หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่
ปกฉบับภาษารัสเซีย | |
ผู้ประพันธ์ | จอร์จ ออร์เวลล์ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | 'Nineteen Eighty-Four' |
ผู้แปล | (ไทย) รัศมี เผ่าเหลืองทอง อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
ภาษา | อังกฤษ |
ประเภท | ดิสโทเปีย บันเทิงคดีการเมือง บันเทิงคดีสังคมศาสตร์ |
สำนักพิมพ์ | Secker and Warburg (ลอนดอน) |
วันที่พิมพ์ | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1949 |
ISBN | 978-0-141-18776-1 |
OCLC | 52187275 |
823/.912 22 | |
LC Class | PR6029.R8 N647 2003 |
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (อังกฤษ: Nineteen Eighty-Four) บ้างใช้ว่า 1984 เป็นนวนิยายดิสโทเปียโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1949 นวนิยายดังกล่าวมีฉากท้องเรื่องในแอร์สตริปวัน (Airstrip One) เดิมชื่อบริเตนใหญ่อันเป็นจังหวัดหนึ่งของมหารัฐโอเชียเนีย (Oceania) ในโลกซึ่งมีสงครามตลอดกาล (Perpetual war) การสอดส่องดูแลของรัฐบาลทุกหนแห่ง และการชักใยสาธารณะทางการเมือง ชี้นำโดยระบบการเมืองที่เกลื่อนคำว่าสังคมนิยมอังกฤษ (English Socialism) หรืออิงก์ซ็อก (Ingsoc) ในภาษานิวสปีก (Newspeak) อันเป็นภาษาประดิษฐ์ของรัฐบาลภายใต้การควบคุมของอภิชนพรรคใน (Inner Party) ที่มีอภิสิทธิ์ซึ่งก่อกวนปัจเจกนิยมและการคิดอย่างอิสระทั้งหมดโดยว่าเป็น "อาชญากรรมความคิด" (Thoughtcrime)[1] พี่เบิ้มหรือบิ๊กบราเตอร์ (Big Brother) เป็นตัวอย่างของระบอบทรราชย์ ผู้นำพรรคกึ่งเทพซึ่งได้ประโยชน์จากลัทธิบูชาบุคคลที่เข้มข้น แต่อาจไม่มีอยู่จริงด้วยซ้ำ พี่เบิ้มหรือบิ๊กบราเตอร์และพรรคอ้างเหตุผลการปกครองอย่างกดขี่ของพวกตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมที่สมมติขึ้น[2] ตัวละครเอกของเรื่อง วินสตัน สมิธ (Winston Smith) เป็นสมาชิกของพรรคนอก (Outer Party) ที่ทำงานในกระทรวงความจริง (Ministry of Truth) หรือมินิทรู (Minitrue) ซึ่งรับผิดชอบต่อโฆษณาชวนเชื่อและลัทธิแก้ประวัติศาสตร์ (Historical revisionism) งานของเขาคือการเขียนบทความหนังสือพิมพ์เก่าใหม่เพื่อให้บันทึกประวัติศาสตร์สนับสนุนแนวทางปัจจุบันของพรรค[3] สมิธเป็นคนงานที่ขยันและมีทักษะ แต่เขาเกลียดพรรคอย่างลับ ๆ และฝันกบฏต่อพี่เบิ้มหรือบิ๊กบราเตอร์
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เป็นบันเทิงคดีการเมืองและบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ดิสโทเปีย เป็นบันเทิงคดีคลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่องและลีลา หลายคำและมโนทัศน์ในเรื่อง เช่น พี่เบิ้มหรือบิ๊กบราเตอร์,ย้อนแย้ง หรือ การคิดสองชั้น ตามในหนังสือ (Doublethink), อาชญากรรมความคิด, นิวสปีก, ห้อง 101 (Room 101), เทเลสกรีน, 2 + 2 = 5 และหลุมความทรงจำ (Memory hole) มีใช้ประจำวันนับแต่การตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1949 ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ทำให้คุณศัพท์ เกี่ยวกับงานของออร์เวลล์ได้รับความนิยม ซึ่งอธิบายการหลอกลวงอย่างเป็นทางการ การสอดส่องดูแลลับ และการชักใยอดีตทางการเมืองโดยรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จหรืออำนาจนิยม[3] ใน ค.ศ. 2005 นิตยสารไทม์ เลือกให้นวนิยายเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 100 นวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 1923 ถึง 2005[4] อยู่ทั้งในรายการนวนิยายดีที่สุด 100 เรื่องหอสมุดสมัยใหม่ แตะอันดับที่ 13 ในรายการของบรรณาธิการ และอันดับที่ 6 ในรายการของผู้อ่าน[5] ใน ค.ศ. 2003 นวนิยายเรื่องนี้อยู่ในอันดับที่ 8 ของการสำรวจเดอะบิ๊กรีด ของบีบีซี[6]
ก่อนการตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือจะใช้ชื่อว่า The Last Man in Europe แต่ผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "1984" เพื่อให้ฟังดูน่าสงสัย และน่าติดตาม[7]
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ฉบับภาษาไทยตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์กอไผ่ แปลโดย รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ เมื่อกันยายน พ.ศ. 2525[8] ต่อมาได้มีผู้แปลและจัดพิมพ์ฉบับภาษาไทยมากกว่าหนึ่งสำนวน
การดัดแปลงและงานสืบเนื่อง
วรรณกรรม
หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ภาคภาษาอังกฤษถูกใช้ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์สังคม (sociolinguistics) โดยเฉพาะเรื่องภาษากับความคิด (language and thought)
ภาพยนตร์
เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉาย ในปี ค.ศ. 1984 มีความยาว 110 นาที ได้รับแรงบันดาลใจจากนวนิยายของจอร์จ ออเวลล์ กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดย ไมเคิล แรดฟอร์ด นำแสดงโดย จอห์น เฮิร์ต, ริชาร์ด เบอร์ตัน และ ซูซานนา แฮมิลตัน ซึ่งจอห์น เฮิร์ตได้รับรางวัลในฐานะนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากหลายรางวัล โดยรวมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ 6 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อ 1 รางวัล[9]
โทรทัศน์
- ชื่อรายการและชื่อตัวละครในเรียลลิตี้โชว์ บิ๊ก บราเธอร์ มาจากชื่อตัวละครใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ Big Brother แสดงให้เห็นถึงการคอยเฝ้ามองตลอดเวลา และจะให้คนทำอะไรทุกอย่างเพื่อเป็นผลดีต่อองค์กร แม้จะทำร้ายตัวเขาเอง และผู้อื่นก็ตาม
อ้างอิง
- ↑ The Columbia Encyclopedia, Fifth Edition, Columbia University Press: 1993, p. 2030. ISBN 978-0-395-62438-8.
- ↑ Benet's Reader's Encyclopedia, Fourth Edition (1996). HarperCollins:New York. p. 734. ISBN 978-0-06-270110-7.
- ↑ 3.0 3.1 The Oxford Companion to English Literature, Sixth Edition. University of Oxford Press: 2000. p. 726. ISBN 978-019-861453-1.
- ↑ Grossman, Lev; Lacayo, Richard (6 ตุลาคม 2005). "ALL-TIME 100 Novels. 1984 (1949), by George Orwell". Time. ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2012.
- ↑ "100 Best Novels". Modern Library. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2012.
- ↑ "BBC – The Big Read". BBC. เมษายน 2003. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2012.
- ↑ Crick, Bernard. "Introduction" to Nineteen Eighty-Four (Oxford: Clarendon Press, 1984). OCLC 504293473.
- ↑ แคน สาริกา (26 มิถุนายน 2014). "วรรณกรรม'หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่': มนุษย์สองหน้า". คมชัดลึก.
- ↑ Nineteen Eighty-Four imdb.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nineteen Eighty-Four
- วิกิข่าว มีข่าวที่เกี่ยวข้อง: หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (ในภาษารัสเซีย)