สิบสามอาณานิคม
สิบสามอาณานิคม | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1607–1776 | |||||||||||
สิบสามอาณานิคม (สีแดง) เมื่อ ค.ศ. 1775 เทียบกับพรมแดนสมัยใหม่ | |||||||||||
สถานะ | อาณานิคม | ||||||||||
การปกครอง | ระบบการจัดการอาณานิคม | ||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||
• ค.ศ. 1607–1625 | พระเจ้าเจมส์ที่ 1 และ 6 (พระองค์แรก) | ||||||||||
• ค.ศ. 1760–1776 | พระเจ้าจอร์จที่ 3 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
• อาณานิคมโรอาโนก | ค.ศ. 1585 | ||||||||||
ค.ศ. 1607 | |||||||||||
• นิวอิงแลนด์ | ค.ศ. 1620 | ||||||||||
• พระบรมราชานุญาตโรดไอแลนด์ | ค.ศ. 1663 | ||||||||||
• มอบนิวเนเธอร์แลนด์ให้แก่อังกฤษ | ค.ศ. 1667 | ||||||||||
ค.ศ. 1713 | |||||||||||
• มณฑลจอร์เจีย | ค.ศ. 1732 | ||||||||||
ค.ศ. 1754–1763 | |||||||||||
• บทบัญญัติสันนิบาต | ค.ศ. 1774 | ||||||||||
ค.ศ. 1776 | |||||||||||
ค.ศ. 1783 | |||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• ค.ศ. 1625 | 1,980 คน[1] | ||||||||||
• ค.ศ. 1775 | 2,400,000 คน[1] | ||||||||||
|
สิบสามอาณานิคม (อังกฤษ: Thirteen Colonies) เป็นกลุ่มอาณานิคมของบริเตนบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในทวีปอเมริกาเหนือในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อความคับค้องใจของชาวอาณานิคมที่มีต่อรัฐบาลบริเตนนำไปสู่การรวมตัวกันของอาณานิคมทั้ง 13 ใน ค.ศ. 1774 และสามารถขับไล่เจ้าอาณานิคมออกไปได้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1775 ตัวแทนจากสิบสามอาณานิคมร่วมจัดการประชุมสภาภาคพื้นทวีปครั้งที่สอง (Second Continental Congress) ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย โดยที่ประชุมได้แต่งตั้งจอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพภาคพื้นทวีป (Continental Army) เพื่อต่อสู้ในสงครามปฏิวัติอเมริกา และจากนั้นใน ค.ศ. 1776 สภาภาคพื้นทวีปจึงได้ออกคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐอเมริกา การที่กองทัพภาคพื้นทวีปสามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษได้ด้วยความช่วยเหลือฝรั่งเศส ทำให้สิบสามอาณานิคมได้รับอำนาจอธิปไตยในสนธิสัญญาปารีสที่ลงนามเมื่อ ค.ศ. 1783
สิบสามอาณานิคมเป็นการรวมกันของกลุ่มอาณานิคมดั้งเดิม ได้แก่ อาณานิคมนิวอิงแลนด์ (นิวแฮมป์เชอร์ แมสซาชูเซตส์ โรดไอแลนด์ และคอนเนทิคัต) อาณานิคมตอนกลาง (นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เพนซิลเวเนีย และเดลาแวร์) และอาณานิคมตอนใต้ (แมริแลนด์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจีย)[2] อาณานิคมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของบริติชอเมริกา ซึ่งยังรวมถึงดินแดนในลัสฟลอริดัส (Las Floridas) แคริบเบียน และพื้นที่ประเทศแคนาดาในปัจจุบัน[3]
สิบสามอาณานิคมมีระบบการเมือง รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่คล้ายคลึงกัน และแต่ละอาณานิคมจะอยู่ในการปกครองของชนอังกฤษโปรเตสแตนต์โดยส่วนใหญ่ อาณานิคมเวอร์จิเนียเป็นอาณานิคมแรก ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1607 ณ เมืองเจมส์ทาวน์ อาณานิคมนิวอิงแลนด์ แมริแลนด์ และเพนซิลเวเนียนั้นจัดตั้งขึ้นด้วยแรงจูงใจจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา ส่วนอาณานิคมอื่น ๆ ได้ก่อตั้งขึ้นจากจุดประสงค์ทางธุรกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับอาณานิคมตอนกลางก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่อาณานิคมนิวเนเธอร์แลนด์เดิม
ในระหว่าง ค.ศ. 1625 ถึง ค.ศ. 1775 ประชากรในอาณานิคมเติบโตขึ้นจาก 2 พันคน เป็น 2.4 ล้านคน ส่งผลให้เกิดการขับไล่กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน ประชากรทั้งหมดนั้นรวมถึงบุคคลในระบบทาส ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องถูกกฎหมายในอาณานิคมทั้งหมด ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐบาลบริเตนได้ดำเนินนโยบายพาณิชยนิยมสำหรับการบริหารอาณานิคม เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเท่านั้น
สิบสามอาณานิคมต่างมีระบบการปกครองตนเองในระดับสูงและการเลือกตั้งที่เข้มแข็ง[a] และสิ่งเหล่านี้ต่อต้านความต้องการของรัฐบาลลอนดอนในการควบคุมมากขึ้น ด้วยสงครามฝรั่งเศสและอินเดีย (ค.ศ. 1754–1763) ที่รบกับฝรั่งเศสและพันธมิตรอินเดียส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างสหราชอาณาจักรและสิบสามอาณานิคมลุกลามเป็นวงกว้าง ในช่วงทศวรรษ 1750 อาณานิคมต่าง ๆ เริ่มร่วมมือกันแทนที่จะประสานโดยตรงกับรัฐบาลบริเตน จากความช่วยเหลือของหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ ทำให้กิจกรรมและข้อกังวลระหว่างอาณานิคมเหล่านี้ได้รับการแบ่งปันและนำไปสู่การเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิในฐานะชาวอังกฤษของชาวอาณานิคม โดยเฉพาะหลักการ "ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน"
ความตึงเครียดกับรัฐบาลบริเตนในเรื่องการจัดเก็บภาษีและสิทธินำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา ซึ่งอาณานิคมทั้งหมดร่วมมือกันจัดตั้งสภาภาคพื้นทวีปและกองทัพภาคพื้นทวีป และร่วมต่อสู้ในสงครามปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. 1775–1783) พร้อมด้วยความช่วยเหลือจากราชอาณาจักรฝรั่งเศส สาธารณรัฐดัตช์ และราชอาณาจักรสเปน[6]
เชิงอรรถ
- ↑ ไม่มีอาณานิคมใดมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป มีการจำกัดการออกเสียง ซึ่งให้เฉพาะบุรุษผู้มั่งคั่งที่เป็นอิสระ ซึ่งวัดจากจำนวนทรัพย์สินหรือขอบเขตของภาษีที่จ่าย การออกเสียงไม่นับรวมชนชั้นแรงงาน ผู้หญิง ทาส และชนพื้นเมืองอเมริกัน (ชาวอินเดีย)[4] ยิ่งไปกว่านั้น แต่ละอาณานิคมมีการสอบทางศาสนาที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับในสหราชอาณาจักร ซึ่งใช้เกณฑ์สำหรับการมีส่วนร่วมในรัฐบาล[5]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 U.S. Census, 1906, p. 9
- ↑ "The 13 Colonies". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 11, 2020.
- ↑ Fradera, Josep M. (2020). "1780–1880: A Century of Imperial Transformation". ใน Tomich, Dale W. (บ.ก.). Atlantic Transformations: Empire, Politics, and Slavery during the Nineteenth Century. SUNY Series: Fernand Braudel Center Studies in Historical Social Science. Albany, New York: SUNY Press. pp. 1–19. ISBN 9781438477848. LCCN 2019049099.
- ↑ Mintz Steven. "Winning the Vote: A History of Voting Rights - Gilder Lehrman Institute of American History". www.gilderlehrman.org. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.
- ↑ Wood, James E. (1987). ""No Religious Test Shall Ever Be Required": Reflections on the Bicentennial of the U.S. Constitution". Journal of Church and State. 29 (2): 199–203. doi:10.1093/jcs/29.2.199. ISSN 0021-969X. JSTOR 23916451.
- ↑ Middleton, Richard; Lombard, Anne (2011). Colonial America: A History to 1763 (4th ed.). Chichester, England: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-9004-6. OCLC 682892448.