อานโตนอฟ อาน-225 มรียา
อานโตนอฟ อาน-225 มรียา | |
---|---|
อาน-225 ในลวดลายปี 2009-2022 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานขนส่งสินค้าขนาดใหญ่พิเศษ |
ชาติกำเนิด | สหภาพโซเวียต (โซเวียตยูเครน) |
บริษัทผู้ผลิต | อานโตนอฟ |
สถานะ | ถูกทำลาย |
ผู้ใช้งานหลัก | อานโตนอฟแอร์ไลน์ |
จำนวนที่ผลิต | 1 |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1985 |
เที่ยวบินแรก | 21 ธันวาคม ค.ศ. 1988 |
พัฒนาจาก | อานโตนอฟ อาน-124 รุสลัน |
พัฒนาเป็น | อานโตนอฟ อาน-325 |
อานโตนอฟ อาน-225 มรียา (ยูเครน: Антонов Ан-225 Мрія, แปลตรงตัว 'ความฝัน' หรือ 'แรงบันดาลใจ'; สัญลักษณ์เนโท: Cossack) เป็นอากาศยานขนส่งสินค้าขนาดใหญ่พิเศษออกแบบและผลิตโดยอานโตนอฟในสหภาพโซเวียต อาน-225 ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามน้ำหนักบรรทุก[1]
อาน-225 เดิมได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยเป็นการขยาย อานโตนอฟ อาน-124 เพื่อจุดประสงค์ในการขนส่งยานอวกาศบูรัน อาน-225 ได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1988 อานโตนอฟได้สร้างอาน-225 เพียงลำเดียวเท่านั้น แม้ว่าจะมีการสร้างโครงเครื่องบินที่สองที่มีโครงร่างที่แตกต่างกันเล็กน้อยก็ตาม เพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากสายการบินใด หลังจากใช้งานสนับสนุนโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาสั้น ๆ เครื่องบินก็ถูกระงับการใช้งานในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ได้มีการตัดสินใจปรับปรุงอาน-225 และนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับการดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษ อานโตนอฟได้มีการประกาศหลายครั้งเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการสร้างเครื่องบินลำที่สองให้เสร็จ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างส่วนใหญ่ยังคงถูกระงับไว้เนื่องจากขาดเงินทุน ในปี 2009 มีรายงานว่าการก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จ 60–70%
ด้วยน้ำหนักการบินขึ้นสูงสุดที่ 640 ตัน อาน-225 ได้สร้างสถิติหลายรายการ เช่น เครื่องบินที่มีน้ำหนักมากที่สุด เครื่องบินที่มีพื้นที่ปีกกว้างที่ใหญ่ที่สุด เป็นต้น โดยทั่วไปอาน-225 จะขนส่งวัตถุที่ไม่เคยถูกเคลื่อนย้ายทางอากาศมาก่อน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 130 ตัน ใบพัดกังหันลม และหัวรถจักรดีเซล นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทั้งจีนและรัสเซียได้ประกาศแผนการแยกกันในการปรับแต่งอาน-225 เพื่อใช้ในโครงการอวกาศของตน มรียามักจะดึงดูดความสนใจของสาธารณชนในระดับสูง จากขนาดและความเป็นเอกลักษณ์
เครื่องบิน อาน-225 ลำเดียวที่สร้างเสร็จถูกทำลายในสงครามท่าอากาศยานอันตอนอว์ระหว่างการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ประธานาธิบดียูเครน วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย ประกาศแผนการที่จะสร้างอาน-225 ลำที่สองให้เสร็จเพื่อทดแทนเครื่องบินที่ถูกทำลาย อานโคนอฟประกาศแผนการสร้างเครื่องบินที่ถูกทำลายขึ้นใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022
การพัฒนา
การพัฒนาอานโตนอฟ อาน-225 เริ่มต้นในปี 1984 โดยได้รับการร้องขอจากรัฐบาลโซเวียตสำหรับเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่เพื่อทดแทน มยาซิชชอฟ เวเอ็ม-เต[2] ด้วยข้อกำหนดเฉพาะของคำขอนี้ คือ อากาศยานนี้ต้องมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 231,838 กิโลกรัม (511,116 ปอนด์) ในขณะที่จะต้องสามารถขึ้นบินและลงจอดในความยาวทางวิ่ง 3,500 เมตร (11,500 ฟุต) ตามที่กำหนดไว้แต่แรก โดยรวมแล้วภารกิจและวัตถุประสงค์นั้นเหมือนกันกับเครื่องบินบรรทุกกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้ขนส่งจรวดเอนเนอร์เจียและยานโคจรชั้นบูรัน สำหรับโครงการอวกาศของโซเวียต[3][2]
ด้วยเหตุนี้ อานโตนอฟจึงตัดสินใจที่จะผลิตรุ่นแยกของเครื่องบินลำเลียงอานโตนอฟ อาน-124 ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าความจุสินค้ามีเพียงครึ่งของความต้องการ[2] เครื่องบินถูกยืดออกโดยการเพิ่มส่วนลำตัวด้านหน้าและท้ายเครื่องบิน ในขณะที่ศูนย์ปีกที่ขยายใหญ่ขึ้นได้รับการออกแบบให้ติดตั้งเครื่องยนต์ Progress D-18T เพิ่มเติมอีกคู่ จากสี่เป็นหกเครื่อง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีส่วนหางใหม่เพื่อรองรับกระแสลมวนที่เกิดจากการบรรทุกสินค้าภายนอกขนาดใหญ่บริเวณลำตัวส่วนบนของเครื่องบิน[3] แม้จะมีความแปลกใหม่ในขนาดของมัน แต่การออกแบบของอาน-225 นั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากลำอื่นๆ[4] โครงการนี้มีหัวหน้านักออกแบบ คือ วิคเตอร์ โทลมาชอฟ[5]
ในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1988 อานโตนอฟ อาน-225 ทำการบินเป็นครั้งแรก[6][7] โดยเปิดตัวตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกนอกสหภาพโซเวียตที่งานปารีสแอร์โชว์ ค.ศ. 1989 โดยมีการนำเสนอขณะบรรทุกยานอวกาศบูรัน[8] หนึ่งปีต่อมา อาน-225 ได้ทำการบินแสดงต่อสาธารณะในงานฟรานโบโรห์แอร์โชว์ ในขณะที่มีการสั่งซื้อเครื่องบินสองลำ มีเพียงลำเดียว (ทะเบียน CCCP-82060 ต่อมาคือ UR-82060[9]) ที่ถูกสร้างขึ้น มันสามารถบรรทุกสินค้าหนักพิเศษและขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากถึง 250,000 กก. (550,000 ปอนด์)[3] หรือ 200,000 กก. (440,000 ปอนด์) ที่ลำตัวส่วนบน สินค้าบนลำตัวส่วนบนสามารถมีความยาวได้ถึง 70 ม. (230 ฟุต)[10]
อาน-225 ลำที่สองถูกสร้างขึ้นบางส่วนในช่วงปลายทศวรรษ 1980 สำหรับโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม การทำงานบนโครงเครื่องบินถูกระงับหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายในปี 2000 ความต้องการอาน-225 เพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้น ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 มีการตัดสินใจว่าอาน-225 ลำที่สองจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นผลงานที่มีอยู่ช่วงหนึ่งซึ่งมีกำหนดจะเกิดขึ้นประมาณปี 2008 อย่างไรก็ตาม งานดังกล่าวต้องล่าช้าอีก[11] ภายในเดือนสิงหาคม 2009 เครื่องบินยังไม่เสร็จสมบูรณ์และงานถูกละทิ้ง[12][13] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ซีอีโอของอานโตนอฟรายงานว่าการดำเนินการก่อสรา้งอาน-225 ลำที่สองต้องใช้เงินอย่างน้อย 300 ล้านดอลลาร์ การจัดหาเงินทุนที่เพียงพอจะทำให้สำเร็จลุล่วงได้ภายในสามปี[14] ตามแหล่งข่าวต่างๆ เครื่องบินลำที่สองสร้างเสร็จ 60–70% ภายในปี 2016[15][16][17]
การคืนชีพกิจกรรมอวกาศของอาน-225 ได้รับการประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่าและมีการคาดเดาไปมากมาย ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 มีการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตอานโตนอฟ อาน-325 ซึ่งเป็นการพัฒนาอาน-225 ต่อ จะเป็นรุ่นที่มีแปดเครื่องยนต์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ร่วมกับยานอวกาศ MAKS ที่กำลังพัฒนาของรัสเซีย[18] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศแผนการรื้อฟื้นโครงการส่งทางอากาศในยุคโซเวียต ซึ่งดัดแปลงอาน-225 ให้สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานปล่อยยานกลางอากาศ[19]
ในเดือนพฤษภาคม 2017 จาง ยู-เซิง ประธานบริษัทแอร์สเปซอินดัสทรีคอร์ปอเรชันของจีน (AICC) แจ้งกับนักข่าวบีบีซีว่า AICC ได้พิจารณาความร่วมมือกับอานโตนอฟเป็นครั้งแรกในปี 2009 และติดต่อกับพวกเขาในอีกสองปีต่อมา AICC ตั้งใจที่จะปรับปรุงอาน-225 ลำที่สองที่ยังสร้างไม่เสร็จให้ทันสมัย และพัฒนาให้เป็นฐานปล่อยดาวเทียมกลางอากาศที่ระดับความสูงไม่เกิน 12,000 ม. (39,000 ฟุต)[6] สื่อด้านการบินตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการเริ่มการผลิตใหม่ โดยคาดการณ์ว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่จะทำให้ไม่สามารถส่งมอบส่วนประกอบที่จำเป็นต่างๆ ที่มาจากรัสเซียได้ อาจเป็นไปได้ที่จีนจะผลิตแทน[20] โครงการดังกล่าวไม่ได้เดินหน้าต่อไป แต่บริษัท UkrOboronProm ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอานโตนอฟยังคงหาพันธมิตรเพื่อสร้างโครงเครื่องบินที่สองให้เสร็จ[21]
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2020 อานโตนอฟ อาน-225 ลำแรกได้เริ่มเที่ยวบินทดสอบหลายเที่ยวบินจากท่าอากาศยานฮอสตอแมลใกล้กรุงเคียฟ หลังจากให้บริการมานานกว่าหนึ่งปี เพื่อติดตั้งระบบการจัดการและควบคุมพลังงานที่ออกแบบในประเทศ[22]
รุ่น
- อาน-224
เดิมถูกเสนอ โดยมีการติดตั้งประตูสินค้าไว้ด้านหลังของลำ ไม่มีการสร้าง
- อาน-225
รุ่นที่ไม่มีประตูสินค้าด้านหลัง สร้าขึ้นหนึ่งลำ อีกหนึ่งลำยังอยู่ระหว่างการสร้าง
- อาน-225-100
รุ่นของอาน-225 ในการออกแบบใหม่ในปี 2000 มีการปรับปรุงระบบแจ้งเตือนการชนกันกลางอากาศ (TCAS) ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบนำทาง และการลดเสียงภายในห้องโดยสาร
- อาน-325
รุ่นเสนอ โดยจะเป็นการขยายอาน-225 เดิม จะมีการพัฒนาต่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีแปดเครื่องยนต์ โดยจะใช้ในการปล่อยจรวดเข้าสู่วงโคจร เดิมออกแบบมาให้โครงการมากส์ (MAKS) โครงการอาน-325 พัฒนาต่อจนเป็นการร่วมมือระหว่างบริติชแอโรสเปซและกระทรวงการบินของสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรมอินเทอร์ริม เฮชโอโอแอล ไม่มีการสร้าง
ผู้ให้บริการ
- อานโตนอฟแอร์ไลน์ สำหรับโครงการบูรัน สายการบินและฝูงบินถูกโอนย้ายให้กับยูเครนหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- อานโตนอฟแอร์ไลน์ สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ ใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2002 อากาศยานถูกทำลายในสงครามท่าอากาศยานอันตอนอว์
ข้อมูลจำเพาะ
ข้อมูลจาก อานโตนอฟเฮวีทรานส์ปอร์ต[23], และอื่นๆ[24][25]
- ลูกเรือ: 6
- ความจุ: 190 ตัน (420,000 ปอนด์)
- ความยาว: 84 เมตร (275 ฟุต 7 นิ้ว)
- ความยาวปีก: 88.4 เมตร (290 ฟุต 0 นิ้ว)
- ความสูง: 18.1 เมตร (59 ฟุต 5 นิ้ว)
- พื้นที่ปีก: 905 เมตร2 (9,740 ตารางฟุต)
- อัตราส่วน: 8.6
- น้ำหนักเครื่องเปล่า: 285,000 kg (628,317 lb)
- น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 640,000 kg (1,410,958 lb)
- ความจุเช่อเพลิง: มากกว่า 300,000 กิโลกรัม (660,000 ปอนด์) 375,000 ลิตร (82,488 แกลลอน; 99,065 แกลลอนอเมริกัน)
- ความจุสินค้า: volume 1,300 m3 (46,000 cu ft), 43.35 m (142.2 ft) long × 6.4 m (21 ft) wide × 4.4 m (14 ft) tall
- เครื่องยนต์: 6 × Progress D-18T turbofans, แรงผลักดัน 229.5 กิโลนอต (51,600 ปอนด์ฟอร์ซ)
- ความเร็วสูงสุด: 850 กิโลเมตร/ชั่วโมง (530 ไมล์/ชั่วโมง, 460 นอต)
- ความเร็วขณะบิน: 800 กิโลเมตร/ชั่วโมง (500 ไมล์/ชั่วโมง, 430 นอต)
- พิสัยการบิน: 15,400 กิโลเมตร (9,600 ไมล์, 8,300 ไมล์ทะเล) ด้วยความจุเชื้อเพลิงสูงสุด; พิสัยการบินด้วยน้ำหนักเครื่อง 200 ตัน: 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์)
- เพดานบิน: 11,000 เมตร (36,000 ฟุต)
- แรงดันต่อปีก: 662.9 กิโลกรัม/เมตร2 (135.8 ปอนด์/ตารางฟุต)
- อัตราส่วนแรงดันต่อน้ำหนัก: 0.234
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
- แอร์บัส เบลูกา
- แอร์บัส เบลูกา เอกซ์แอล
- เบเรียฟ เบ-2500 เนปตุน
- โบอิง 747-8F
- โบอิง ดรีมลิฟเตอร์
- Shuttle Carrier Aircraft
- ล็อกฮีด ซี-5 กาแล็กซึ
- มยาซิชชอฟ เวเอ็ม-เต
- สเกลด์คอมโพสิตส์ สตราโตลันช์
อ้างอิง
- ↑ "Aerospaceweb.org | Ask Us - Largest Plane in the World". aerospaceweb.org.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Antonov Giants: An-22, An-124, & An-225". www.airvectors.net.
- ↑ Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
- ↑ "Volga-Dnepr Group Celebrates 80th Birthday of Legendary Chief Designer of the An-124 and An-225 Transport Aircraft". www.volga-dnepr.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
- ↑ 6.0 6.1 Skyba, Christian Borys / Pictures by Anton. "The world's biggest plane may have a new mission". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
- ↑ Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
- ↑ "Aviation Photo #1154941: Antonov An-225 Mriya - Antonov Design Bureau". Airliners.net.
- ↑ "AN-225 Mriya". web.archive.org. 28 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
{cite web}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Antonov AN-225 MRIYA Russian Cargo 6 Engine Aircraft Information, History, Pictures and Facts". www.aviationexplorer.com.
- ↑ "VIDEO: World's largest aircraft, An-225, emerges to set new lift record". web.archive.org. 20 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2009. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
{cite web}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Buran-Energia The Mriya 2". web.archive.org. 18 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2014. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
{cite web}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Ukrainian Journal". www.ukrainianjournal.com.
- ↑ "Ukraine may finish the construction of second An-225 Mriya transport aircraft - RUSSIAN AVIATION". www.ruaviation.com.
- ↑ Trimble2016-08-31T20:28:49+01:00, Stephen. "An-225 revival proposed in new Antonov-China pact". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Yeo, Mike. "Antonov Sells Dormant An-225 Heavylifter Program to China". Aviation International News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tai, Horng-Jer (July 2007). "Dielectric spectroscopy of poly(butylene succinate) films". Polymer. 48 (15): 4558–4566. doi:10.1016/j.polymer.2007.05.043. ISSN 0032-3861.
- ↑ Правительство задумалось о "Воздушном старте". Interfax (in Russian). 23 April 2013. Retrieved 29 April 2013.
- ↑ Staff, Editorial (14 September 2016). "Worlds Largest Airplane Back In Play". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Ukraine mulling to complete the second Antonov An-225 Mriya - AeroTime" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 February 2021.
- ↑ Kaminski-Morrow2020-03-26T16:21:00+00:00, David. "An-225 returns to flight after modernisation". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Gordon, Yefim; Komissarov, Dmitriy; Komissarov, Sergey (3 September 2004). "The Six-Engined Dream". Antonov's Heavy Transports: Big Lifters for War & Peace. Red Star. Vol. 18. Midland. ISBN 978-1857801828. OCLC 173497301. OL 9001238M.
- ↑ "An-225 heavy load cargo aircraft, Antonov OKB". web.archive.org. 31 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2023.
- ↑ "Antonov An-225 Mriya (Cossack)". www.militaryfactory.com.