หมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 40

หมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 40

โลโก้หมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 40
วันที่จัด 27 สิงหาคม ค.ศ. 2012 – 10 กันยายน ค.ศ. 2012
ผู้เข้าแข่งขัน 1,407 คน
จำนวนทีม 157 ทีม (โอเพ่น)
127 ทีม (สตรี)
จำนวนประเทศ 152 ประเทศ (โอเพ่น)
122 ประเทศ (สตรี)
สถานที่จัดการแข่ง อิสตันบูลเอ็กซ์โปเซ็นเตอร์
สถานที่ เยซิลคอย อิสตันบูล ประเทศตุรกี
แชมป์
ทีม
โอเพ่น 1 ธงของประเทศอาร์มีเนีย อาร์มีเนีย
2 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
3 ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
สตรี 1 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
2 ธงของประเทศจีน จีน
3 ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
บุคคล
โอเพน

อาเซอร์ไบจาน ชาครียาร์ มาเหม็ดยารอฟ

สตรี รัสเซีย นาเดสดา โคซินท์เซวา

หมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 40 (อังกฤษ: 40th Chess Olympiad) จัดขึ้นโดยสมาพันธ์หมากรุกโลก ซึ่งประกอบไปด้วยแบบโอเพน[1] และการแข่งขันของสตรี ตลอดจนรายการต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการแข่งขันหมากรุกสากล ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี[2] ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม ถึง 10 กันยายน ค.ศ. 2012 ซึ่งเมืองดังกล่าวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันใน ค.ศ. 2000

ผู้เล่นมากกว่า 1,700 คน และกัปตันทีมต่างเข้าร่วมรายการดังกล่าว รวมทั้ง 157 ทีมในแบบโอเพน และ 127 ทีมในส่วนของสตรี[3] โดยมีสถานที่จัดการแข่งขันหลักที่อิสตันบูลเอ็กซ์โปเซ็นเตอร์ และมีหัวหน้าผู้ตัดสินเป็นชาวกรีกชื่อ พานาจิโอทิส นิโคโลโพลอส

การจัดเตรียม

การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 34 ของอิสตันบูลได้จุดประกายให้เกิด"กระแสนิยมหมากรุกสากล"ภายในประเทศ โดยประเทศตุรกีได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหมากรุกสากลระดับนานาชาติกว่า 100 รายการ รวมถึง ชิงแชมป์ยุโรป, ชิงแชมป์เยาวชนโลก และโอลิมปิกหมากรุกสากลเยาวชน สมาชิกสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศตุรกีได้เพิ่มขึ้นจาก 3,000 รายมาเป็น 250,000 รายในช่วงระยะเวลาเพียงแปดปีที่ผ่านมา อาลี นิฮัท ยาซีชี ประธานแห่งสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศตุรกีได้สร้างความน่าเชื่อถือต่อกิจกรรมว่าจะเป็นการพัฒนาหมากรุกสากลขึ้นอย่างเข้มข้นภายในประเทศ[4] และในภายหลัง เขาได้รับเลือกให้เป็นรองประธานแห่งสมาพันธ์หมากรุกโลก

อิสตันบูลได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกหมากรุกสากลครั้งที่ 40 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ระหว่างการประชุมครั้งที่ 78 ของสมาพันธ์หมากรุกโลก ในหมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 38 ที่เดรสเดิน[2] โดยการเสนอชื่ออิสตันบูลได้รับการเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 95–40 มากกว่าเมืองบุดวา

การแข่งขัน

อิสตันบูลเอ็กซ์โปเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

รูปแบบการแข่งขัน

การแข่งขันจะเล่นในรูปแบบระบบสวิส การควบคุมเวลาในทุกเกมเดี่ยวจะเป็น 90 นาทีต่อการเลื่อนหมาก 40 ครั้ง โดยจะเพิ่ม 30 วินาทีต่อการเลื่อนหมากแต่ละครั้ง และ 30 นาทีหลังจากการเลื่อนหมากครั้งที่ 40 โดยได้รับอนุญาตอีกครั้งสำหรับผู้เล่นที่เสนอให้จับเวลาใด ๆ ระหว่างเกม การแข่งนี้มีทั้งหมด 11 รอบในการเล่น โดยทุกทีมจะมีสี่คนที่ดวลหมากกับผู้เข้าแข่งขันจากทีมอื่น และทุกทีมจะได้รับอนุญาตให้เสนอชื่อผู้เล่นสำรองหนึ่งคน[5]

ทีมต่าง ๆ จะได้รับการจัดอันดับตามการชนะแมตช์พอยน์ในการแข่งทุกรอบ ในกรณีที่คะแนนการแข่งขันเท่ากันหนึ่งทีมหรือมากกว่า ผู้ทำไทเบรกจะทำการตัดสินโดยใช้: 1 ระบบซอนเนบอนเบอร์เกอร์; 2 แต้มเกมรวมคะแนน; 3 ผลรวมแต้มของฝ่ายตรงข้ามจะยกเว้นที่ต่ำสุดไว้หนึ่งคน[5]

รายการโอเพน

วลาดีมีร์ ครัมนิค และอเล็กซานเดอร์ กริสชัค ผู้เล่นให้แก่ประเทศรัสเซีย

ในส่วนการแข่งขันแบบโอเพ่นจะมีทีมเข้าแข่งขัน 157 ทีมจาก 152 ประเทศ โดยตุรกีในฐานะประเทศเจ้าภาพจะมีสามทีม ขณะที่สมาคมหมากรุกเบรลล์นานาชาติ (ไอบีซีเอ), สมาคมหมากรุกคนพิการทางร่างกายนานาชาติ (ไอพีซีเอ) และคณะกรรมการหมากรุกเงียบนานาชาติ (ไอซีเอสซี) จะใช้เงื่อนไขเป็นหนึ่งทีม[6][7]

ประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งนำโดยนักหมากรุกหมายเลขสองของโลกอย่างเลอวอน อาโรเนียน เป็นผู้ชนะสามรายการ โดยช่วงก่อนหน้านี้ เขาเป็นผู้ชนะในค.ศ. 2006 และค.ศ. 2008 ส่วนทีมรัสเซียได้รับการจัดให้เป็นตัวเก็งก่อนการจัดหมากรุกสากลโอลิมเปียดอีกครั้ง แต่ก็พลาดโอกาสคว้าเหรียญทองเป็นสมัยที่ห้าติดต่อกันและได้ครองตำแหน่งที่สองของรายการ ในขณะที่ทีมยูเครนซึ่งเป็นจ้าวรายการอยู่ในอันดับที่สาม ในสามทีม ซึ่งได้แก่ จีน, อเมริกา และรัสเซีย สามารถทำคะแนนเท่ากันในการแข่งในระดับบนสุดของตารางก่อนรอบสุดท้ายของรายการที่ทีมจีนเป็นฝ่ายชนะในเกมไทเบรก แต่ในรอบสุดท้ายทีมจีนได้พบกับทีมยูเครน ซึ่งนำโดยวาสซิลี ไอวานชัค ขณะที่อาร์มีเนียเล่นกับฮังการีและรัสเซียเล่นกับเยอรมนี อาร์มีเนียและรัสเซียเป็นฝ่ายชนะการแข่งขันรอบสุดท้ายของพวกเขา แต่ยูเครนก็เป็นฝ่ายขึ้นนำจีนจากการป้องกันของพวกเขาที่ 3–1 และได้รับเหรียญรางวัล ทีมอาร์มีเนียและรัสเซียต่างต้องทำแมตช์พอยน์ในรอบชิงชนะเลิศ แต่อาร์มีเนียก็เป็นฝ่ายชนะไทเบรกได้ในรายการที่สามของพวกเขา ส่วนทีมยูเครนต่างรู้สึกดีใจเมื่อเป็นฝ่ายชนะในรอบสุดท้ายเมื่อพบกับจีน โดยได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

การถกเถียง

วันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 นิวยอร์กไทมส์ ได้ตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ว่าสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศตุรกีได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกจำนวน 120,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ชนะการเสนอจัดงานโอลิมเปียด โดยในรายงานทางการเงินที่เผยแพร่บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหพันธ์หมากรุกตุรกี มีเชิงอรรถซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยชี้ให้เห็นถึงการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับแท่นยืน, ที่ระลึก, ซุ้มกิจกรรม ตลอดจนที่พัก, การขนส่ง และอาหารสำหรับบางส่วนของสมาพันธ์หมากรุกโลกซึ่งได้รับมอบหมายในการลงคะแนนให้แก่เมืองที่จัด[8] ซึ่งคำตอบอย่างเป็นทางการจากสหพันธ์หมากรุกตุรกีได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาและอ้างว่าผลรวมของค่าใช้จ่ายไม่ได้มากพอที่จะเสนอราคาเพื่อการเป็นเจ้าภาพโอลิมเปียดได้ และได้ชี้แจงในความรับผิดชอบว่าค่าใช้จ่ายได้จัดสรรสำหรับผู้ได้รับมอบหมายด้วยความสุจริตในสภาสมาพันธ์หมากรุกโลกที่เดรสเดิน และเอกสารค่าใช้จ่ายโดยใบแจ้งหนี้เป็นหลักฐานว่าไม่ได้มีการให้เงินใด ๆ แก่ตัวแทนสมาพันธ์หมากรุกโลก และไม่มีใครใช้จ่ายเพื่อชดเชย[8]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 อาลี นิฮัท ยาซีชี ประธานสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศตุรกี ได้ประกาศว่าไม่มีผู้ชี้ขาดจากเยอรมนี, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, จอร์เจีย, สวิตเซอร์แลนด์, ยูเครน และสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการยอมรับสำหรับรายการ เนื่องด้วยการมีส่วนร่วมของประเทศเหล่านั้นในการเปิดตัวหรือสนับสนุนการดำเนินการในศาลในการสู้คดีกับสมาพันธ์หมากรุกโลก อันก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินและการสูญเสียของรายได้แจกจ่ายเพื่อการพัฒนาหมากรุกสากลทั่วโลก ไม่กี่วันต่อมาทางสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศอังกฤษได้ส่งจดหมายประท้วงไปยังสมาพันธ์หมากรุกโลก ซึ่งต่อมาได้มีการร่วมลงนามโดยสมาคมอื่น ๆ ที่ประกาศสนับสนุนพวกเขา[4]

นักข่าวชาวรัสเซียชื่อเอฟเกนี ซูรอฟ ได้ปฏิเสธการลงทะเบียนและไม่ได้รับอนุญาตเข้าสู่สถานที่จัดการแข่งขันในฐานะของผู้สังเกตการณ์ จึงนำไปสู่การประท้วงโดยสหพันธ์หมากรุกสากลแห่งประเทศรัสเซีย[9] กับผู้เล่นชั้นอีกนำกว่า 40 ราย[10]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น