อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี

ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်
พ.ศ. 1830–พ.ศ. 2095
ธงชาติอาณาจักรหงสาวดี
ธงอาณาจักรหงสาวดี
อาณาจักรหงสาวดี ประมาณ พ.ศ. 1993
อาณาจักรหงสาวดี ประมาณ พ.ศ. 1993
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงเมาะตะมะ (พ.ศ. 1830–1907)
โดนวู่น (พ.ศ. 1907–1912)
หงสาวดี (พ.ศ. 1912–2081, พ.ศ. 2093–2095)
ภาษาทั่วไปภาษามอญ
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• พ.ศ. 1830–1850
พระเจ้าฟ้ารั่ว
• พ.ศ. 1927–1964
พระเจ้าราชาธิราช
• พ.ศ. 1997–2014
พระนางเชงสอบู
• พ.ศ. 2014–2035
พระเจ้าธรรมเจดีย์
• พ.ศ. 2069–2082
พระเจ้าสการวุตพี
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งอาณาจักร
4 เมษายน พ.ศ. 1830
• ประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 1836–1873
พ.ศ. 1928–1967
• ยุคทอง
พ.ศ. 1969–2077
พ.ศ. 2077–2084
• การล่มสลายของหงสาวดีครั้งที่ 2
12 มีนาคม พ.ศ. 2095
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรพุกาม
อาณาจักรตองอู

อาณาจักรหงสาวดี (พม่า: ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်; มอญ: ဟံသာဝတဳ, [hɔŋsawətɔe]; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต่ พ.ศ. 1830 จนถึง พ.ศ. 2082 และระหว่าง พ.ศ. 2093–2095 เป็นอาณาจักรของผู้ที่พูดภาษามอญ ก่อตั้งในฐานะรามัญประเทศ (พม่า: ရာမညဒေသ, มอญ: ရးမည) โดยพระเจ้าฟ้ารั่วหรือมะกะโท หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามใน พ.ศ. 1830[1]: 205–206, 209  เป็นประเทศราชของอาณาจักรสุโขทัยและราชวงศ์หยวนของมองโกลที่ปกครองจีน[2] อาณาจักรนี้เป็นอิสระจากสุโขทัยใน พ.ศ. 1873 แต่ยังคงเป็นพันธมิตรกับสามดินแดนสำคัญของอาณาจักร คือ เขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี, หงสาวดีและเมาะตะมะ เมาะตะมะได้เกิดกบฏขึ้นใน พ.ศ. 1906–1931

ประวัติศาสตร์

การปกครองของพระเจ้าราชาธิราชใน พ.ศ. 1927–1964 ได้รวมอาณาจักรของชาวมอญเข้าเป็นหนึ่งเดียวและประสบความสำเร็จต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรอังวะ อาณาจักรของผู้ที่พูดภาษาพม่าจากทางเหนือ ในช่วงสงครามสี่สิบปี (พ.ศ. 1928–1967) และสามารถขยายตัวไปทางตะวันตกได้อาณาจักรยะไข่ ไว้ในอำนาจระหว่าง พ.ศ. 1956–1964 สงครามสิ้นสุดลงโดยเสมอกัน แต่ถือเป็นชัยชนะของอาณาจักรหงสาวดีที่สามารถขัดขวางการสถาปนาอาณาจักรพุกามอีกครั้งของอังวะ ในช่วงหลายปีหลังสงครามหงสาวดีได้ช่วยเหลือรัฐบรรณาการทางตอนใต้ของอังวะคือ อาณาจักรแปร และอาณาจักรตองอูในการก่อกบฏต่ออังวะ

หลังสงครามหงสาวดีเข้าสู่ยุคทองในขณะที่อาณาจักรอังวะตกต่ำลง ราว พ.ศ. 1963–2073 หงสาวดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังอาณาจักรพุกามล่มสลาย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์หลายพระองค์ เช่น พญารามที่ 1, พระนางเชงสอบู, พระเจ้าธรรมเจดีย์ และพญารามที่ 2 อาณาจักรนี้มีบทบาทสำคัญทางการค้าในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีลังกา มีการปฏิรูปและสนับสนุนศาสนาจนแพร่กระจายไปทั่วประเทศในภายหลัง[3]

อาณาจักรค่อย ๆ อ่อนแอลงตั้งแต่ พ.ศ. 2077 ภายใต้การรุกรานอย่างต่อเนื่องโดยอาณาจักรตองอูจากพม่าตอนบน พระเจ้าสการะวุตพีไม่สามารถต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรตองอู ซึ่งนำโดยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง ตองอูเข้ายึดครองหงสาวดีและที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้ใน พ.ศ. 2081–2082 และเมาะตะมะใน พ.ศ. 2084[4] อาณาจักรนี้ฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2093 หลังพระเจ้าตะเบงชะเวตี้สิ้นพระชนม์ แต่มีอำนาจปกครองเพียงแค่เมืองหงสาวดี ก่อนถูกพระเจ้าบุเรงนองปราบได้อย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2095

แม้ว่ากษัตริย์ในราชวงศ์ตองอูจะปกครองพม่าตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ยุคทองของอาณาจักรหงสาวดียังเป็นที่จดจำของชาวมอญในพม่าตอนล่าง ปี พ.ศ. 2283 ได้มีการก่อกบฎต่อต้านราชวงศ์ตองอูที่อ่อนแอและก่อตั้งอาณาจักรหงสาวดีใหม่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  2. Htin Aung 1967: 78–80
  3. Myint-U 2006: 64–65
  4. Harvey 1925: 153–157
บรรณานุกรม
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2004 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.