อะลี ญุมอะฮ์
ดร. ชัยค์ อะลี ญุมอะฮ์ | |
---|---|
علي جمعة | |
มุฟตีใหญ่แห่งประเทศอียิปต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน ค.ศ. 2003 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 | |
ประธานาธิบดี | ฮุสนี มุบาร็อก มุฮัมมัด ฮุซัยน์ ฏ็อนฏอวี (รักษาการ) มุฮัมมัด มุรซี |
ก่อนหน้า | อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ |
ถัดไป | เชากี อัลลาม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | บะนีซุวัยฟ์, ราชอาณาจักรอียิปต์ | 3 มีนาคม ค.ศ. 1952
เชื้อชาติ | อียิปต์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (B.A.) (M.A.) (P.H.D.) มหาวิทยาลัยอัยน์ชัมส์ (B.Com.) มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (H.D.) |
อาชีพ | นักวิชาการอิสลาม |
เว็บไซต์ | draligomaa |
อะลี ญุมอะฮ์ (อาหรับ: علي جمعة; อังกฤษ: Ali Gomaa[1]) เป็นนักวิชาการอิสลาม, นักกฎหมาย และบุคคลสาธารณะชาวอียิปต์ที่สร้างความขัดแย้งในท่าทีทางการเมืองเป็นจำนวนมาก[2][3][4][5][6][7] เขามีความชำนาญในด้านกฎหมายอิสลาม เขาดำเนินตามสำนักชาฟิอี[8] และหลักการศรัทธาตามแบบอัชอะรี[9][10] นอกจากนี้ เขายังเป็นศูฟีด้วย[11] ญุมอะฮ์เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนรัฐประหาร ค.ศ. 2013
เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นมุฟตีใหญ่แห่งประเทศอียิปต์คนที่ 18 (ค.ศ. 2003–2013) ผ่านดารุลอิฟตาฮ์ อัลมิศรียะฮ์ต่อจากอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ ในอดีต เขาเคยเป็นนักกฎหมายอิสลามที่ได้รับการเคารพ ตามรายงานจาก U.S. News & World Report ใน ค.ศ. 2008[12] กับ เดอะเนชันนัล[13] และรายงานจาก เดอะนิวยอร์กเกอร์ เขาเป็น "ผู้นำที่สนับสนุนมุสลิมสายกลางอย่างมาก"[14] อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิชาการตะวันตกได้ตั้งบุคลิกภาพของเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบ "ลัทธิอำนาจนิยม"[3] และเดอะนิวยอร์กไทมส์กล่าวไว้ใน ค.ศ. 2013 ว่าเขาสนับสนุนให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยฆ่าผู้ประท้วงต่อรัฐประหารในประเทศอียิปต์ในปีนั้น[2]
หลังจากเขาลงจากตำแหน่งเชากี อัลลามได้สืบทอดตำแหน่งมุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013
ดูเพิ่ม
- การประชุมศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ประจำปี 2559 ที่เมืองกรอซนี
อ้างอิง
- ↑ Ethar El-Katatney The People's Mufti เก็บถาวร 2008-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Egypt Today October 2007.
- ↑ 2.0 2.1 Kirkpatrick, David D. (25 August 2013). "Egypt Military Enlists Religion to Quell Ranks". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
- ↑ 3.0 3.1 Fadel, Mohammad (1 January 2016). "Islamic Law and Constitution-Making: The Authoritarian Temptation and the Arab Spring". Osgoode Hall Law Journal. 53 (2): 472–507. ISSN 0030-6185.
- ↑ Dorsey, James (21 June 2019). "Al-Azhar Struggles to Balance Politics and Tradition". LobeLog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ "Ali Gumah: Sisi's most loyal Islamic scholar". Middle East Eye (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ Elmasry, Mohamad (27 June 2015). "Ali Gumah: Sisi's most loyal Islamic scholar". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ "Ali Gomaa: Kill them, they stink". Middle East Monitor (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
- ↑ Asthana, N. C.; Nirmal, Anjali (2009). Urban Terrorism: Myths and Realities. Pointer Publishers. p. 117. ISBN 978-8171325986.
- ↑ Maged, Amani (3 November 2011). "Salafis vs Sufis". Al-Ahram Weekly Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2015. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ el-Beheri, Ahmed (9 May 2010). "Azhar sheikh warns West against double standards". Egypt Independent. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
- ↑ Islamopedia: "Ali Goma" เก็บถาวร 8 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 20 January 2015
- ↑ Jay Tolson (2 April 2008). "Finding the Voices of Moderate Islam". US News & World Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2009. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
- ↑ al-Hashemi, Bushra Alkaff; Rym Ghaza (February 2012). "Grand Mufti calls for dialogue about the internet". The National. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2012. สืบค้นเมื่อ 21 February 2012.
- ↑ "The Rebellion Within". The New Yorker. 2 June 2008.