หาดโอมาฮา

หาดโอมาฮา
ส่วนหนึ่งของ การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีในสงครามโลกครั้งที่สอง

Into the Jaws of Death: ทหารจากกองพลที่ 1 กำลังยกพลขึ้นบกที่โอมาฮา - ถ่ายภาพโดยโรเบิร์ต เอฟ. ซาร์เจนต์
วันที่6 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่
แซ็งตอนอรีน-เด-แปร์ต แซ็ง-โลร็อง-ซูร์-แมร์ Vierville-sur-Mer, ประเทศฝรั่งเศส
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โอมาร์ เอ็น. แบรดลีย์
นอร์แมน โคตา
Clarence R. Huebner
Willard G. Wyman
จอร์จ เอ เทย์เลอร์
Dietrich Kraiß
Ernst Goth
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองพลที่ 5

สหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐ
สหรัฐอเมริกา หน่วยยามฝั่งสหรัฐ
สหราชอาณาจักร คอมมานโด
สหราชอาณาจักร ราชนาวี
สหราชอาณาจักร กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ประเทศแคนาดา ราชนาวีแคนาดา

กองกำลังฝรั่งเศสเสรี กองทัพเรือฝรั่งเศสเสรี
นาซีเยอรมนี กองพลที่ 84
  • กองพลทหารราบที่ 352
  • กองพัน Ost ที่ 439
  • กองพลทหารราบที่ 716
กำลัง
ทหารราบ 43,250 นาย
เรือประจัญบาน 2 ลำ
เรือลาดตระเวน 3 ลำ
เรือพิฆาต 13 ลำ
เรืออื่น ๆ 1,010 ลำ
ทหารราบ 7,800 นาย
ป้อมปืนใหญ่ 8 แห่ง
ที่มั่น 35 แห่ง
ปืนใหญ่ 4 อัน
หลุมปืนครก 6 หลุม
ปืนต่อต้านรถถัง 18 อัน
ฐานยิงจรวด 45 แห่ง
รังปืนกล 85 แห่ง
ป้อมรถถัง 6 แห่ง
ความสูญเสีย
มากกว่า 2,000–5,000 นาย 1,200 นาย

หาดโอมาฮา (อังกฤษ: Omaha Beach) เป็นรหัสเรียกขานของจุดยกพลขึ้นบก หนึ่งในห้าส่วนของการโจมตีเขตยึดครองของเยอรมันในประเทศฝรั่งเศส โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชายหาดตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส หันหน้าเข้าสู่ช่องแคบอังกฤษ มีระยะทางยาว 8 กิโลเมตร จากทางตะวันออกของแซ็งตอนอรีน-เด-แปร์ต (Sainte-Honorine-des-Pertes) ถึงทางตะวันตกของเวียร์วีล (Vierville-sur-Mer) บนฝั่งขวาของชะวากทะเลแม่น้ำดูฟว์ (Douve)

กองกำลังสัมพันธมิตรทำการบุกโจมตีกองทัพนาซีเยอรมันที่ยึดครองประเทศฝรั่งเศส และทวีปยุโรปอยู่ โดยเป็นการสนธิกำลังของกองพลพลร่มที่ 101 กับกองพลพลร่มที่ 82 และกองพลทหารราบที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นกองกำลังผสมกองทัพน้อยที่ 7 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเอกโอมาร์ แบรดลี่ย์ โดยที่กองพลพลร่มที่ 101 กับกองพลพลร่มที่ 82 จะเดินทางโดยเครื่องบิน จากประเทศอังกฤษ กระโดดร่มลงเหนือแนวหลังของแนวป้องกันตามแนวหาดนอร์ม็องดีร์ เพื่อก่อกวนและโจมตี แนวป้องกัน รวมทั้งยึดพื้นที่ให้กับทางกองพลทหารราบที่ 4 เข้าบุกในตอนเช้าตรู่โดยเรือยกพลขึ้นบกเบา

ภูมิประเทศและการป้องกัน

หาดโอมาฮาเป็นหาดรูปพระจันทร์เสี้ยว ปลายหาดทั้งสองด้านเป็นหน้าผาหิน หาดค่อยๆ ลาดลงไปในน้ำเป็นความยาวเฉลี่ย 275 เมตร ระหว่างจุดน้ำลงถึงและจุดน้ำขึ้นถึง เหนือเส้นแนวน้ำเป็นตลิ่งก้อนกรวดสูง 2.4 เมตร และอาจกว้างถึง 14 เมตรในบางพื้นที่ ปลายสุดทางด้านตะวันตกของหาดก้อนกรวดเป็นเขื่อนหินป้องกันชายฝั่ง (ส่วนขายขยายเพิ่มไปทางตะวันออกเป็นไม้) สูง 1.5–4 เมตร ส่วนที่เหลือสองในสามของหาดหลังเขื่อนป้องกันชายฝั่งทอดตัวลงต่ำจบกับตลิ่งทราย หลังตลิ่งทรายและเขื่อนป้องกันชายฝั่งเป็นสันทรายเป็นชั้นๆ ทอดตัวอยู่ โดยแคบเรียวไปทางปลายทั้งสองของหาดและยาวเข้าไปในแผ่นดินถึง 180 เมตรเมื่อวัดจากตรงกึ่งกลางหาด มีผาชันหรือตลิ่งชันสูง 30–50 เมตร ถัดมา ซึ่งถูกตัดแบ่งหุบเขาขนาดเล็กซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้ หรือสามารถวาดภาพได้เป็นห้าจุดตามความยาวของหาด มีชื่อรหัสจากตะวันตกไปตะวันออกว่า ดี-1, ดี-3, อี-1, อี-3 และ เอฟ-1[1]

การเตรียมการป้องกันของเยอรมันและการที่ไม่มีการป้องกันต่างๆในเขตน้ำลึกแสดงให้เห็นว่า แผนการป้องกันคือการหยุดการโจมตีไว้ที่ชายหาด[2] มีการสร้างสิ่งกีดขวางสี่แถวในน้ำ สิ่งกีดขวางแถวแรกไม่ต่อเนื่องกัน มีช่องว่างเล็กน้อยในตอนกลางของส่วนด็อกไวต์และช่องว่างขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วทั้งส่วนอีซีเรด แถวสิ่งกีดขวางห่างจากเส้นน้ำขึ้น 250 เมตร ประกอบด้วย รั้วเบลเยี่ยม (Belgian Gates) ผูกทุ่นระเบิด 200 รั้ว แถวที่สองถัดมาอีก 30 เมตรเป็นแถวสิ่งกีดขวางต่อเนื่องกันเป็นรั้วไม้ที่ปักลงในทรายหันปลายออกไปทางทะเล และทุกๆ หนึ่งในสามของรั้วจะฝังทุ่นระเบิดรถถังไว้ แต่วิธีนี้กับไม่ได้ผลเท่าที่ฝ่ายเยอรมันคาดหวังไว้ อีก 32 หลา (30 ม.) ของชายฝั่ง เส้นนี้เป็นแนวบันไดลาด 450 อันต่อเนื่อง มีการออกแบบและติดตั้งทุ่นระเบิดเพื่อบังคับให้พาหนะพื้นราบยกขึ้นและพลิกคว่ำหรือกระตุ้นให้กับระเบิดทำงาน เส้นสุดท้าย สุดท้ายเป็นแนวต่อเนื่องของเชกเฮดจ์ฮอก (Czech hedgehog) 165 หลา (150 เมตร) จากชายฝั่ง พื้นที่ระหว่างชายฝั่งกรวดและตลิ่งชันมีทั้งกับระเบิดมีสายและทุ่นระเบิดกระจัดกระจายไปตามทางลาด[3][4]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "Assault Plan". Omaha Beachhead. United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. pp. 11–16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-22. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
  2. "Enemy Defenses". Omaha Beachhead. United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-22. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
  3. Badsey, Stephen; Bean, Tim (2004). Omaha Beach. Sutton Publishing. p. 40. ISBN 0-7509-3017-9.
  4. "Enemy Defenses". Omaha Beachhead. United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. p. 23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.

ข้อมูล

  • Buckingham, William F. (2004). D-Day: The First 72 Hours. Tempus Publishing. ISBN 978-0-7524-2842-0.
  • Caddick-Adams, Peter (2019). Sand & Steel: A New History of D-Day. London: Hutchinson. ISBN 978-1-84794-8-281.
  • Trigg, Jonathan (2019). D-Day through German Eyes: How the Wehrmacht Lost France. Stroud UK: Amberley. ISBN 978-1-4456-8931-9.

อ่านเพิ่ม

  • Andrews, Ernest A.; Hurt, David B. (2022). A Machine Gunner's War: From Normandy to Victory with the 1st Infantry Division in World War II. Philadelphia & Oxford: Casemate. ISBN 978-1636241043.
  • Harrison, G. A. (1951). Cross-Channel Attack (PDF). United States Army in World War II: The European Theater of Operations. Washington, DC: Office of the Chief of Military History, Department of the Army. OCLC 606012173. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.
  • Omaha Beachhead (6 June–13 June 1944). American Forces in Action Series (2011 Digital ed.). Washington DC: Historical Division, War Department. 1945. OCLC 643549468. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

49°22′08″N 0°52′07″W / 49.36889°N 0.86861°W / 49.36889; -0.86861