สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก

สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก
กำกับJohn Lasseter
Brad Lewis (ร่วมกำกับ)
บทภาพยนตร์Ben Queen
เนื้อเรื่องJohn Lasseter
Brad Lewis
Dan Fogelman
อำนวยการสร้างDenise Ream
นักแสดงนำOwen Wilson
Larry the Cable Guy
Michael Caine
Emily Mortimer
Jason Isaacs
Thomas Kretschmann
กำกับภาพJeremy Lasky
Sharon Calahan
ตัดต่อStephen Schaffer
ดนตรีประกอบMichael Giacchino
ผู้จัดจำหน่ายWalt Disney Pictures
วันฉายสหรัฐอเมริกา 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ไทย 29 กันยายน พ.ศ. 2554
ความยาว112 นาที
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง$200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
ทำเงิน$559.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก (อังกฤษ: Cars 2) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นของพิกซาร์ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554

เนื้อเรื่องย่อ

ไลท์นิ่ง แม็คควีน (โอเว่น วิลสัน) และ เมเทอร์ (แลร์รี่ เดอะ เคเบิล กาย) เดินทางสู่โตเกียวเพื่อเข้าแข่งขันรายการ เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อที่จะหารถที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก แต่ทว่าเมเทอร์ต้องต้องปฏิบัติสุดยอดภารกิจของเขาในฐานะซูเปอร์สปายสายลับระดับโลก เมเทอร์ต้องแยกร่างระหว่างการช่วยเหลือ ไลท์นิ่ง แม็คควีน ในการแข่งขันระดับโลก และภารกิจลับสุดยอดที่มอบหมายโดย ซูเปอร์สปายสายลับขั้นเทพจากสหราชอาณาจักร ฟินน์ แมคมิซซายล์ (ไมเคิล เคน) และสายลับฝึกหัด ฮอลลีย์ ชิฟท์เวล (เอมิลี่ มอร์ติเมอร์) การผจญภัยสุดระทึกของเมเทอร์ได้พาเขาไปสู่การขับรถไล่ล่าบนถนนในญี่ปุ่น และ ยุโรป ที่พ่วงท้ายมาด้วยเพื่อนๆของเขาและทั่วทั้งโลกที่เฝ้าจับตาดูอยู่ ความสนุกแบบไฮ-สปีดกับเหล่าตัวละครรถยนต์แบบใหม่ๆมากมาย ที่จะต้องพิชิตทั้งเหล่าวายร้ายและคู่แข่งในการแข่งขันระดับโลก

อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์

Cars 2
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย
Michael Giacchino
วางตลาดJune 14, 2011
แนวเพลงScore
ความยาว57:00
ค่ายเพลงWalt Disney Records
Pixar film soundtrack
Toy Story 3
(2010)Toy Story 32010
Cars 2
(2011)
Brave
(2012)Brave2012

ซาวด์แทรคสายลับสี่ล้อซิ่งสนั่นโลกได้รับการเปิดตัวทั้งในรูปแบบซีดีและดิจิตอลดาวน์โหลดในวันที่ 14 มิถุนายน โดย Michael Giacchino หลังจากที่ได้แต่งกับเรื่องรวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก, ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก และ ปู่ซ่าบ้าพลัง นอกจากนี้ยังนับเป็นครั้งแรกที่ John Giacchino ได้ทำงานร่วมกับ John Lasseter เป็นกรรมการตั้งแต่ John Lasseter ได้รับผู้อำนวยการบริหารสำหรับงวดสามเรื่องดังกล่าวทำได้โดยนักแต่งเพลง

เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยMichael Giacchino

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ศิลปินยาว
1."You Might Think" (Cover of The Cars)Ric OcasekWeezer3:07
2."Collision Of Worlds"Paisley, WilliamsBrad Paisley And Robbie Williams3:36
3."Mon Cœur Fait Vroum (My Heart Goes Vroom)"Michael GiacchinoBénabar2:49
4."Nobody's Fool"PaisleyBrad Paisley4:17
5."Polyrhythm"Yasutaka NakataPerfume4:09
6."Turbo Transmission"  0:52
7."It's Finn McMissile!"  5:54
8."Mater The Waiter"  0:43
9."Radiator Reunion"  1:39
10."Cranking Up The Heat"  1:59
11."Towkyo Takeout Score"  5:40
12."Tarmac The Magnificent"  2:38
13."Whose Engine Is This?"  1:22
14."History's Biggest Loser Cars"  2:26
15."Mater Of Disguise"  0:48
16."Porto Corsa Score"  2:55
17."The Lemon Pledge"  2:13
18."Mater's Getaway"  0:59
19."Mater Warns McQueen"  1:31
20."Going To The Backup Plan"  2:25
21."Mater's The Bomb"  3:16
22."Blunder And Lightning"  2:17
23."The Other Shoot"  1:03
24."Axlerod Exposed"  2:21
25."The Radiator Springs Gran Prix"  1:30
26."The Turbomater"  0:50
ฟินน์ แมคมิซซายล์ เมเทอร์ ไลท์นิ่ง แม็คควีน

การตอบรับ

บ็อกซ์ออฟฟิศ

สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก ทำรายได้ 191,452,396 ดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และ 360,400,000 ดอลลาร์ในภูมิภาคอื่น คิดรวมทั่วโลกทั้งสิ้น 551,852,396 ดอลลาร์[2] ซึ่งสามารถทำรายได้ทั่วโลกในช่วงเปิดตัวสุดสัปดาห์ที่ 109.0 ล้านดอลลาร์ โดยได้รับการจารึกว่าเป็นการเปิดตัวสุดสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชัน[3] โดยรวมแล้วถือว่า สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก ได้เป็นภาพยนตร์พิกซาร์ ที่สามารถทำผลงานทางบ็อกซ์ออฟฟิศเป็นอันดับหก จากที่ได้เปิดตัวไปทั้งหมดสิบสองรายการ

คำวิจารณ์

สำหรับเสียงวิจารณ์ เมื่อเข้าฉายแล้ว กระแสวิจารณ์โดยมากมักเป็นไปในทางลบ โดยแฟนๆส่วนใหญ่มักเห็นว่า แม้ภาพยนตร์จะรายได้ยอดเยี่ยมและพยายามให้แง่คิด ที่เสมือนกับว่าต้องการบอกว่า ไม่ว่าเพื่อนจะสร้างเรื่องยุ่งให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไร แต่เพื่อนก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเสมอในเวลาที่ต้องการและต้องการให้สื่อถึงการประหยัดพลังงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่น่าจดจำของประเด็นนี้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังโดนวิจารณ์อย่างยับถึงความซับซ้อนของบท บทดูเป็นผู้ใหญ่มากเกินไปและถูกแทนที่ด้วยฉากแอ๊กชั้นมากจนเกินไป

การเปิดตัว

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2008 จอห์น ลาสซีเตอร์ ได้ประกาศถึง Cars 2 ว่าจะได้รับการพัฒนาและได้รับการเปิดตัวในฤดูร้อน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นหนึ่งปีก่อนที่เดิมกำหนดไว้ที่ ค.ศ. 2012 [4] โดยวันเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาได้รับการยืนยันในภายหลังว่าเป็นวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2011 และวันเปิดตัวในสหราชอาณาจักรได้กำหนดไว้ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 [5] ซึ่งการจัดฉายรอบปฐมทัศน์ครั้งแรกในโลก จัดขึ้นที่ เอลกาปิแทนเธียเตอร์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011 [6]

วิดีโอเกม

วิดีโอเกมที่อิงภาพยนตร์ได้รับการพัฒนาโดย แอวาแลนช์ซอฟต์แวร์ และจัดจำหน่ายโดย Disney Interactive Studios สำหรับระบบ Playstation 3 , Xbox 360 , Wii , PC และ Nintendo DS ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2011 [7] สำหรับเวอร์ชัน Playstation 3 ได้รับการเปิดเผยว่าสามารถรองรับรูปแบบการเล่น 3 มิติ ได้[8]

อ้างอิง

  1. Fritz, Ben (June 24, 2011). "Movie Projector: 'Cars 2' expected to sputter to No. 1 [Updated]". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
  2. 2.0 2.1 "Cars 2 (2011)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ November 17, 2011.
  3. "WORLDWIDE OPENINGS". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
  4. Sciretta, Peter (24 September 2011). "Cars 2: New Release Date, Story Details, Short Car-Toons". SlashFilm. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  5. "Pixar Says Cars 2 is Still Due in Cinemas in June 2011". BBC. 10 February 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  6. "Cars 2 Premiere". Los Angeles Times. 18 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  7. "Disney Pixar's Cars 2: The Video Game Revving Up for Release Summer 2011". IGN. February 14, 2011. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.
  8. "Cars 2 Playstation 3 Game Will Be 3D". BSCKiDS. April 6, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-14. สืบค้นเมื่อ April 14, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น