สะเดา
สะเดา | |
---|---|
ดอกและใบของสะเดา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | เงาะ Sapindales |
วงศ์: | กระท้อน |
สกุล: | Azadirachta A.Juss., 1830 [2] |
สปีชีส์: | Azadirachta indica |
ชื่อทวินาม | |
Azadirachta indica A.Juss., 1830 [2] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
สะเดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Azadirachta indica; อังกฤษ: Siamese neem tree, Nim, Margosa, Quinine) เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในที่แล้ง ใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง ในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว ชื่ออื่นได้แก่ สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 15 - 25 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี
การใช้ประโยชน์
ส่วนที่ใช้
ดอกช่อดอก ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ
- ดอก ยอดอ่อน - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
- ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
- เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
- ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
- กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
- ยาง - ดับพิษร้อน
- แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
- ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
- ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
- ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
- เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
- น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้
- เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
- ใช้เป็นยาฆ่าแมลง สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย
เคมี
ผล มีสารขม bakayanin
ช่อดอก มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกนั้นพบ nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
เมล็ด มีน้ำมันขม margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
Nim Oil มี nimbidin เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย
อ้างอิง
- ↑ Barstow, M.; Deepu, S. (2018). "Azadirachta indica". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T61793521A61793525. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T61793521A61793525.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Azadirachta indica A.Juss". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020.
- กมลพรรณ นามวงศ์พรหมและสุรีรัตน์ คิ้วฮก. 2535. การขยายพันธุ์สะเดาในหลอดทดลองโดยการกระตุ้นให้เอมบริโอและชิ้นส่วนต้นอ่อนแตกยอดจำนวนมาก. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 10, 1-12
แหล่งข้อมูลอื่น
- National Research Council (US) Panel on Neem (1992). Neem: A Tree For Solving Global Problems. National Research Council (US) Panel on Neem. doi:10.17226/1924. ISBN 978-0-309-04686-2. PMID 25121266. PDF Copy
- Invasiveness information from Pacific Island Ecosystems at Risk (PIER) เก็บถาวร 2012-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Neem information เก็บถาวร 2010-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from the Hawaiian Ecosystems at Risk project (HEAR)
- Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-7234-3410-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2010. สืบค้นเมื่อ 15 January 2011. Contains a detailed monograph on Azadirachta indica (Neem; Nimba) as well as a discussion of health benefits and usage in clinical practice.