สามารถลักลอบเสด็จหนีจากกรุงโรมและประกาศคว่ำบาตรผู้เข้าร่วมสาธารณรัฐโรมัน[3] ต่อมาเมื่อสาธารณรัฐโรมันถูกปราบลงโดยกองทัพฝรั่งเศส พระองค์จึงเสด็จกลับกรุงโรมในปี 1850 นับแต่นั้น นโยบายของพระองค์ก็ยิ่งทวีความเป็นอนุรักษนิยม เพื่อต้านทานกระแสปฏิวัติที่กำลังแพร่ทั่วยุโรป
ในปี 1857 พระองค์รู้สึกว่าองคชาติของรูปสลักผู้ชายจำนวนมากในกรุงโรมเป็นสิ่งปลุกเจ้ากามตัณหา จึงทรงบัญชาให้ทำลายองคชาติของรูปสลักทั่วกรุงโรม และนำประติมากรรมใบมะเดื่อปิดไว้แทนที่
อ้างอิง
- ↑ Rapport 2009.
- ↑ Schmidlin 1922–1939, p. 35.
- ↑ De Mattei 2004, p. 33.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เกรกอริอุสที่ 16 | พระสันตะปาปา (16 มิถุนายน 1846 – 7 กุมภาพันธ์ 1878) |
เลโอที่ 8 |