หมากรุกมนุษย์

การเล่นหมากรุกมนุษย์ที่จัตุรัสพระราชวัง ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก สหภาพโซเวียต (ปี 1924)
การเล่นหมากรุกมนุษย์ในมอนเซลิเซ อิตาลี
การเล่นหมากรุกมนุษย์พร้อมตัวหมากรุกที่ระบายสีร่างกาย ในงานเทศกาลเพ้นท์ร่างกายโลก ที่Pörtschach am Wörthersee รัฐคารินเทีย ออสเตรีย

หมากรุกมนุษย์ หรือที่เรียกว่า หมากรุกมีชีวิต หรือ หมากรุกสด เป็นรูปแบบของหมากรุกที่ผู้คนรับบทบาทแทนตัวหมากรุกแต่ละตัว โดยปกติแล้วเกมนี้จะเล่นกลางแจ้ง บนกระดานหมากรุกขนาดใหญ่หรือบนพื้นดิน และมักพบได้ในงานแฟร์ยุคเรอเนสซองส์

ในเวียดนาม หมากรุกมนุษย์เป็นหนึ่งในเกมพื้นบ้านที่จัดขึ้นในงานเทศกาลพื้นบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงของภาคเหนือ และมักมีการเล่นในช่วงตรุษญวน (ปีใหม่ทางจันทรคติ)

รูปแบบ

เกมหมากรุกมนุษย์หลายรูปแบบมักจัดเป็นการแสดงบนเวทีที่มีการกำกับท่าทาง โดยนักแสดงที่ผ่านการฝึกใน การต่อสู้บนเวที (Stage Combat) การจับกินตัวหมากรุกจะแสดงออกผ่านการต่อสู้ที่ออกแบบไว้ล่วงหน้า ซึ่งผลของการต่อสู้อาจกำหนดได้ว่าตัวหมากจะถูกจับหรือไม่

ในบางกรณี ตัวหมากรุกอาจเข้าต่อสู้กันตามกติกาที่คล้ายกับกฎที่ใช้โดย สมาคมเพื่อการสร้างสรรค์อนาโครนิซึม ซึ่งมักเน้นความสมจริงและปลอดภัยในการแสดงแต่ละครั้ง

ตัวอย่าง

การละเล่นนี้ จะเล่นทุก ๆ 2 ปี ในสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายนที่เมืองมาโรสติกา (Marostica) ใกล้เวนิส, อิตาลี ตั้งแต่ปีค.ศ. 1923 กิจกรรมนี้กินเวลาไปสามวัน และใช้เวลาแสดงไปประมาณ 30 นาที[1]

โชงิมนุษย์

ส่วนหมากรุกญี่ปุ่นที่เรียกว่าโชงิ จะมีการจัดเทศกาลที่เท็นโด จังหวัดยามางาตะ โดยจัดขึ้นในช่วงปลายเมษายน ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อว่า นินเง็ง โชงิ (ญี่ปุ่น: 人間将棋โรมาจิNingen Shōgi) โดยผู้คนจะนั่งชมรอบ ๆ ผู้แสดงแทนตัวโชงิขนาดใหญ่ที่ใส่เครื่องแต่งกายในยุคเซ็งโงกุ[2] เท็นโดกับมาโรสติกาเป็นเมืองพี่น้องตั้งแต่ปีค.ศ. 1993.

ในวรรณกรรมและอื่น ๆ

มีฉากหมากรุกมนุษย์ในหนังสือ อลิซในเมืองกระจก (1871) ของลูอิส แคร์รอล[3]

ในภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ มีฉากเกมหมากรุกพ่อมด (Wizard's chess) ที่มีขนาดเท่ามนุษย์ โดยแฮร์รี, รอน กับเฮอร์ไมโอนีนั่งอยู่บนตัวหมากรุกสามอัน

ในซีรีส์ ฮันเตอร์สมีการเล่นหมากรุกมนุษย์ในค่ายกักกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ถูกวิจารณ์โดยบุคคลจากพิพิธภัณท์เอาช์วิทซ์ว่า มันไม่ได้เกิดขึ้นจริง[4]

อ้างอิง

  1. WhereMilan. "The Human Chess Game in Marostica - September 2018 [Less than 250Km from Milan]". Where Milan (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-03. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
  2. "Tendo Ningen Shogi".
  3. Stamp, Jimmy. "The 64-Square Grid Design of 'Through the Looking Glass'". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  4. "Amazon drama 'Hunters' criticized by Auschwitz Memorial Museum". EW.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.

แหล่งข้อมูลอื่น