อะมาร์นา
العمارنة | |
วิหารขนาดเล็กแห่งเทพอาเตนที่อะเคตอาเตน | |
ชื่ออื่น | อัลอะมารนะฮ์, เทลล์ อัลอะมารนะฮ์ |
---|---|
ที่ตั้ง | เขตผู้ว่าการอัลมินยา ประเทศอียิปต์ |
ภูมิภาค | อียิปต์บน |
พิกัด | 27°38′43″N 30°53′47″E / 27.64528°N 30.89639°E |
ประเภท | ที่อยู่อาศัย |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | อะเคนอาเตน |
สร้าง | ประมาณ 1346 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
สมัย | ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ จักรวรรดิอียิปต์ |
อะมาร์นา (อังกฤษ: Amarna) หรือ อัลอะมารนะฮ์ (อาหรับ: العمارنة) เป็นโบราณสถานของอียิปต์ที่เป็นที่ตั้งซากเมืองหลวงในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบแปด เมืองแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ 1346 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยสร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของฟาโรห์อะเคนอาเตน และถูกทิ้งร้างไม่นานหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 1332 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] ชื่อที่ชาวอียิปต์โบราณได้เรียกเมืองนั้นทับศัพท์มาเป็นภาษาอังกฤษว่า อะเคตอาเตน หรือ อะคิตอาตอน ซึ่งแปลว่า "ขอบฟ้าแห่งอาเตน"[2]
สถานที่ดังกล่าวอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ ซึ่งปัจจุบันคือเขตผู้ว่าการอัลมินยาของประเทศอียิปต์ อยู่ห่างจากเมืองอัลมินยาไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร (36 ไมล์) ห่างจากกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ไปทางใต้ 312 กิโลเมตร (194 ไมล์) และห่างจากเมืองลักซอร์ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าอย่างเมืองทีบส์ไปทางเหนือ 402 กิโลเมตร (250 ไมล์))[3] เมืองดีรมะวาส ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกตรงข้ามกับเมืองอะมาร์นา ทางฝั่งตะวันออกของเมืองอะมาร์นามีหมู่บ้านในช่วงสมัยใหม่หลายหมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านหลักคือ อิ-ติลล์ ในทางเหนือและอัลฮักก์กันดิล ในทางใต้
บริเวณดังกล่าวมีกิจกรรมที่รุ่งเรืองตั้งแต่สมัยอะมาร์นาจนถึงยุคโรมันในภายหลัง[4]
อ้างอิง
- ↑ "The Official Website of the Amarna Project". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2008.
- ↑ David (1998), p. 125
- ↑ "Google Maps Satellite image". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2008.
- ↑ "Middle Egypt Survey Project 2006". Amarna Project. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2007.
ข้อมูล
- David, Rosalie (1998). Handbook to Life in Ancient Egypt. Facts on File. ISBN 9780816033126.
แหล่งข้อมูลอื่น
แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ Amarna |
- "Amarna Project". The University of Cambridge.
- "Amarna Art Gallery". – Shows just a few, but stunning, examples of the art of the Amarna period.
- "M.A. Mansoor Amarna Collection".
- "The Amarna3D Project". – 3D visualisation of the city developed by Paul Docherty.