อังตอนียู กูแตรึช
อังตอนียู กูแตรึช | |
---|---|
เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 9 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พัน กี-มุน |
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 | |
เลขาธิการ | โคฟี แอนนัน พัน กี-มุน |
ก่อนหน้า | รืด ลึบเบิร์ส |
ถัดไป | ฟีลิปโป กรันดี |
นายกรัฐมนตรีโปรตุเกสคนที่ 114 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 6 เมษายน พ.ศ. 2545 | |
ประธานาธิบดี | มารีอู ซูอารึช ฌอร์ฌึ ซังไปยู |
ก่อนหน้า | อานีบัล กาวากู ซิลวา |
ถัดไป | ฌูแซ มานูแวล บาโรซู |
ประธานองค์การสังคมนิยมระหว่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 – มิถุนายน พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | ปีแยร์ โมรัว |
ถัดไป | เยโอร์ยีโอส ปาปันเดรอู |
เลขาธิการพรรคสังคมนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 – 20 มกราคม พ.ศ. 2545 | |
ประธานาธิบดี | อังตอนียู ดึ อัลไมดา ซังตุช |
ก่อนหน้า | ฌอร์ฌึ ซังไปยู |
ถัดไป | อีดูวาร์ดู แฟรู รูดรีกึช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2492 ลิสบอน, โปรตุเกส |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พรรคการเมือง | พรรคสังคมนิยม |
คู่สมรส | ลูอีซา กีมาไรช์ อี แมลู (พ.ศ. 2515–2541) กาตารีนา วัช ปิงตู (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน) |
บุตร | เปดรู มาเรียนา |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยลิสบอน |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์เพื่อการสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ |
อังตอนียู มานูแวล ดึ ออลีไวรา กูแตรึช GCC GCL (โปรตุเกส: António Manuel de Oliveira Guterres; /ɡʊˈtɛrəs/ , โปรตุเกสแบบยุโรป: ; เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2492) เป็นเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 9 โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง อังตอนียูเป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวโปรตุเกสซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโปรตุเกสระหว่างปี พ.ศ. 2538–2545
กูแตรึชดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยม (Socialist Party (Portugal)) ระหว่าง พ.ศ. 2535–2545 โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจาก พ.ศ. 2538 ก่อนประกาศลาออกจากตำแหน่งใน พ.ศ. 2545 ภายหลังจากการพ่ายแพ้ของพรรคในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในโปรตุเกส พ.ศ. 2544 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และภายใต้รัฐบาลที่ขาดเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภาตลอดทั้งหกปี โดยพรรคสังคมนิยมทำคะแนนได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ของผลสำรวจความนิยมในเขตเมืองลิสบอนและโปร์ตูซึ่งบ่งชี้ว่ามีคะแนนนำขาด เอดูวาร์ดู แฟรู โรดรีกิส (Eduardo Ferro Rodrigues) ขึ้นเป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมแทนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 แต่กูแตรึชยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งพ่ายแพ้ต่อพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party (Portugal)) ในการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งนำโดยฌูแซ มานูแวล บาโรซู (José Manuel Barroso) อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจประชาชนชาวโปรตุเกสใน พ.ศ. 2555 และ 2557 พบว่ากูแตรึชได้รับการจัดลำดับให้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดในรอบ 30 ปี[1][2]
กูแตรึชดำรงตำแหน่งประธานองค์การสังคมนิยมระหว่างประเทศระหว่าง พ.ศ. 2542 – 2548 และข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558[3] กูแตรึชได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ต่อจากพัน กี-มุน โดยเป็นชาวยุโรปคนแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จากควร์ท วัลท์ไฮม์ ที่ได้ดำรงนี้
อ้างอิง
- ↑ "E o prémio de melhor primeiro-ministro português vai para..." [And the award for the best Portuguese Prime Minister goes to...] (ภาษาโปรตุเกส). Notícias ao Minuto. 28 พฤศจิกายน 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
- ↑ "António Guterres o melhor primeiro-ministro da democracia e Durão Barroso o pior" [Guterres was the best Prime Minister of the democracy and Durão Barroso was the worst] (ภาษาโปรตุเกส). i. 10 April 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2018.
- ↑ "New UN chief Guterres pledges to make 2017 'a year for peace'". UN News Centre. สหประชาชาติ. 1 มกราคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2017.
ก่อนหน้า | อังตอนียู กูแตรึช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พัน กี-มุน | เลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 9 (1 มกราคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน) |
ดำรงตำแหน่ง |