สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี
สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี | |
โชซ็อนกึล | 삼십구호실 |
---|---|
ฮันจา | 三十九號室 |
อาร์อาร์ | Samsipgu-hosil |
เอ็มอาร์ | Samsipku-hosil |
รูม 39 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี[1] เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บูโร 39, ดิวิชั่น 39, หรือ ออฟฟิด 39[2]) เป็นองค์กรลับของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ที่พยายามเก็บรักษาเงินสกุลต่างประเทศด้วยการปลอม เพื่อผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ[3]
มีการนำเงินเข้าองค์กร ระหว่าง $500 ล้าน ถึง $1 พันล้านต่อปี หรือมากกว่านี้[4] และอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ผิดกฏหมาย ตัวอย่างเช่น การปลอมธนบัตร 100 ดอลลาร์, ผลิตสารควบคุม (รวมทั้งการสังเคราะห์เมแทมเฟตามีน และการแปลงมอร์ฟีนที่มีฝิ่นปนเปื้อนสารบริสุทธิ์ เช่น เฮโรอีน) และการฉ้อโกงประกันระหว่างประเทศ[5]
แม้ว่าประเทศเกาหลีเหนือจะถูกโดดเดี่ยว แต่มันก็ยากที่จะประเมินข้อมูลชุดนี้ หลายข้อมูลของ รูม 39 นั้นเป็นวิกฤตศรัทธาของ คิม จ็อง-อึน อย่างต่อเนื่อง การเปิดสำนักงานของเขาสู่การสนับสนุนทางการเมืองและการช่วยกองทุน อาวุธนิวเคลียร์[6]
เชื่อกันว่าที่ทำการ รูม 39 ตั้งอยู่ภายในอาคารใน พรรคแรงงานแห่งชาติ ที่เปียงยาง[7] ไม่ไกลจากบ้านพักของผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ
ประวัติ
รูม 39 ก่อตั้งขึ้นโดย คิม อิล-ซ็อง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ได้รับการอธิบายเป็นหลักสำคัญที่ทำให้ประเทศเกาหลีเหนืออยู่ได้ โดยเรียกว่า "ศาลเศรษฐกิจ" ศูนย์กลางในราชวงศ์คิม[8] ปัจจุบันยังไม่มีใครทราบถึง ต้นกำเนิดของชื่อรูม 39
ช่วงต้นปี 2010 สำนักข่าวยอนฮับ ของประเทศประเทศเกาหลีใต้ รายงานว่า คิม ด็อง-อึน หัวหน้าสำนักงานเป็นรองหัวหน้าแทน จอน อิล-ชุน[9]
โชซ็อน อิลโบ รายงานเรื่อง รูม 38 นำโดยคิม จ็อง-อิล รวมเข้ากับ รูม 39 ในช่วงปลายปี 2009 แต่ทั้งสองสำนักงานก็แยกอีกครั้งในปี 2010 the two were split again in 2010 เนื่องจากความแตกต่างในการได้รับสกุลเงินต่างประเทศ[10]
วัตถุประสงค์และกิจกรรม
รูม 39 เกี่ยวข้องกับการจัดการสกุลเงินต่างประเทศ รายได้มาจากคนต่างชาติมาอาศัยโรงแรมในกรุงเปียงยาง, ทองคำและการทำเหมืองแร่สังกะสี, และการเกษตรและการส่งออกประมง เชื่อว่าหลายบริษัทถูกควบคุมโดย รูม 39 ประกอบด้วย การค้าโซควัง และ ธนาคารทาเอะซ็อง
รายงานปี 2007 เผยแพร่โดย โครงการไมเลินเนียม ของ สมาคมสหพันธ์แห่งสหประชาชาติโลก รายงานว่า เกาหลีเหนือสร้างรายได้กว่า 500 ถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากวิสาหกิจอาชญากร[11]
ในปี 2009 วอชิงตันโพสต์ระบุรายงานร่างแผนประกันภัยการทุจริตทั่วโลก ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ในชื่อคอร์ปประกันภัยแห่งชาติเกาหลี (เคเอ็นไอซี) โดยหาสัญญารับประกันภัย กับบริษัทประกันภัยต่างประเทศและยื่นคำร้องในการฉ้อโกง สัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศเกาหลีเหนือ และความท้าทายทางกฎหมายก็ไร้ผล
ยังเชื่ออีกว่า รูม 39 ดำเนินธุรกิจร้านอาหารเกาหลีเหนือ ที่ชื่อว่าเปียงยาง[12][12][11]
ในปี ค.ศ. 2015 สหภาพยุโรปได้มีมติเกี่ยวกับเคเอ็นไอซี โดยลงโทษและเพิ่มเคเอ็นไอซีเป็นหนึ่งในองค์กร รูม 39 [13] เคเอ็นไอซี (เป็นสำนักงานในเมืองฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี และลอนดอน สหราชอาณาจักร) โดยได้รายงานทรัพย์สินว่ามีทรัพย์สินราว 787 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 2014 โดยมีส่วนร่วมในการหลอกลวงตลาดประกันภัยและกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการเปลี่ยนเงินตราในต่างปรเทศ[14] แท ย็อง-โฮ อดีตผู้ช่วยเอกอัคราชทูตเกาหลีเหนือประจำสหราชอาณาจักรที่ได้หลบหนีจากประเทศในปี ค.ศ. 2016 ได้กล่าวถึงประเทศเกาหลีเหนือว่า ในแต่ละปีเกาหลีเหนือได้รับคนละ "สิบล้านดอลลาร์สหรัฐ" จากการฉ้อโกงประกัน[15]
รี จ็อง โฮ เป็นเจ้าหน้าอาวุธโส ประจำองค์กร รูม 39 ประมาณ 30 ปี เขาได้แปรพักตร์มาอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2014 และประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2016 รียังเป็นประธานกลุ่ม คัมกังเกาหลี โดยได้ร่วมกับนักธุรกิจชาวจีนในบริษัทแท็กซี ในกรุงเปียงยาง[16] บริษัทการส่งสินค้าของประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ ประธานสาขาในแดงฮยอง บริษัทการค้าเกาหลีเหนือที่เกี่ยวกับ อาหารทะเล, ถ่านหิน, การส่งสินค้า และน้ำมัน
ในปี ค.ศ. 2017 บทความในหนังสือพิมพ์ รี อธิบายถึง วิธีหลีกเลี่ยงจากการคว่ำบาตรโดยการโอนเงินสดจากประเทศจีนไปยังประเทศเกาหลีเหนือด้วยทางเรือและรถไฟ[17]
ดูเพิ่ม
- กิจกรรมที่ผิดกฎหมายของเกาหลีเหนือ
- ขบวนการช็อง ชน
อ้างอิง
- ↑ Rosett, Claudia (15 April 2010). "Kim Jong Il's 'Cashbox'". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2015-07-09.
- ↑ Landler, Mark (August 30, 2010). "New U.S. Sanctions Aim at North Korean Elite". The New York Times.
- ↑ David Rose (August 5, 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair.
- ↑ Rose, David (September 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
- ↑ "Global Insurance Fraud By North Korea Outlined". Washington Post. June 18, 2009.
- ↑ David Rose (August 5, 2009). "North Korea's Dollar Store". Vanity Fair.
- ↑ Kelly Olsen (June 11, 2009). "New sanctions could hit North Korea's fundraising". The Guardian.
- ↑ "North Korea fires head of secret bureau 'Room 39'". CTV News. Feb 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 2017-07-15.
- ↑ "Report: NKorea Fires Director of Kim's Finances". AP. February 4, 2010.
- ↑ "Kim Jong-il Restores Special Department to Swell Coffers". Chosun Ilbo. June 22, 2010.
- ↑ Olsen, Kelly (June 11, 2009). "North Korea's secret: Room 39".
- ↑ Strangio, Sebastian (March 22, 2010). "Kingdom Kim's Culinary Outposts: Inside the bizarre world of Asia's North Korean restaurant chain". Slate.
- ↑ Booth, Robert (2017-04-23). "UK freezes assets of North Korean company based in south London". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ Gadher, Dipesh (2017-04-23). "Kim cooked up 'nuclear cash' in the suburbs". The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ Gadher, Dipesh (2017-04-23). "Secrets of Kim's little house in the suburbs". The Sunday Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ Pearson, James (2015-10-19). "Taxis parade once-empty streets of North Korean capital". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
- ↑ Fifield, Anna (2017-07-13). "He ran North Korea's secret moneymaking operation. Now he lives in Virginia". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
บรรณานุกรม
- Jay Solomon and Hae Won Choi (July 14, 2003). "Money Trail: In North Korea, Secret Cash Hoard Props Up Regime". The Wall Street Journal.
- Michael Breen (January 2004). Kim Jong-il: North Korea's Dear Leader. John Wiley and Sons. ISBN 0-470-82131-0.